ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการรักษาด้วยการส่องไฟซ้ำในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองซ้ำ, การส่องไฟ, อุบัติการณ์, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Neonatal jaundice) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของทารกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ระดับบิลิรูบินที่มีค่าสูงต้องได้รับการรักษา เพื่อป้องกันความพิการทางสมองจากภาวะเหลือง (Kernicterus)
วัตถุประสงค์: ศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงการเกิด ภาวะตัวเหลืองซ้ำในทารกแรกเกิดที่รับการรักษาในโรงพยาบาลชัยภูมิ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาจากข้อมูลย้อนหลัง โดยการทบทวนบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยของทารกที่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะตัวเหลืองในทารกอายุครรภ์ตั้งแต่ 35 สัปดาห์ขึ้นไป อายุ 0-14 วัน ที่เกิดในโรงพยาบาลชัยภูมิ ใช้ข้อมูลย้อนหลังจากการทบทวนบันทึกในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ผลการศึกษา: ทารก 338 ราย ที่มีภาวะตัวเหลืองต้องได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟช้ำ 54 ราย (15.98%) ทารกที่พบเกิดภาวะเหลืองต้องได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟซ้ำมีน้ำหนักแรกเกิดและอายุครรภ์ เฉลี่ย 2790 502.32 กรัม และ 37.66 1.37 สัปดาห์ ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์พหุตัวแปรพบว่าน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 2500 กรัมลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะตัวเหลืองต้องส่องไฟช้ำ(OR 0.29, 95% CI: 0.12-0.72, p-value 0.005) และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่ลดลงในวันที่ยุดิการส่องไฟเทียบกับน้ำหนัก แรกเกิด ตั้งแต่ร้อยละ 25% เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะตัวเหลืองต้องส่องไฟซ้ำ (OR 1.98, 95%CL:1.10-3.57, p-value 0.023)
สรุป: ความชุกของภาวะตัวเหลืองต้องได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟซ้ำของโรงพยาบาลชัยภูมิอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 6 ของทารกอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ขึ้นไปที่มีภาวะเหลือง น้ำหนักที่ลดลงหลังยุติการส่องไฟเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดภาวะตัวเหลืองต้องส่องไฟช้ำ
Downloads
References
Kevin Ives N. Neonatal jaundice In: Janet M. Rennie editer. Rennie&Roberton’s Textbook o f Neonatology. British. ELSEVIER.2012:672-692.
American Academy of Pediatrics, Clinical practice guideline subcommittee on hyperbilirubinemia. Management of hyperbilirubinemia in newborn infant 35 or more week of gestation. Pediatrics 2004;114:297-361.
Management of hyperbilirubinemia in the Newborn Infant 35 or More Weeks of Gestation. Pediatrics . 2004; July: 114(2)297-316. www.aappublications.org/ news สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2020.
Maisels M.J, Kring E.A. Length of stay jaundice and hospital readmission.Pediatrics.
;101: 995-8.
Lee K, Perlaman M, Ballantyne M, et al. Association between duration of neonatal hospital stay and readmission rate. J Pediatr. 1995; 127: 758-66.
Soskolne E.L , Schumacher R, Fyock C, et al. The effect of early discharge and other factors on readmission rates of newborns.
Arch Pediatric Adolesc Med. 1996;150:373-9.
Grupp-Phelan J, Taylor J, Liu L, Davis R. Early newborn hospital discharge and readmission for mild and severe jaundice. Arch Pediatr Adolesc Med. 1999;153:1283-8.
Bansal A, Jain S, Parmar Veena R ,et al .Bilirubin Rebound after intensive phototherapy for neonatal jaundice.Indian pediatrics. 2010 July; 47(17) :607-609.
Soni R, Kaushik S, Kaushik R, et al. Post phototherapy bilirubin rebound: incidence and risk factors. Int J Res in Med Sci.2017 Sep;5(9):4112-4116.
Kaplan M, Kaplan E, Hammerman C, et al. Post-phototherapy neonatal bilirubin rebound: potential cause of significant hyperbilirubinaemia. Arch Dis Child. 2006;91:31-34.
AI-Maaroof Z, Abbas W, Shatti A. Rebound increase in Bilirubin level with itsrisk factors after treatment by Intensive phototherapy for
neonatal Hyperbilirubinemia. Indian Journal of Public Health Research & development, 2019 February; 10(02): 646-652.
Chang P, Kuzniewicz M, McCulloch C, et al. A clinical prediction rule for rebound hyperbilirubinemia following inpatient phototherapy. Pediatrics. 2017 March;139(3):e20162896. เข้าถึง https://pediatrics.aappublications.org/content/139/3/e20162896
โครานาม. commonproblemsintheNursery. In สันติ ปุณณะหิตานนท์ บรรณาธิการ. Practical Points and updates in neonatal care. 2562:73-83.
กาญจนพัฒนกุล ว. ภาวะเหลืองในทารกแรกเกิด(neonatal jaundice).ใน: วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล, ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช, และคณะ บรรณาธิการ. ตำ รากุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 2558:377-385.
Valinjkar S, Sutay N, Sharma B. Rebound Hyperbilirubinemia in neonates after phototherapy and factor affecting It. JMSCR 2017 March; 05(03):19003-19014.
สุุขยานุดิษฐ น. ความชุุกและปัจจัยเสี่่ยงของการรักษาด้้วยการส่่องไฟซ้ำในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลท่าตููม จังหวัดสุรินทร์.สำำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ตุลาคม2555-มีนาคม2556;20(1):19-30
BlumovichA, Mangel L,Yochpaz S, Mandel D, Marom R. Risk factors for readmission for phototherapy due to jaundice in healthy
newborns: a retrospective, observational study. BMC Pediatr. 2020, 26;20:248
ผาตากแดด ส. ปัจจัยเสี่ยงของ การกลับมารักษาซ้ำในทารกแรกเกิดตัวเหลือง ในโรงพยาบาลสุุวรรณภููมิ จังหวัดร้อยเอ็ด . ร้อยเอ็ดเวชสาร.2562;6(1):1-8.
Elhawary I, Ghany A, Aboelhamed W, et al. Incidence and risk factors of post-phototherapy neonatal rebound hyperbilirubinemia. World Journal of pediatrics.2018; 14:350-356.
Burgos AE, Schmitt SK, Stevenson DK, Phibbs CS. Readdmission for neonatal jaundice in california, 1991-2000: trends and
implications. Pediatrics. 2008 Apr; 121(4):e864-9
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.