ปัจจัยเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้าในเด็กอายุ 9 เดือน

ผู้แต่ง

  • นภา พฤฒารัตน์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

พัฒนาการล่าช้า, เด็ฏ, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาพัฒนาการเด็ก 9 เดือน และปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก 9 เดือน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากเวชระเบียน บันทึกข้อมูลเด็กข้อมูลมารดาของเด็ก ที่มารับบริการฉีควัคซึนที่อายุ 9 เดือนและมารดามีการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี โดยอายุเด็กอยู่ในช่วง 9 เดือน ถึง 9 เดือน 29 วัน ระยะเวลาตั้งแต่
วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 2,140 คน ข้อมูลได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของมารดาและเด็ก ข้อมูลพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กที่อายุ 9 เดือน เพื่อนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ chi square test
ผลการศึกษา: ส่วนใหญ่เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมสมวัย ร้อยละ 98 พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กสมวัย ร้อยละ 93.4 พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่สมวัย ร้อยละ 85.5 พัฒนาการด้านภาษาสมวัยร้อยละ 85.9 พัฒนาการโดยรวมสมวัย ร้อยละ 71.1 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับพัฒนาการ พบว่าโรคประจำตัวเด็ก มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านสังคมและการปรับตัว ภาวะน้ำตาลต่ำแรกเกิด และภาวะโภชนาการเด็ก มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเด็ก อายุครรภ์แรกเกิดโรคประจำตัวเด็ก การทำกิจกรรมเล่านิทาน มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ อายุครรภ์
แรกเกิด น้ำหนักทารกแรกเกิด โรคประจำตัวเด็ก การทำกิจกรรมเล่านิทาน มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านภาษา และ อายุครรภ์แรกเกิด น้ำหนักทารกแรกเกิด ภาวะโภชนาการเด็ก การทำกิจกรรมเล่านิทานมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการโดยรวม
สรูป: ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการล่าช้าในเด็กอายุ 9 เดือน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ได้แก่ อายุครรภ์แรกเกิด น้ำหนักทารกแรกเกิด ภาวะน้ำตาลต่ำแรกเกิด โรคประจำตัวเด็ก ภาวะโภชนาการเด็ก การทำกิจกรรมเล่านิทาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Mayers R. The twelve who survive: strengthening programmes of early childhood development in the third world. London:

Routledge, 1992.

Health Promotion Bureau, Department of Health, Ministry of Public Health. 2013.

World Health Organization. 2012.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. รายงานการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัยกรมอนามัยประจำปี 2560. เอกสารอัดสำเนา.

นิชรา เรืองดารกานนท์. พัฒนาการและเชาว์ปัญญาของเด็กไทย. 2551.กรุงเทพฯ .เอกสารอัดสำเนา.

Bhutta ZA, Guerrant RL, Nelson III CA. Neurodevelopment, Nutrition, and Inflammation: The Evolving Global Child Health Landscape. Pediatrics. 2017;139

ธันยพร เมฆรุ่งจรัส และอดิศร์สุดา เฟื่องฟู. ปัจจัยที่กระทบต่อพัฒนาการเด็ก. ใน : สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4.กรุงเทพฯ:พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด, 2561: 44.

Bernardo L. Horta, Cesar G. Victora. Longterm effects of breastfeeding. Department of Maternal Newborn Child and Adolescent Health (MCA). World Health Organization. Switzerland. 2013: 74.

นันทา อ่วมกุล และคณะ. สุขภาวะของเด็กและวัยรุ่นไทย พ.ศ. 2552. บริษัท บียอนด์ เอ็น เทอร์ไพรซ จำกัด, 2552.

Wendy H.Oddy, JianghongLi, Monique Robinson, Andrew J.O. Whitehouse. The Long-Term Effect of Breastfeeding on Development. Centre Population Health Research. Contemporary Pediatrics. Publisher InTech 2012 : 57-78.

Isaranurug S, Nanthamongkolchai K, KaewsiriD. Factors Influencing development of children aged one to under six years old.

J Med. 2015.

ณัฐพร ทัศนกิจพาณิชย์. การประเมินพัฒนาการเด็กและแนวทางในการประเมินเด็กที่มาด้วยปัญหาทางพัฒนาการ. คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลา

นครินทร์. 2561

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการล่าช้าของเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยยนราธิวาสราชนครินทร์. 2561;5(2): 161-171.

Kanlaya, A. The Study on Delayed Developmental Problems in Newborn to 5 Years Found in Queen Sirikit National Institute of Child Health. Thesis Diploma in Professional Medicine, Pediatrics, The Medical Council of Thailand. Bangkok: National Institute of Child Health, Ministry of Public Health. 2018.

ไสววรรณ ไผ่ประเสริฐ และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิดถึง 3 ปี ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 18. วารสารกุมารเวชศาสตร์

ตุลาคม - ธันวาคม 2556. :286-294

Loesathienkit P. Situation of Thai early childhood development. Public Health Region 3 Chonburi, Bureau of Health Promotion, Department of Health; 2015. (in Thai)

Wickström R, Skiöld B, Petersson G, Stephansson O, Altman M. Moderate neonatal hypoglycemia and adverse neurological development at 2-6 years of age. Eur J Epidemiol. 2018;33:1011-1020.

ศิริกุล อิศรานุรักษ์, สุธรรม นันทมงคลชัย, ดวงพร แก้วศิริ. รายงานการวิจัยโครงการการ พัฒนาระดับสติปัญญาเด็กวัยต่างๆ ของประเทศระยะที่ 1 : การวิเคราะห์สถานการณ์.คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2544.

Kumraksa, N., Theeranan, P., Srihirunrussame, S., Keodsawas, A. & Kuhapun, B. Situation of Child Development Promotion. Journal of

Mental Health of Thailand. 2014;22: 76-83.

Chaimay, B., Thinkhamrop, B. & Thinkhamrop, J. Risk Factors Associated with Language Development Problems in Childhood – A Literature Review. J Med Assoc Thai. 2006;89:1080-1086.

Pattanapongthorn, J., Boonsuwan, C. & Thanajaroenwatchara, N. The Study of Thai Early Child Development. Retrieved August, 28 2016.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, บุษบา อรรถาวีร์.ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย. วารสารเกื้อการุณย์; 2563 ; 27: 59-70

พนิต โล่เสถียรกิจ. เด็กพูดช้า. วารสารกุมารเวชศาสตร์ ปที ี่ 26 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธนั วาคม 2550.

Rojanaritphichet S. Tales and IQ and EQ development. 2015 [cited 2018 May 21]. Available from: https://blog.mcp.ac.th/?p=58328 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31