ปัจจัยเสี่ยงต่อการกดภูมิต้านทานภาวะล้มเหลวทางไวรัส และการเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็ก และวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี
คำสำคัญ:
เด็กและวัยรุ่น, ติดเชื้อเอชไอวี, การกดภูมิต้านทาาน, ภาวะล้มเหลวทางไวรัส, ยาต้านไวรัสบทคัดย่อ
ความเป็นมา: เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ในปี พ.ศ.2573 ของสหประชาชาติและประเทศไทยจึงศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการกดภูมิต้านทาน ภาวะล้มเหลวทางไวรัส และการเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็ก และวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา และกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทของการดูแถรักษาผู้ป่วยในระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป
วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการกดภูมิต้านทาน ภาวะล้มเหลวทางไวรัส และการเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็ก และวัยรุ่นี้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลนครปฐม
วิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลังแบบ Cohort Study ในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี (0-20 ปี) ช่วงเมษายน พ.ศ. 2544 - มีนาคม พ.ศ. 2563 (19 ปี) รวบรวมข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางคลินิกก่อนและหลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัส วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการกดภูมิต้านทาน ภาวะล้มเหลวทางไวรัส และการเสียชีวิต
ของผู้ป่วย โดย chi-square และ multivariate logistic regression โดยคำนวณ odds ratio ที่ระดับ 95% confidence interval p-value < 0.05 มีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 150 คน ที่ได้รับการตรวจ CD4 เพศหญิง 58.7% อายุเริ่มรักษา > 5-15 ปี มี 65.7% ใช้ศูตรยา non-PI based 92.6% คงสูตรยาเดิม 61.1% น้ำหนักและส่วนสูง 50 percentile (PT) จำนวนเพิ่มขึ้นหลังการรักษาจาก 25.2% และ 24.5% เป็น 42.5% และ 43.2% ตามลำดับ CD4 ตั้งต้น
20% มีเพียง 26.5% หลังการรักษา CD4 สุดท้าย 20% เพิ่มขึ้นเป็น 66.7% ส่วนใหญ่มีชีวิต 87.3% เสียชีวิต 12.79 ขาดนัด 12% ปัจจัยเสี่ยงต่อค่า CD4 < 20% ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนี้ ส่วนสูงสุดท้าย < 3" PT มีความเสี่ยง 19.8 เท่า drug adherence ต่ำ มีความเสี่ยง 1 1.7 เท่า น้ำหนักสุดท้าย < 3" PT มีความเสี่ยง 4.2 เท่า ส่วนสูงตั้งต้น < 3" PT มีความเสี่ยง 2.35 เท่า viral load (VL) สุดท้ายที่ 2 20 copics/cu.mm. มีความเสี่ยง 2.1 เท่าเริ่มยาต้านไวรัสช้าที่อายุ > 5-15 ปี มีความเสี่ยง 1.6 เท่า ปัจชัยเสี่ยงต่อภาวะล้มเหลวทางไวรัส(VL สุดท้าย 2 20 copies/cu.mm.) ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การเสียชีวิตมีความเสี่ยง 11.4 เท่า ภาวะดื้อยาสูตรแรกมีความเสี่ยง 4.98 เท่า drg adherence ต่ำ มีความเสี่ยง 3.37 เท่า อายุเริ่มยาต้านไวรัสช้า > 5-15 ปี มีความเสี่ยง 2.62 เท่า ส่วนสูงสุดท้าย < 3" PT และ CD4 สุดท้าย < 20% มีความเสี่ยง 2.11 เท่ากัน และน้ำหนักตั้งต้น < 3" PT มีความเสี่ยง 1.6 เท่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ CD4สุดท้าย < 20%6 และ drug adherence ต่ำ มีความเสี่ยงสูงมาก (คำนวณค่าไม่ได้เพราะผู้ป่วยเสียชีวิตทุกคน มีค่า CD4 < 20% และ drug adherence ต่ำ) น้ำหนักสุดท้าย < 3" PT ความเสี่ยง 20.52 เท่า ส่วนสูงสุดท้าย< 3* PT มีความเสี่ยง 20.23 เท่า น้ำหนักตั้งต้น < 3" PT มีความเสี่ยง 13.6 เท่า ส่วนสูงตั้งต้น < 3" PT มีความเสี่ยง 7.34 เท่า อายุเริ่มยาด้านไวรัสช้า > 5-15 ปี มีความเสี่ยง 3.05 เท่าและ VL สุดท้ายที่ 2 20 copiey
cu.mm. มีความเสี่ยง 2.43 เท่า
สรุป: การเริ่มยาต้านไวรัสช้าที่ระดับ CD4 ตั้งต้นต่ำ, น้ำหนักส่วนสูงต่ำ รวมทั้ง drug adherence ที่ต่ำ และปริมาณเชื้อไวรัสสุดท้ายที่สูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการกดภูมิต้านทาน, ภาะล้มเหลวทางไวรัส และการเสียชีวิต ของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ดิดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาถนครปฐม
Downloads
References
แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทยปี 2560 (Thailand National Guidelines On HIV/AIDS Treatment and Prevention 2016). สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด; พ.ศ. 2560.
ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มติการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555-2556. ใน เพชรศรี ศิรินิรันดร์, ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ, วาสนา นิ่มวรพันธุ์, บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร. บริษัท หกหนึ่งเจ็ด จำกัด. 2556: 4-5.
Diener L, Richardson BA, Chambers EP, John-Stewart GC. Growth reconstitution following antiretroviral therapy and nutritional supplementation: Systemic review and meta-analysis AIDS 2015 PMID: 26355573 Free PMC article. Review
Liu E, Pimpin L, Shulkin M, Kranz S, Duggan CP, Mozaftanan D, Fawzi WW. Effect of Zinc Supplementation on Growth Outcomes in Children under 5 yr of age. Nutrients. 2018; 10: 377.
