การศึกษาผลการรักษาภาวะสมองบาดเจ็บในผู้ป่วยเด็ก

ผู้แต่ง

  • ทิพาพร ทองมาก แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ภาวะสมองบาดเจ็บ, การเสียชีวิตในภาวะสมองบาดเจ็บ

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะสมองบาดเจ็บในเด็ก เป็นอุบัติเหตุที่พบบ่อยในประเทศไทย และเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเสียชีวิตและพิการตามมา

วัตถุประสงค์: เพื่อหาอัตราการเสียชีวิต ปัจจัยการพยากรณ์ความพิการทางระบบประสาทและผลของการรักษาด้วย 3%NaCI ในภาวะสมองบาดเจ็บในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลหาดใหญ่

วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะสมองบาดเจ็บตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิธี Logistic regression

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในการศึกษา 482 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 59.75 อายุเฉลี่ย 7 ปี พบภาวะสมองบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนถนนสูงสุด (ร้อยละ 63.28) และจากมอเตอร์ไซด์สูงสุด พบอาการที่พบบ่อยได้แก่ สลบ อาเจียนและปวดศีรษะ การบาดเจ็บร่วมสูงสุดคือ กระดูกหักและการบาคเจ็บบริเวณขากรรไกร

และใบหน้า วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบ ผู้ป่วยเสียชีวิตร้อยละ 2.7 ความพิการทางระบบประสาทร้อยละ 8.92 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตและความพิการทางระบบประสาทคือ ระดับ Glasgow Coma Score น้อยกว่า 8, ภาวะ depressed skull fracture และ การบาดเจ็บบริเวณขากระดูกกรรไกรและใบหน้า

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการรักษาด้วย 3%NaCI มีผลการรักษาที่ดีร้อยละ 53.1

สรุป: ภาวะสมองบาดเจ็บในผู้ป่วยเด็ก พบว่าเกิดจากอุบัติเหตุบนถนนสูงสุด โดยเฉพาะจากรถจักรยานยนต์และปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตและความพิการ คือ ระดับ Glasgow Coma Score น้อยกว่า 8, ภาวะ depressed skull fracture และการบาดเจ็บบริเวณขากระดูกกรรไกรและใบหน้า นอกจากนี้การใช้ 3% NaCI ในการรักษาพบผลการรักษาที่ดี

Downloads

Download data is not yet available.

References

Dewan M, Mummareddy N, Wellon J, BonfieldC.Epidemiology of Global Pediatric Traumatic Brain Injury: Qualitative Review.

World Neurosurg. 2016: 91: 497-509.

Peden M, Oyegbite K, Ozanne‐Smith J, Hyder AA, Branche C, Rahman AF. World Report on Child Injury Prevention. Geneva:

World Health Organization; 2008.

Chen CC, Chen CP, Chen CH, Hsieh YW, Chung CY, Liao CH. Predictors of InHospital Mortality for school-aged children

with severe traumatic brain injury. Brain Sciences. 2021; 11: e1-12.

Tunthanathip T, Phuenpathom N. Impact of Road Traffic Injury to Pediatric Traumatic Brain Injury in Southern Thailand. J

Neurosci Rural Pract. 2017: 8: 601-8.

Rivara FP, Koepsell TD, Wang J, et al. Incidence of Disability Among Children 12 Months After Traumatic Brain Injury. American Journal of Public Health. 2012;102: 2074-2079.

Haden RL. Therapeutic application of the alteration of brain volume by the intravenous injectionofglucose.JAMA.1919;73:983-984.

Adelson PD, Bratton SL, Carney NA, et al. Use of hyperosmolar therapy in the management of severe traumatic brain injury.

Pediatr Crit Care Med. 2003; 4: 40-44.

Kochanek PM, Carney N, Adelson PD, et al. Guidelines for the acute medical management of severe traumatic brain injury in infants, children and adolescents second edition. Pediatr Crit Care Med. 2012;1:S1-82.

Taha A, Westlake C, Badr L, Mathur M. Manitol versus 3% NaCl for management of severe pediatric traumatic brain injury.

The journal for nurse practitioners. 2015;11: 505-510.

Mohammad N, Banu S, Brown N, Kaleen S, Akhtar S, Anwar-ul-Haq. Hypertonic saline: Safe therapy for children with acute brain

insult in emergency department of low- and middle-income country. Journal of pediatric care. 2017; 3: 1-3.

Paget SP, Beath AW, Barnes EH, Waugh MC. Use of the King’s Outcome Scale for Childhood Head Injury in the evaluation of

outcome in childhood traumatic brain injury. Dev Neurorehabil. 2012: 15:171-177.

นครชัย เผื่อนปฐม, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส; 2562.

Abdelgadir J,Punchak M,Smith E.R,Pediatric traumatic brain injury at Mbarara Regional Referral Hospital, Uganda. J Clin Neurosci.

Jan; 47: 79-83.

Lee SWY, Ming Y, Jain S et al. Factors Predicting Outcomes in Surgically Treated Pediatric Traumatic Brain Injury. Asian J

Neurosurg. 2019; 14: 737–43.

Marlow R, Mytton J, Maconochie IK, Taylor H, Lyttle MD. Trends in admission and death rates due to paediatric head injury in

England, 2000-2011. Arch Dise in Child. 2015; 100: 1136-40.

Chiaretti A, Piastra M, Pulitanò S, et al. Prognostic factors and outcome of children with severe head injury: an 8-year experience.

Child Nerv Syst. 2002; 18: 129-36.

Zipfel J, Engel J, Hockel K, Heimberg E, Schuhmann M, Neunhoeffer F. Effects of hypertonic saline on intracranial pressure and

cerebral autoregulation in pediatric traumatic brain injury. J Neurosurg Pediatr. 2021; 28:631-637.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31