การศึกษาผลกระทบของไวรัสโคโรนา-2019 ต่อการรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟิเลีย ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
คำสำคัญ:
ฮีโมฟีเลีย, ผลกระทบของไวรัสโคโรนา-2019, คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียบทคัดย่อ
ความเป็นมา : โรคฮีโมฟีเลียเป็นโรคเลือดออกแต่กำเนิด ส่งผลให้มีเลือดออกตามข้อและกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ได้รับการรักษาแบบป้องกัน จึงต้องมาโรงพยาบาลเพื่อรับการฉีดแฟคเตอร์เข้มข้น แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา-2019 ทำให้ไม่สามารถเดินทางมารับแฟคเตอร์หรือมาฉีดยาที่
โรงพยาบาลได้เหมือนเดิม จึงได้ทำการศึกษาผลกระทบต่อการรักษาเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา-2019
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-Sctional Descriptive stud>)กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 20 ครอบครัว โดยแบ่งการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1.ช่วงการแพร่ระบาด (เดือนมกราคม - มีนาคม พ.ศ.2563) และ 2.ช่วงหลังการระบาด (เดือนมกราคม พ.ศ.2564) โดยใช้ แบบสอบถามคุณภาพชีวิต EQ -5D -SL (ฉบับภาษาไทย)
ผลการศึกษา : จากแบบสอบถามคุณภาพชีวิต EQ -5D-SL ด้านการเคลื่อนไหว มีปัญหาเด็กน้อยจำนวน 14 คน (ร้อยละ 70) ด้านกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ มีปัญหาปานกลางจำนวน 6 คน (ร้อยละ 30) ด้านการดูแลตนเอง มีปัญหาเล็กน้อยจำนวน 8 คน (ร้อยละ 40) ด้านอาการเจ็บปวด มีอาการปานกลางจำนวน
5 คน (ร้อยละ 25) ด้านความวิตกกังวลและซึมเศร้า มีความวิตกกังวลปานกลางจำนวน 5 คน (ร้อยละ 25) ค่าคะแนนอรรถประโยชน์ของสถานะสุขภาพ (Uiliy score) ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ มีคำเท่ากับ 0.733 และ 0.785 ตามลำดับ
สรุปผลการศึกษา : การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา-2019 ส่งผลต่อผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเดียที่รับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ค้านความวิตกกังวลมากที่สุด ส่วนใหญ่กังวลเรื่องการเดินทางมารับแฟกเตอร์ที่โรงพยาบาล และอาการปวดข้อบ่อยครั้งขึ้น แต่ผลกระทบที่สำคัญคือ ข้อจำกัดเรื่องการเดินทางมารับแฟคเตอร์หรือฉีดแฟคเตอร์ที่โรงพยาบาล ทำให้ได้รับแฟกเตอร์ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ได้รับแฟคเตอร์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษาและเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ทางผู้วิจัยจัดทำชุดอุปกรณ์หลอดเลือดเทียมใช้ฝึกสอนผู้ป่วยหรือผู้ดูแลในการฉีดแฟกเตอร์ด้วยตนเอง เพื่อแก้ปัญหาคังกล่าวซึ่งได้รับความพึงพอใจจากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลเป็นอย่างดี
Downloads
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารรสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [ออนไลน์].2564. แหล่งที่มา : จาก https://ddc.moph.go.th/
viralpneumonia/ [19 กุมภาพันธ์ 2564]
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารรสุข. (2563). ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564,
จาก https://ddc. moph.go.th/viralpneumonia /file/introduction/ introduction01.pdf
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง.
ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564, จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf
จันทนา พัฒนเภสัช และ มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย.(2557). แบบสอบถาม EQ-5D-5L ฉบับภาษาไทย.ค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2563, จาก https://www.hitap.
net/wp-content/uploads/2014/11/Thai5L_brief_Aug2017.pdf
มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์. การวัดค่าอรรถประโยชน์. ใน อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, ยศ ตีระวัฒนานนท์, บรรณาธิการ. คู่มือการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย ฉบับที่2 พ.ศ. 2556. โรงพิมพ์วัชรินทร์พี.พี.2557. หน้า 74-85
Zhao H, Zhao P, Wang Y-N, Guo Y-L, Wu R-H. Reasons for failure to continue home therapy in patients with hemophilia: A qualitative study. Chinese Nursing Research. 2017;4:178-81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.