ผลการรักษาของ Acute Respiratory Distress Syndrome ในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษา

ผู้แต่ง

  • ธนัฎฐา พัฒนพงษ์ไพบูลย์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • ปวีณา วิจักษณ์ประเสริฐ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

Acute respiratory distress syndrome, ARDS

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: Acute respiratory distrcss syndrome (ARDS) เป็นการอักเสบของถุงลมปอด ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้เพียงพอ เป็นเหตุให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน สาเหตุหลักเกิดจากโรคปอดอักเสบ ในประเทศไทยยังมีการศึกษาเรื่องนี้น้อย และเป็นการศึกษาในโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย
วัดถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาของ ARDS ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 29 วัน ถึง 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยวิกฤตเด็กโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม 2561 ถึง 31 พฤษภาคม 2562 ที่ไส่ท่อหลอดลมคอตั้งแต่ 24 ชั่วโมง และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ARDS จะได้รับการเก็บข้อมูลทุกวัน วันละ 1 ครั้ง จนกว่าผู้ป่วยจะกลับบ้าน หรือเสียชีวิต ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กจำนวน 695 ราย ถูกคัดออกจากการศึกษา เนื่องจากไม่ได้ใส่ท่อหลอดลมคอจำนวน 126 ราย อยู่ในเกณฑ์คัดออกจากการศึกษาจำนวน 4 ราย พบผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น ARDS 27 ราย (ร้อยละ 3.9 โดยเป็นเพศชาย 18 ราย (ร้อยละ 66.7) อายุมัธยฐาน 2.4 ปี น้ำหนักเฉถี่ย 22.7 กิโลกรัม สาเหตุหลักเกิดจากปอดอักเสบ 21 ราย (ร้อยละ 77.8) มีผู้ป่วยเสียชีวิต 21 ราย (ร้อยถะ 77.8) ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วย ARD คือ ปอดฮักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อ Acinctobactcr baumannii, Pscudomonas acruginosa และ Klchscilla pncumoniac ความรุนแรงของ ARDS ระดับรุนแรง การใช้ยากระตุ้นหัวใจ ค่เฉลี่ย PRISM III สูง ค่าเฉลี่ย PE LOD-2 สูง และจำนวนอวัยวะภายในล้มเหลว แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรูป: ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้รับการวินิจฉัยเป็น ARDS ร้อยละ 3.9 มีผู้ป่วยเสียชีวิต ร้อยละ 77.8 ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วย ARDS ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Flori HR, Glidden DV, Rutherford GW, Matthay MA. Pediatric acute lung injury: prospective evaluation of risk factors associated with mortality. Am J Respir Crit Care Med 2005;171:995-1001.

Erickson S, Schibler A, Numa A, Nuthall G, Yung M, Pascoe E, et al; Paediatric Study Group, Australian and New Zealand Intensive Care Society. Acute lung injury in pediatric intensive care in Australia and New Zealand: a prospective, multicenter, observational study. Pediatr Crit Care Med 2007;8:317-23.

Kneyber MC, Brouwers AG, Caris JA, Chedamni S, Plotz FB. Acute respiratory distress syndrome: is it underrecognized in the pediatric intensive care unit?. Intensive Care Med 2008;34:751–4.

Yu WL, Lu ZJ, Wang Y, et al; Collaborative Study Group of Pediatric Respiratory Failure. The epidemiology of acute respiratory distress syndrome in pediatric intensive care units in China. Intensive Care Med 2009;35:136-43.

Li Y, Wang Q, Chen H, Gao HM, Zhou T, Qian SY. Epidemiological features and risk factor analysis of children with acute lung injury. World J Pediatr 2012;8:43-6.

López-Fernández Y, Azagra AM, de la Oliva P, et al; Pediatric Acute Lung Injury Epidemiology and Natural History (PEDALIEN) Network. Pediatric acute lung injury epidemiology and natural history study: incidence and outcome of the acute respiratory distress syndrome in children. Crit Care Med 2012;40:3238-45.

Wong JJ, Loh TF, Testoni D, Yeo JG, Mok YH, Lee JH. Epidemiology of pediatric acute respiratory distress syndrome in Singapore:

risk factor and predictive respiratory indices for mortality. Front Pediatr 2014;2:1-6.

Yehya N, Servaes S, Thomas NJ. Characterizing degree of lung injury in pediatric acute respiratory distress syndrome. Crit Care Med 2015;43:937-46.

Spicer AC, Calfee CS, Zinter MS, Khemani RG, Lo VP, Alkhouli MF, et al. A simple and robust bedside model for mortality risk in

pediatric patients with ARDS. Pediatr Crit Care Med 2016;17:907-16.

Yehya N, Thomas NJ. Disassociating lung mechanics and oxygenation in pediatric acute respiratory distress syndrome. Crit

Care Med 2017;45:1232-9 .

Wong JJ, Phan PH, Phumeetham S, et al; Pediatric Acute & Critical Care Medicine Asian Network (PACCMAN). Risk stratification in pediatric acute respiratory distress syndrome: a multicenter observational study. Crit Care Med 2017;45:1820-8.

Hu X, Qian S, Xu F, et al; Chinese Collaborative Study Group for Pediatric Respiratory Failure. Incidence, management, and mortality of acute hypoxemic respiratory failure and acute respiratory distress syndrome from a prospective study of Chinese paediatric intensive care network. Acta Pædiatrica 2010;99:715-21.

Barreira ER, Munoz GO, Cavalheiro PO, et al; Brazilian Pediatric Acute Respiratory Distress Syndrome Study Group. Epidemiology

and outcomes of acute respiratory distress syndrome in children according to the Berlin definition: a multicenter prospective study. Crit Care Med 2015;43:947-53.

Panico FF, Troster EJ, Oliveira CS, et al. Risk factors for mortality and outcomes in pediatric acute lung injury/acute respiratory distress syndrome. Pediatr Crit Care Med 2015;16:194-200.

Jouvet P, Thomas NJ, Willson DF; The Pediatric Acute Lung Injury Consensus Conference Group. Pediatric acute respiratory distress syndrome: consensus recommendations from the pediatric acute lung injury consensus conference. Pediatr

Crit Care Med 2015;16:428-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31