ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลรักษาเด็กน้ำหนักเกินและอ้วนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • เมธารี ปัญญานรกุล กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17

คำสำคัญ:

เด็กอ้วน, เด็กน้ำหนักเกิน, การจัดการน้ำหนัก, ทีมสหสาขาวิชาชีพ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ปัญหาความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นในผู้ใหญ่ การแก้ไขปัญหาต้องมีรูปแบบที่สอดคล้องกับช่วงวัย และความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพ ครอบครัว และ สังคม

วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลรูปแบบการดูแลโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนอายุ 8-14 ปีโดยอ้างอิงจากคู่มือนักจัดการน้ำหนักเด็กวัยเรียน (Smart Kids Coacher)  สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  

วิธีการศึกษา: วิธีการศึกษาเป็น quasi experimental study ในเด็กนักเรียนอายุ 8-14 ปีที่คัดกรองแล้วมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยมีร้อยละน้ำหนักต่อส่วนสูงเกิน 120 เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการน้ำหนักโดยทีมสหสาขาวิชาชีพจำนวน 3 ครั้ง 5 กิจกรรมในระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ประกอบด้วยกิจกรรมรู้จักภาวะตั้งเป้าหมาย กิจกรรมจิงโจ้ fun for fit กิจกรรมอาหารตามธงโภชนาการ กิจกรรมการเลือกกินอาหารตามโซนสี และกิจกรรมการทำอาหารเพื่อสุขภาพ โดยสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ กุมารแพทย์ นักสุขศึกษา นักโภชนาการและ นักวิชาการสาธารณสุข ทำการเก็บข้อมูล น้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว รอบสะโพกและค่าคะแนนแบบทดสอบ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 78 ราย เพศชาย 54 รายคิดเป็นร้อยละ 69.2  อายุเฉลี่ย 9.2 ±1.4 ปี  พบการเพิ่มขึ้น ของน้ำหนักและส่วนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) โดยน้ำหนักเพิ่มขึ้น จาก 58.4±16.4กก เป็น 60.0±16.0 ส่วนสูงเพิ่มขึ้น จาก 141.1±11.4 ซม เป็น 143.9±11.5 ซม ร้อยละน้ำหนักต่อส่วนสูง (%W/H) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) จาก 168.9±19.3 เป็น 164.7±17.2 จำนวนเด็กที่มีภาวะอ้วนมากและอ้วนรุนแรง (%W/H >160) ลดลงจาก 46 ราย (62.2%) เหลือ 39 ราย (52.7%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05  (p=0.041)  ค่าคะแนนแบบทดสอบความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จาก 4.3±1.9 คะแนน เป็น 5.6±2.5 คะแนน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในดัชนีมวลกาย รอบเอว และรอบสะโพก และอัตราส่วนรอบเอวต่อสะโพก

สรุป: โปรแกรมการจัดการน้ำหนักโดยทีมสหสาขาวิชาชีพน่าจะมีประสิทธิผลต่อการลดลงของร้อยละน้ำหนักต่อส่วนสูง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะอ้วนมากและอ้วนรุนแรง และช่วยเพิ่มความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมโปรแกรม

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization, The World Health Report 2002: Reducing risks, promoting healthy life. 2002, Geneva: World Health Organization

Vanhala M,Vanhala P,Kumpusalo E, Halonen P, Takala J. Relation between obesity from childhood to adulthood and the metabolic syndrome: Population based study. BMJ.1998;317-9.

Jirapinyo P, Densupsoontorn N, Kongtragoolpitak S, Wong-Arn R, Thamonsiri N. Increasing risks of becoming obese after 6 years in primary school: Comparing the relative risks among some schools in Bangkok, Saraburi and Sakolnakorn. J Med Assoc Thai. 2005;88:829-32.

Jirapinyo P, Densupsoontorn N, Chinrungrueng D, Wongarn R, Thamonsiri N. Relative risks of becoming overweight and obese in children after 6 years in secondary school. J Med Assoc Thai. 2005;88:651-4.

นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. ภาวะโภชนาการเกินหรือภาวะอ้วน. วารสารประชากรศาสตร์. 2552;18:69-87.

Dusanee Suwankhong.Perceptions of Overweight and Obese Students among Guardians, Community Leaders and Community Members in a Rural Community Southern Thailand. Journal of Public Health .2019;49:7-18.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือนักจัดการน้ำหนักเด็กวัยเรียน. กรุงเทพ:สามเจริญพาณิชย์; 2559.

Ells LJ, Rees K, Brown T, Mead E, Al-Khudairy L, Azevedo L, et al. Interventions for treating children and adolescents with overweight and obesity: An overview of cochrane reviews. Int J Obes. 2018;42:1823-33.

Johnson L, Smith K, Taylor R. Impact of nutrition and physical activity education on knowledge and behaviors in school-aged children. Journal of School Health. 2020;90:388-96.

ศณิษา ตันประเสริฐ, ธัญชนก คำแสน. ประสิทธิผลของโปรแกรมการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนของเด็ก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2561;48: 344-55.

เนาว์สุวรรณ ก, กิจรุ่งโรจน์ ท, โชติบัณ ป, รอดเนียม จ, บัวงาม จ, นัครามนตรี ส. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินโดยการมีส่วนร่วมของภาคีสุขภาพชุมชน. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Sep. 17 [cited 1 Dec. 2024]; 23(2):44-5. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/11894

Ek A, Brissman M, Nordin K, Eli K, Nowicka P. A long-term follow up of treatment for young children with obesity: A randomized controlled trial. Int J Obes (Lond). 2023;47:1152–60.

ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก พ.ศ.2557. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/pediatrics/pdf/service/ Guideline/nutrition/obesity2557.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27