แนวทางการพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กวัย 3-5 ปีในอำเภอหล่มสัก
คำสำคัญ:
ความชุกโภชนาการเด็ก3-5 ปี, พฤติกรรมบริโภคอาหาร, ระบบเฝ้าระวังทางโภชนาการบทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ ภาวะโภชนาการที่ดี เป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิต เด็กอายุ 3-5 ปี เป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญ สมองและร่างกายมีการเจริญเติบโตและพัฒนาตลอดเวลา เป็นช่วงวัยที่มีการเรียนรู้ได้สูง การส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกทางภาวะโภชนาการของเด็กวัย 3-5 ปี, ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของครอบครัว และประเมินระบบเฝ้าระวังภาวะทางโภชนาการของเด็กวัย 3-5 ปี ของโรงพยาบาลหล่มสัก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอหล่มสัก
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบผสม Cross sectional descriptive study กลุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างง่ายเด็กอายุ 3-5 ปี จำนวน 380 คน พยาบาลผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 32 คน และกุมารแพทย์ 1 คน โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย
ผลการศึกษา พบความชุกน้ำหนักอ้วน ร้อยละ 2.10 น้ำหนักผอมระดับปานกลางและรุนแรง ร้อยละ 3.7 และเตี้ยระดับปานกลางและรุนแรงร้อยละ 11.58 พบพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมน้อยกว่าเกณฑ์ในเรื่อง บริโภคอาหารในแต่ละกลุ่ม และอาหารและยาที่มีธาตุเหล็ก พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมคือ การกินขนม (=2.09, SD.=0.78) ดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน (=2.31, SD.=0.84) ขนมขบเคี้ยว (=2.25, SD.=0.84) และอาหารเมนูซ้ำๆ (=2.44, SD.= 0.85) ระบบเฝ้าระวังด้านโภชนาการรับผิดชอบโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีแนวทางปฏิบัติและการส่งต่อภายใต้การดูแลของ
กุมารแพทย์ แต่ยังไม่ครอบคลุมในหลายด้าน
สรุป เด็กอายุ 3- 5 ปีมีสัดส่วนน้ำหนักและส่วนสูงสมส่วนต่ำกว่าเกณฑ์ และภาวะโภชนาการทั้งขาดและเกินเกณฑ์ มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมหลายๆด้าน และระบบเฝ้าระวังทางโภชนาการยังไม่ครอบคลุมหลายด้าน
Downloads
References
ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุวรรณเวหา และอติญาณ์ ศรเกษตริน.การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.2560; 3:226-235.
กองโภชนาการกรมอนามัย.การประเมินการเติบโตของเด็กปฐมวัย.
สุภาพรรณ ตันตราชีวธร, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ.การให้อาหารตามวัย (Complementary Feeding).Access at: http://www.thaipediatrics.org/Media/
media-20180403145645.pdf
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สุขภาพเด็ก โดยการตรวจร่างกายครั้งที่5 พ.ศ.2557.กรุงเทพฯ: 2557.
คณะกรรมการ ประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอนาแก. คู่มือการให้บริการ เรื่องแนวทางการจัดบริการคลินิกสุขภาพเด็กดีAccess at: https://datacenter.npm.moph.go.th/Nakae/uploads/media/201804031045491861.pdf
สำ นักงานโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำ เนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดีสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ:2558;1,17-53.
จิรารัตน์ พร้อมมูล,ตรีทิพย์ เครือหลี,ชุติมา เพิงใหญ่และวิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. สถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ตำ บลบ่อยาง อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.2561; 3:169-185.
สราวุฒิบุญสุข.แผนงานการพัฒนาสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก.กรมอนามัย:2560.
สุธาทิพย์วัฒนะพนาลัย.การศึกษาภาวะโภชนาการของเด็กอายุ0-6 ปีในเขตพื้นที่อำ เภอเมืองชัยภูมิ.ศรีนครินทร์เวชสาร;32: 45-51.
สำนักโภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการใช้มาตรฐานการเจริญเติบโตขององค์การอนามัยโลกปีค.ศ.2006ในเด็กแรกเกิด-5ปี.โรงพิมพ์
ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: 2558;57-59.
ศักรินทร์ สุวรรณเวหา, อมาวสี อัมพันศิริรัตน์และวิภารัตน์สุวรรณไวพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนเรียน:การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. The Journal of Baromarajanani College of Nursing, Nakhonratchasima.2019; 25(2):8-24.
จักรินทร์์ ปริมานนท์์, ปุุญญพัฒน์ ไชยเมล์และ สมเกียรติยศ วรเดช. ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า
ปี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุุขภาคใต้.2561;1:329-342.
ทิพย์สุดา นกเส้ง และศุภลักษณ์ สุวรรณะชฎ.แนวทางการพัฒนาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. Access at:http://www.hu.ac.th/Conference/conference2014/proceedings/data/08_Political%20Science-P1/08_Political%20Science-P1-5.pdf
ขวัญจิต เพ็งแป้น. บทบาทผู้ปกครองในการป้องกันปัญหาสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน.วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย.2562;6:131-142
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.