ผลการรักษาด้วยยา aminophylline ในทารกเกิดก่อนกำหนด
คำสำคัญ:
ภาวะหยุดหายใจ, ทารกเกิดก่อนกำหนด, โรคปอดเรื้อรัง, ยา Aminophylline, ประสิทธิภาพของยาบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ภาวะหยุดหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ยากลุ่ม methylxanthines เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษา โดยมีข้อบ่งชี้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะหยุดหายใจ ช่วยให้การถอดท่อช่วยหายใจประสบความสำเร็จ และมีการศึกษาพบว่าอาจช่วยลดการเกิดโรคปอดเรื้อรัง
วัตถุประสงค์: ศึกษาผลการรักษาด้วยยา aminophylline ในทารกเกิดก่อนกำหนดในข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกัน ได้แก่ การป้องกัน และรักษาภาวะหยุดหายใจ การช่วยในการเอาท่อช่วยหายใจออกสำเร็จ รวมถึงปัจจัย
ที่มีผลต่อประสิทธิผลของการรักษา
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาไปข้างหน้า โดยเก็บข้อมูลทางคลินิกในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 สัปดาห์ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาภายใน 24 ชั่วโมงแรก ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย multivariable logistic regression เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของการให้ยา
ผลการศึกษา: มีทารกที่ได้รับการรักษาด้วย aminophylline ตามข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกันรวม 78 คนโดยการให้ยาได้ผลสำเร็จ 38 คน (ร้อยละ 48.7) ปัจจัยที่มีผลต่อผลสำเร็จของการให้ยาได้แก่ อายุครรภ์ (AUC =0.72, 95%CI 0.54-0.9)โดยมีค่า cut-off ที่ 28.9 สัปดาห์ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้ยาแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ค่า Mean airway pressure (MAP) มากที่สุดในช่วง 3 วันแรกที่มากกว่า 16 cmH2O (AUC = 0.68, 95%CI 0.52-0.84)
สรุป: การให้ยา aminophylline ในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 สัปดาห์มีประสิทธิผลร้อยละ 48.7 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพของการรักษาคือ อายุครรภ์ และค่า MAP
มากที่สุดในช่วง 3 วันแรก
Downloads
References
Alvaro RE. Control of Breathing and Apnea of Prematurity. Neoreviews. 2018;19:e224–34.
Abdel-Hady H, Nasef N, Shabaan AE, Nour I. Caffeine therapy in preterm infants. World J Clin Pediatr. 2015;4:81.-93
Hendy H, Wandita S, Kardana IM. Efficacy of aminophylline vs. Caffeine for preventing apnea of prematurity. Paediatrica Indonesiana. 2014;54:365–71.
Schmidt B, Roberts RS, Davis P, Doyle LW, Barrington KJ, Ohlsson A, et al. Caffeine therapy for apnea of prematurity. N Eng J Med. 2006;354:2112–21.
Pakvasa MA, Saroha V, Patel RM. Optimizing caffeine use and risk of bronchopulmonary dysplasia in preterm infants: A systematic review, meta-analysis, and application of grading of recommendations assessment, development, and evaluation methodology. Clin Perinatal. 2018;45:273–91.
Moschino L, Zivanovic S, Hartley C, Trevisanuto D, Baraldi E, Roehr CC. Caffeine in preterm infants: where are we in 2020? ERJ Open Research. [cited 25 Dec 2022];6. Available from: https://openres.ersjournals.com/content/6/1/00330-2019
Amaro CM, Bello JA, Jain D, Ramnath A, D’Ugard C, Vanbuskirk S, et al. Early caffeine and weaning from mechanical ventilation in preterm infants: A randomized, placebo-controlled trial. J Pediatr. 2018;196:52–7.
Steer P, Flenady V, Shearman A, Charles B, Gray P H, Smart-H D, et al. High dose caffeine citrate for extubation of preterm infants: A randomised controlled trial. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed. 2004;89:499–503.
Armanian AM, Badiee Z, Afghari R, Salehimehr N, Hassanzade A, Sheikhzadeh S, et al. Prophylactic aminophylline for prevention of apnea at higher-risk preterm neonates. Iran Red Crescent.Med.J..[cited.25.Dec.2022];16..Available.from:.https://archive.ircmj.com/article/16/8/71472-pdf.pdf
Ye C, Miao C, Yu L, Dong Z, Zhang J, Mao Y, et al. Factors affecting the efficacy and safety of aminophylline in treatment of apnea of prematurity in neonatal intensive care unit. Pediatr Neonatol. 2019;60:43–9.
Kondo T, Kondo Y, Orita Y, Mitarai F, Ishitsuka Y, Irikura M, et al. Predictive factors for efficacy and safety of prophylactic theophylline for extubation in infants with apnea of prematurity. PLoS ONE. 2016;11(7):e0157198.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.