อุบัติการณ์การพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ในผู้ป่วยเด็กที่สงสัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • สิริจันทร์ ลาภณรงค์ชัย หน่วยกุมารเวชกรรมโรคหัวใจกลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • สรวิชญ์ พงศ์พิทยุตม กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • กรรณิการ์ ปิติภากร กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • เยาวลักษณ์ จริยพงศ์ไพบูลย์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

หัวใจเต้นผิดจังหวะ, เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ24 ชั่วโมง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arhythmias) เกิดจากมีการกระตุ้นของกระแสไฟฟ้ในหัวใจที่ผิดปกติไปจากเดิม เป็นผลให้เกิดความผิดปกติของอัตรา (rate) และหรือจังหวะ (rhythm) เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ หรือจังหวะไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบางชนิดมีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องหาสาเหตุและสืบค้นชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรงเพื่อนำไปสู่การรักษาต่อไป
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบในการบันทึกคลื่นไฟฟ้หัวใจ 24 ชั่วโมง และศึกษาคุณสมบัติ ความเป็น diagnostic (est ของ 12-1ead ECG ในผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยภาวะหัวใจเต้นผิดขังหวะเมื่อใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้หัวใจ 24 ชั่วโมง (24-hour holter ECO monitoring) เป็น standard investigation
รูปแบบการศึกษา : ศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในผู้ป่วยเด็กที่ได้ทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง ทุกราย ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563
ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการ 24-hour holter ECG monitoring ทั้งหมด 182 คน พบผลตรวจผิดปกติ จำนวน 111 คน (60.99%) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 15 ปี 6 เดือน อายุเฉถี่ย 87.10 เดือน (gif.latex?\pm 57.43) โดยเป็นเพศชาย จำนวน 89 คน (48.90%) อาการนำของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ 24-hour holer ECO monitoring ได้แก่ ไม่มีอาการ แต่ตรวจพบความผิดปกติของจังหวะหัวใจโดยบังเอิญ 39.01%, มีอาการใจสั่น 20.888. เจ็บแน่นหน้าอก 10.41% และเป็นลม 9.34% ชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยใน 24-hour holter ECG monitoring คืo premature atrial contraction (PAC) จำนวน 41 ครั้ง (22.52%) และ premature ventricular contraction (PVC) จำนวน 46 ครั้ง (25.27%), ECO มี sensivity 719 specicity 56% PPV 72% NPV 54%, การรักษาของผู้ป่วยที่ได้รับการทำ 24-hour holer ECG monioring ได้แก่ สังเกตอาการ 65.38%, ได้ยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ 14.29%, ทำ Radiofrequency ablation (RFA)2.20%.                                                                                                                                                                      สรุป : การตรวจ 24 hr holer ECG monioring เป็น gold standard ในการช่วยวินิจฉัย arhythmia โดย
เฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ประวัติตรวจร่างกายและ 12-1cad ECG ไม่สามารถบอกความผิดปกติได้ชัดเจน อีกทั้งยังช่วยวินิจฉัยภาวะ life threatcning arrhythmia และใช้ประเมินผลติดตามหลังการรักษาได้ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิฉัยเบื้องต้นด้วย 12-cad ECG แล้วพบความผิดปกติ เมื่อตรวจ 24 hr holter ECG monitoring แล้วมักจะพบความผิดปกติด้วย อย่างไรก็ตาม การให้คำแนะนำเพื่อสังเกตอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะแก่ผู้ป่วยและผู้ปกครองก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Kliegman, Robert. Nelson Textbook of Pediatrics. 21st ed. Philadelphia, PA: Elsevier, 2020:2436.

Cleveland Clinic. 2021. Arrhythmias in Children; Causes, Symptoms, Management& Treatment. [online] Available at<https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/14788-arrhythmias-in-children>

ACC/AHA Guidelines for Ambulatory Electrocardiography : Executive Summary and Recommendations. 1999; 100:886-893.

Begic Z, Begic E, Mesihovic-Dinarevic S, Masic I, Pesto S, Halimic M, et el. The Use of Continuous Electrocardiographic Holter

Monitoring in Pediatric Cardiology. ACTA INFORM MED 2016; 24(4):253–256.

Sayki M, Ergul Y, Ozyilmaz I, Sengul FS, Guvenc O, Aslan E, et el. Using a Cardiac Event Recorder in Children with Potentially Arrhythmia-Related Symptoms. Ann Noninvasive Electrocardiol 2016;00(0):1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30