ความชุกของการถูกรังแกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ในโรงเรียนเขตเทศบาลนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พชรพล สุขเอม กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • ปิยวรรณ วัฒนสุนทรสกุล กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การรังแกในโรงเรียน, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การรังแกเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เนื่องจากการรังแกส่งผลเสียต่อทั้งด้านร่างกาย และ จิตใจ ซึ่งความเข้าใจถึงปัญหาการรังแกในโรงเรียนจะช่วยให้สามารถป้องกันปัญหาได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการถูกรังแกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ในโรงเรียนเขตเทศบาลนครราชสีมา

วิธีการศึกษา:.การศึกษาเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6ในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม ข้อมูลเกี่ยวกับการถูกรังแก การพบเห็นการถูกรังแก และ การรังแกผู้อื่นในโรงเรียนโดยอ้างอิงจากการทบทวนวรรณกรรมพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดการรังแกในโรงเรียน

ผลการศึกษา: นักเรียนทั้งหมด 336 คน มีนักเรียนถูกรังแก 51 คน (ร้อยละ 15) เป็นเพศชาย 25 คน  (ร้อยละ 49) เพศหญิง 26 คน (ร้อยละ 51)  พบว่าการศึกษาของผู้ปกครอง การเลี้ยงดู และการพบเห็นความรุนแรงในครอบครัว สัมพันธ์กับการถูกรังแกในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  รูปแบบการรังแกที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือการใช้คำพูดหยาบคาย ล้อเลียนที่ทำให้เจ็บปวด หรือ เสียใจ การถูกรังแกมักเกิดจากนักเรียนระดับชั้นเดียวกัน
สรุป: การรังแกพบได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และพบมากขึ้นในเด็กประถมศึกษา การให้ความรู้ และมีแนวทางการช่วยเหลือ และป้องกันการรังแกกันอย่างเหมาะสม จะช่วยลดการเกิดผลเสียต่อเด็กได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

เขมิกา เขมะกนก สุดนาวา, วีระศักดิ์ ชลไชยะ, จริยา ทะรักษา. การรังแกในเด็กและวัยรุ่น. สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. [เข้าถึงเมื่อ 14 ม.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20200127111610.pdf

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์, กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฎิบัติสำหรับการดำเนินการป้องกัน และการจัดการการรังแกกันในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด, 2561.หน้า 1 – 13.

Stop Bullying gov. What is bullying. [cited 16 DEC 2020]. Available from: https://www.stopbullying.gov/bullying/what-is-bullying

Salmon S, Turner S, Taillieu T, Fortier J, Afifi T. Bullying victimization experiences among middle and high school adolescents: Traditional bullying, discriminatory harassment, and cybervictimization. J Adolesc. 2018; 63:29-40.

Kim Y S, Koh YJ, Leventhal BL. Prevalence of school bullying in Korean middle school students. Arch Pediatr Adolesc Med. 2004;158:737-41.

ธิดารัตน์ ปุรณะชัยคีรี, สิรินัดดา ปัญญาภาส, ฐิตวี แก้วพรสวรรค์. กลยุทธในการแก้ปัญหาการถูกรังแกของเด็ก นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2558; 60: 275-86.

ศุภรดา ชุมพาลี,ทัศนา ทวีคูณ.พฤติกรรมรังแกกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ประเทศไทย. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health 2019; 33:1-21.

ฉันท์สุดา พงศ์พันธุ์ภักดี. ความก้าวร้าว ความรุนแรง และ การรังแกผู้อื่น. ใน: รสวันต์ อารีมิตร, บรรณาธิการ. ตำราเวชศาสตร์วัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรีห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์; 2559. หน้า 613-23.

รุ่งรัตน์ สุขะเดชะ. การอบรมเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวไทย: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2563;43:1-9.

เฉลิมศรี ตั้งสกุลธรรม. การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของเด็กวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2544.

Pengpid S, Peltzer K. Bullying and its associated factors among school-aged adolescents in Thailand. The ScientificWorld Journal 2013;2013:254083.

Han Z, Zhang G, Zhang H. School Bullying in Urban China: Prevalence and Correlation with School Climate. Int J Environ Res Public Health. 2017;14(10):1116.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27