ลักษณะเฉพาะและผลการรักษาในผู้ป่วยเด็ก Hemophagocytic lymphohistiocytosis

ผู้แต่ง

  • ระพี สิริวรรณวงษ์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • อังคณา วินัยชาติศักดิ์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

HLH, อาการทางคลินิก, เด็ก, ผลการรักษา, ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิต

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรค Hemophagocytic lymphohistiocytosis (HLH) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองมากผิดปกติและไม่      สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ม้ามโต เฟอร์ริตินสูง และภาวะเม็ดเลือดต่ำ โรค HLH เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง การวินิจฉัยและการรักษา
ที่ถูกต้องและรวดเร็วสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ สาเหตุของโรค และผลของการรักษาของผู้ป่วย HLH รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์โรค และสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย HLH
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลรวบรวมผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในช่วง 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ผดการศึกษา: มีผู้ป่วยเป็น HLH ทั้งหมด 48 ราย โดยสาเหตุของการเกิดโรคเป็นจากการติดเชื้อมากที่สุด คือ จำนวน 19 ราย (ร้อยละ 40)โรคมะเร็ง 3 ราย (ร้อยละ 6)และโรคแพ้ภูมิตัวเอง 2 ราย (ร้อยละ 4) สาเหตุ การเสียชีวิตภายใน 7 วันแรกเกิดจากการติดเชื้อและการทำงานของอวัยวะล้มเหลว ซึ่งคิดเป็นอัตรา การเสียชีวิตร้อยละ 8 จากอัตราการเสียชีวิตทั้งหมดร้อยละ 29 ในการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่รอดชีวิต และเสียชีวิต พบว่า ระดับเกล็ดเลือดต่ำกว่า 50,000/มคล. Total และ direct bilirubin มากกว่า 2 มก.ดล. และไฟบริโนเจน น้อยกว่า 100 มก./ดล. พบได้บ่อยกว่าในกลุ่มเสียชีวิตและมีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (P-value 0.000s, 0.0088, 0.01,0.015 ตามลำดับ) ส่วนอายุ ระดับเฟอร์ริติน และ ระดับนิวโทรฟิล ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้ง 2 กลุ่ม
สรุปผลการศึกษา: การศึกษานี้สนับสนุนว่า HLH เป็นภาวะมีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยระดับ total และ direc bilirubin ที่สูง เกล็ดเลือดต่ำและ ไฟบริโนเจนต่ำ สามารถใช้ในการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีในผู้ป่วยได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Ishii E. Hemophagocytic Lymphohistiocytosis in Children: Pathogenesis and Treatment. Frontiers in Pediatrics 2016;4:47.

M e l i s s a R G . H e m o p h a g o c y t i c lymphohistiocytosis: review of etiologies and management. Journal of Blood Medicine 2014;5:69–86

Trottestam H, Berglöf E, Horne A, Onelöv E, Beutel K, Lehmberg K, et al. Risk factors for early death in children with haemophagocytic

lymphohistiocytosis. Foundation Acta Acta Pædiatrica 2012;101:313–318.

Dao TT, Luong VT, Nguyen TT, Huynh Q, Phan T, Lam MT, et al. Risk Factors for Early Fatal Outcomes Among Children with Hemophagocytic Lymphohistiocytosis (HLH): A Single- Institution Case-Series in Vietnam. Pediatric Hematology and Oncology 2014;31:271-281.

Kaya Z, Bay A, Albayrak M, Kocak U, Yenicesu I, Gursel T. Prognostic Factors and Long-Term Outcome in 52 Turkish Children With Hemophagocytic Lymphohistiocytosis. Pediatr Crit Care Med 2015;16:e165–e173.

Wang YR, Qiu YN, Bai Y, Wang XF. A retrospective analysis of 56 children with hemophagocytic lymphohistiocytosis. Journal of Blood Medicine 2016;7:227–231.

Bin Q, Gao JH, Luo JM. Prognostic factors of early outcome in pediatric hemophagocytic lymphohistiocytosis: an analysis of 116

cases. Ann Hematol 2016;95:1411–1418.

Kim MM, Yum MS, Choi HW, Ko TS, Im HJ, Seo JJ. et al. Central nervous system (CNS) involvement is a critical prognostic factor for hemophagocytic lymphohistiocytosis. Korean J Hematol 2012;47:273-80.

V eerakul G, Sanpakit K, Tanphaichitr VS, Mahasandana C, Jirarattanasopa N. Secondary Hemophagocytic Lymphohistiocytosis

in Children: An Analysis of Etiology and Outcome. J Med Assoc Thai 2002;85:S530-541.

Janka GE. Familial hemophagocytic lymphohistiocytosis. Eur J Pediatr 1983;140:221-230.

Henter JI, Samuelsson-Horne A, Aricò M, Egeler RM, Filipovich AH, Gadner H. et al. Treatment of hemophagocytic lymphohistiocytosis with HLH-94 immunochemotherapy and bone marrow transplantation. Blood 2002;100(7):2367-2373.

Arico M, Janka G, Fischer A, Henter JI, Blanche S, Elinder G, et al. Hemophagocytic lymphohistiocytosis. Report of 122 children from the International registry. FHL Study Group of the Histiocyte Society. Leukemia 1996;10(2):197-203.

Imashuku S, Kuriyama K, Teramura T, Ishii E, Kinugawa N, Kato M, et al. Requirement for etoposide in the treatment of Epstein-Barr virus-associated hemophagocytic lymphohistiocytosis. J Clin Oncol 2001;19(10):2665-73.

Horne A, Janka G, Maarten Egeler R, Gadner H, Imashuku S, Ladisch S, et al. Haematopoietic stem cell transplantation in haemophagocytic lymphohistiocytosis. Br J Haematol 2005;129(5):622-630.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31