ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ารเกิดภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน ที่ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละครั้ง

ผู้แต่ง

  • ชนากาญจน์ อบมาลี กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ความชุก, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, โลหิตจาง, เด็กอายุ 9 เดือน, ธาตุเหล็กเสริมสัปดาห์ละครั้ง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือนที่ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละครั้ง และศึกษาผลการติดตามรักษากาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์
วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวาง Cross-sectional analyic study เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการเก็บข้อมูลปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 275 คน
เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์บิดาหรือมารดา ข้อมูลจากเวชระเบียน และสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดสีชมพู) และข้อมูลผลการตรวจค่าฮีมาโตกริต (Hc) ที่อายุ 9 เดือน และหากพบทารกมีภาวะโลหิตจาง จะเก็บข้อมูลค่าฮีมาโตคริต (Hc) ครั้งที่ 2 หลังให้การรักษาด้วยาน้ำธาตุเหล็กขนาด 4-6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลานาน 4 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ร้อยละ Chi-square test และ Fisher's exact test
ผลการศึกษา: เด็กสุขภาพดีเข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 275 ราย พบความชุกของภาวะโถหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน ที่ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละครั้งตั้งแต่ เดือน คิดเป็นร้อยละ 12 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางคือ ประวัติการเจ็บป่วยในช่วง 1 เดือนก่อนรับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิต
จาง (p-0.0 18) การติดตามเด็กที่มีกาวะโลหิตจางจำนวน 33 ราย ภายหลังได้รับการรักษาด้วยธาตุเหล็ก 46 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบมีค่า                ซึมาโตคริตเพิ่มขึ้นเข้าได้กับการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Therapeutic diagnosis) จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.4 ของเด็กที่มีภาวะโลหิตจางทั้งหมด
สรุป : จากผลการศึกษานี้พบความชุกของกาวะโถหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือนที่ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละครั้ง ยังคงสูงถึงร้อยละ 12 ควรจะมีการติดตามการตรวจกัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กไทยทุกคนเมื่ออายุ 6-12 เดือน โดยฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่มีประวัติการเจ็บป่วยในอดีต

Downloads

Download data is not yet available.

References

Bruno de Benoist, Erin McLean, Ines Egli and Mary Cogswell. Worldwide prevalence of anemia 1993-2005.WHO global database on anemia. [serial on the internet].2008 [cited 2020 Oct 20]. Available form https://apps.who.int/iris/handle/10665/43894

มัณฑนา ประทีปะเสน, เรวดีจงสุวัฒน์และสุจิตต์สารีพันธ์. การสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทยครั้งที่5กรุงเทพ:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์;2549:105-23.

South East Asian Nutrition Surveys team.Nutritional status of children aged 0.5 to 12 years in Indonesia, Malaysia, Thailand and Vietnam. South East Asia Nutrition Survey (SEANUTS). 2013[cited 2020 Oct 20]. Available from https://www.frieslandcampinainstitute.com/uploads/2012/11/SEANUTS-Proceedings_KL.pdf

United Nations Administrative Committee on Coordination/Sub-Committee on Nutrition and International Food Policy Research Institute. Fourth Report of the World Nutrition Situation. Geneva; Switzerland: United Nations Administrative Committee on Coordination/Sub-committee on Nutrition;2002.

World Health Organization. The World Health Report 2002: Reduce risks, promoting health life. Geneva:World Health Organization; 2002.

McCann JC, Ames BN. An overview of evidence for a causal relation between iron deficiency during development and deficits in cognitive or behavioral function. Am J Clin Nutr.2007; 85:931-945.

Lozoff B, Jimenez E, Wolf AW. Long-term developmental outcome of infants with iron deficiency. N Engl J Med. 1991;325:687-694

Idjradianta P. Pollitt E. Reversal of developmental delays in iron-deficient anemic infants treated with iron. Lancet. 1993;341: 1-4.

Halterman JS, Kaczorowski JM, Aligne CA, Auinger P, Szilagyi PG, Iron deficiency and cognitive achievement among school-aged children and adolescents in the United States. Pediatrics 2001; 107:1381-6.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย.คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก.คณะกรรมการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก.สำนักโภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี:2558:6-22.

บุษบาอรรถาวีร์.การควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ6-12 เดือน.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.2563;82-93.

Wayne WD. (1995). Biostatistics : A foundation of analysis in the health sciences (6 th ed.) John Wiley & Sons.Inc.,180.

วีณา มงคลพร. สถานการณ์และผลการศึกษาภาวะโลหิตจางในคลินิกสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่9นครราชสีมา.วารสารศูนย์อนามัยที่92562;31:178-190.

สุจริตราบางสมบุญ.การศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในทารกอายุ6 เดือน ที่มารับบริการที่คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์.วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2561;19:40-48.

Qing-Ling Lei, Bi Tao Dai, Ying Xian, Jie Yu. Risk factors for nutritional iron deficiency anemia in children.Zhongguo Dang Dai Er Ke Za Zhi.2014;16:16-9.

Zhi Huang, Fu-xiang Jiang, Jian Li. Prevalence and risk factors of anemia among children aged 6-23 months in Huaihua, Hunan Province. BMC Public Health 2018;18:1267.

Kang Xu, Cui-Mei Zhang, Lian Hong Huang. Risk factors for iron deficiency anemia in infants aged 6 to 12 months and its effects on neuropsychological development. Zhongguo Dang Dai Er Ke Za Zhi.2015;17:830-16.

Eun Young Joo, Keun Young Kim. Iron deficiency anemia in infants and toddlers. Blood Res 2016;51:268-73.

Supapan T.,Sirin L. Incidence and risk factors of iron deficiency anemia in term infants. J Med Assoc Thai 2005;88:45-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31