ผลการศึกษาระดับสติปัญญาในเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อย กรณีศึกษาทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยในคลินิกเด็กดี

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ รัตนแมนสรวง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง อุดรธานี

คำสำคัญ:

ระดับสติปัญญาของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อย การประเมินความสามารถทางเชาว์ปัญญาเด็กอายุ2-15ปี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับสติปัญญาของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยและปัจจัยของมารดาและทารกที่แตกต่างกัน มีผลต่อการประเมินสติปัญญาในเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยที่แตกต่างกัน
วิธีการ: เป็นการวิจัยและพัฒนาเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง คัดเลือกเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ที่มารดาคลอดที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านคุง จังหวัดอุดรธานี ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงกันยายน พ.ศ. 2557 จำนวน 80 คน ใช้แบบสอบถามและสรุปผลการประเมินความสามารถทางเชาว์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปีของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข
ผลการศึกษา: มารดามีอายุเฉลี่ยขณะตั้งครรภ์ 24 ปี มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ ร้อยละ 72.5 อายุครรภ์ขณะคลอดเฉลี่ย 36 สัปดาห์ พบน้ำหนักแรกเกิดเฉถี่ย 2,251 กรัม ปัจจุบันมีคำดัชนีมวลกายอยู่ในเกณท์สมส่วนร้อยละ 60.0 พัฒนาการสมวัยร้อยละ 93.8 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยแตกต่างด้านมารดา
พบว่าอายุของมารดาขณะตั้งครรภ์ อาชีพ อายุครรภ์ที่แตกต่างกัน ไม่พบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านความรู้ก่อนและหลังเข้ารับบริการในคลินิกเด็กดีของผู้ดูแลเด็ก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย พบปัจจัยด้านน้ำหนักแรกเกิด การเจ็บป่วย และภาวะ
โภชนาการที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับสติปัญญา ไม่พบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยความพร้อมในการตั้งครรภ์ของมารดาและผลการประเมินพัฒนาการปัจจุบันที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับสติปัญญาของเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ระดับสติปัญญาของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยของโรงพยาบาสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุตรธานี เฉลี่ย 88 โดยพบสูงสุด 133 ต่ำสุดพบว่าประเมินไม่ได้ การเตรียมความพร้อมของมารดาก่อนและขณะตั้งครรค์ ระดับการศึกษาของมารดา การกระตุ้นพัฒนาการของเด็กมีความสำคัญต่อระดับสติปัญญาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

Download data is not yet available.

References

วรสิทธิ์ศิริพรพาณิชย์,นัยพินิจ คชภักดี.บทบาทสมองต่อการพัฒนาเด็ก.กรุงเทพมหานคร: พีเอลีฟวิ่งจำกัด; 2561.

เกรียงศักดิ์จีระแพทย์,วีณาจีระแพทย์.การประเมินภาวะสุขภาพเด็กแรกเกิด.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:กรด่านสุทธาการพิมพ์;2554.

งานเวชระเบียน.สถิติเด็กน้ำ หนักน้อยที่คลอดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุงปี2555-2557.อุดรธานี: งานห้องคลอด ; 2563.

Daniel, W.W. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons, 1955 : 180.

กัลยาวานิชย์บัญชา.สถิติสาหรับงานวิจัย.พิมพ์ครั้งที่4.กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2552.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ2-15 ปี(เชาวน์เล็กฯ).นนทบุรี;2546.

. อินท์สุดา แก้วกาญจน์.เลี้ยงลูกอย่างไรให้สมบูรณ์ทั้งไอคิว(IQ)และอีคิว(EQ).นครปฐม:โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์; 2562.คัดลอกจากhttp://www.thai-dbp.org.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย2554.กรุงเทพฯ ;2555.

สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์.แบบคัดกรองพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด -5 ปีสำ หรับบุคลากรสาธารณสุข.กรมสุขภาพจิต.นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข;2557.

สำ นักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยครั้งที่6 พ.ศ.2560.นนทบุรี: บริษัทซีจีทูลจำกัด ; 2561.

นิรา เรืองดารกานนท์.พัฒนาการและเชาว์ปัญญาของเด็กไทย.กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสำ เนา ;2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31