Jesson J, Koumakpai S, Diagne N R, et al. Effect of Age at Antiretroviral therapy Initiation on Catch-up Growth within the First 24 Monthly Among HIV-Infected Children in the JeDEA West African Pediatric Cohort Pediatr Infect Dis J. 2015; 34(7): e 159-68.
Mc Grath CJ, Chung MH, Richardson BA, Benki-Nugent S, Warui D, John-Stewart GC. Younger age at HAART Initiation is associated with more rapid growth reconstitution. AIDS. 2011; 25: 345-55.
วิศัลย์ มูลศาสตร์, นฤภัค บุญฤทธิภัทร์, ศวิตา อิสสะอาด. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะล้มเหลวทางไวรัสขณะได้รับยา Lopinavir/ritonavir ในผู้ป่วยวัยรุ่น ณ สถาบันบำราศนราดูร. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2556; 52: 61-9.
CauldbeckMB, O’Connor C, O’Connor MB, et al. Adherence to anti-retroviral therapy among HIV patients in Bangalore, India. AIDS Res Ther. 2009: 28; 6:7.
Polisser J, Ametonou F, Arrive E, et al. Correlates of adherence to antiretroviral therapy in HIV-infected children in Lomé, Togo, West Africa. AIDS Behav. 2009; 13:23-32.
Kawilapat S, Salvadori N, Ngo-Gians-Huong N, Decker L, et al; Incidence and risk factors of loss to follow-up among HIV-Infected Children in an antiretroviral treatment program. PLOS ONE 14(9): e0222082. doi: 10.1371/journal. pone. 0222082
Wanialwa DC, Obimbo EM, Farquhar Carey, et al. Predictors of Mortality in HIV1 Infected Children on Antiretroviral Therapy in Kenya: A Propective. BMC Pediatr. 2010 May 18; 10: 33 doi: 10.1186/1471-2431-10-33.
Koller M, Patelk, Chi BH, et al. Immunodeficiency in children starting antiretroviral therapy in low-, middle-, and high-income countries. IeDEA, NISDI, PHACS and IMPAACT 21qC studies J Acquir Immune Defic Syndr. 2015; 68:62-72.
Braidy MT, Oleske JM, Williams PL, et al. Declines in MR and Changes in Causes of death in HIV-1-Infected Children during the HAART era. J Acquir Immune Defic Syndr. 2010; 53: 86.
Traisathit P, Delory T, Ngo-Giang-Huong N, Somsamai R, Techakunakorn P, Theansavettrakul S, et al. Brief Report: AIDS-Defining Events and Deaths in HIV-Infected Children and Adolescent on Antiretroviral: A14-year study in Thailand. J Acquir Immune Defic Syndr. 2018; 77: 17-22
Fernandez LS, Nhampossa T, Fuente SL, et al. Pediatric HIV Care Cascade in Southern Mozambique: Missed Opportunities for Early ART and Re-engagement in Care. Pediatr Infect Dis J 2020; 39: 429-434.
Puthanakit T, Kerr SJ, Ananworanich J, Bunupuradah T, Boonrak P, Sirisanthana VL, Pattern and Predictors of Immunologic Recovery in Human Immunodeficency Virus-Infected Children Receiving Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitor- Based Highly Active Antiretroviral Therapy. Pediatr Infect Dis J. 2009. 28(6): 488-492.
Lewis J, Walker AS, Castro H, Rossi AD, Gibb DM, et al. Age and CD4 Count at Initiation of Antiretroviral therapy in HIVInfected Children: Effects on Long-term T-Cell Reconstitution. Journal of Infectious Diseases. 2012.205: 548-56.
Rinaldi S, Cotugno N, Pallikkuth S, et al. I-106 Early treatment initiation in children with vertical HIV infection influences HIV specific immune responses. JAIDS. 2019;81: 50.
Bartlett AW, Mohamed TJ, Sudjaritruk T. Disease-and Treatment-related Morbidity in Adolescents with Perinatal HIV Infection in
Asia. Pediatr Infect Dis J 2019; 38(3): 287-92.
Cellins IJ, Jourdain G, Hansudewechakul R, et al. Long-Term Survival of HIV-Infected Children Receiving Antiretroviral Therapy in Thailand: A5-Year Observational Cohort Study. Clin Infect Dis 2010; 51: 1449-57.
Benki-Nugent S, Wamalwa D, Langat A, et al. Comparison of development milestone attainment in early treated HIV-infected infants versus HIV-unexposed infants: a prospective cohort study BMC Pediatr 2017;17: 24.
Puthanakit T, Aurpibul L, Louthrenoo O, et al. Poor cognitive functioning of schoolaged children in Thailand with Perinatally acquired HIV infection taking antiretroviral therapy. AIDS Patient Care STDs 2010; 24:141.
Puthanakit T, Ananworanich J, Vonthanak S, et al. Cognitive function and neurodevelopmental outcomes in HIVinfected Children older than 1 year of age randomized to early versus deferred antiretroviral therapy: the PREDICT neurodevelopmental Study. Pediatr Infect Dis J 2013; 32: 501.
Laughton B, Cornell M, Grove D, et al. Early antiretroviral therapy improves neurodevelopmental outcomes in infants. AIDS 2012; 26: 1685.
Cornell M, Schomaker M, Garone DB, Giddy J, Hoffmann CJ, Lessells R, et al. (2012) Gender Differences in Survival among Adult Patients Starting Antiretroviral Therapy in South Africa: A Multicentre Cohort Study PLOS Med 9(9): e1001304. doi: 10.1371/ journal.pmed.1001304
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.