เกณฑ์ทางคลินิกเพื่อทำนายภาวะล้มเหลวจากการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกในการรักษาภาวะหายใจลำบากในทารกเกิดก่อนกำหนด
คำสำคัญ:
การช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก, การให้สารลดแรงตึงผิว, ทารกเกิดก่อนกำหนด, ภาวะหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิวบทคัดย่อ
ความเป็นมา: การใช้ continuous positive airway pressure(CPAP) ตั้งแต่แรกเกิด และการให้สารลดแรงตึงผิวตามข้อบ่งชี้เป็นการรักษามาตรฐานของภาวะหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิวในทารกเกิดก่อนกำหนด (respiratory distress syndrome) แต่พบว่าทารกที่ได้รับการรักษาด้วย CPAP ไม่สำเร็จมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างเกณฑ์ทำนายทางคลินิกสำหรับภาวะใช้ CPAP ไม่สำเร็จ (CPAP failure)
วิธีการศึกษา: ดำเนินการเก็บข้อมูลไปข้างหน้าในทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 32 สัปดาห์ ที่ได้รับการรักษาด้วย CPAP ตั้งแต่แรกเกิดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่าง 1 เมษายน พ.ศ. 2563 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2564 ทารกที่เริ่มต้นให้การรักษาด้วย CPAP หลังเกิดที่ต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจหรือได้รับสารลดแรงตึงผิวหลังจากนั้น ภายในอายุ 48 ชั่วโมงหลังเกิด จะได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวะ CPAP failure จากนั้นนำตัวแปรทางคลินิกมาเปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มใส่ CPAP สำเร็จ (CPAP success) และ CPAP failure และใช้สถิติ multivariable logistic regression เพื่อสร้างเกณฑ์ทำนายทางคลินิก
ผลการศึกษา: ทารกที่เข้าร่วมการศึกษา 107 ราย เกิด CPAP failure ร้อยละ 32.7 โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด CPAP failure ได้แก่ อายุครรภ์ ระดับ CPAP ค่า FiO2 และ pCO2 ที่อายุ 1 ชั่วโมง เมื่อนำปัจจัยเหล่านี้มาสร้างเกณฑ์ทำนายทางคลินิก จะมีค่า AUC ร้อยละ 89.2 (95%CI 82.6-95.8) ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิด CPAP failure จะมีค่า positive likelihood ratio 0.12 (95%CI 0.03-0.45) ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิด CPAP failure จะมีค่า positive likelihood ratio 5.02 (95%CI 2.72-9.25)
สรุป: การศึกษานี้พบว่าตัวแปรที่สามารถใช้ในการบ่งชี้เรื่องของภาวะล้มเหลวจากการช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกมี 4 ตัวแปร ได้แก่ อายุครรภ์ ระดับ CPAP level ค่า FiO2 และค่า pCO2 ที่ 1 ชั่วโมงหลังเกิด และสามารถนำมาสร้างเป็นเกณฑ์ทำนายทางคลินิกในการในการทำนายภาวะ CPAP failure ได้ โดยสามารถนำไปใช้ในการ early intervention เพื่อให้การรักษาด้วยการช่วยหายใจที่เหมาะสม
Downloads
References
Jackson JC. Respiratory disorders in the preterm infant. In: Gleason CA, Juul SE, editors. Avery’sdisease of the newborn. 10th ed. Elsevier; 2018. p. 653–67.
Committee on fetus and newborn, American Academy of Pediatrics. Surfactant replacement therapy for preterm and term neonates with respiratory distress. Pediatrics. 2014;133:156–63.
Committee on fetus and newborn, American Academy of Pediatrics. Respiratory support in preterm infants at birth. Pediatrics. 2014;133(1):171–4.
Dargaville PA, Gerber A, Johansson S, De Paoli AG, Kamlin COF, Orsini F, et al. Incidence and outcome of CPAP failure in preterm infants. Pediatrics. 2016;138(1):e20153985.
Boo NY, Zuraidah AL, Lim NL, Zulfiqar MA. Predictors of failure of nasal continuous positive airway pressure in treatment of preterm infants with respiratory distress syndrome. J Trop Pediatr. 2000;46:172-5.
Pillai MS, Sankar MJ, Mani K, Agarwal R, Paul VK, Deorari AK. Clinical prediction score for nasal CPAP failure in preterm VLBW neonates with early onset respiratory distress. J Trop Pediatr. 2011;57:274–9.
Rocha G, Flôr-de-Lima F, Proença E, Carvalho C, Quintas C, Martins T, et al. Failure of early nasal continuous positive airway pressure in preterm infants of 26 to 30 weeks gestation. J Perinatol. 2013;33:297–301.
Gulczynska E, Szczapa T, Hozejowski R, Borszewska-Kornacka MK, and Rutkowska M. Fraction of inspired oxygen as a predictor of CPAP failure in preterm infants with respiratory distress syndrome: A prospective multicenter study. Neonatology. 2019;116:171–8.
Dargaville PA, Aiyappan A, De Paoli AG, Dalton RGB, Kuschel CA, Kamlin CO, et al. Continuous positive airway pressure failure in preterm infants: Incidence, predictors and consequences. Neonatology. 2013;104:8–14.
Sahussarungsi S, Techasatid W. Predictors of early nasal continuous positive airway pressure (CPAP) failure and consequences in preterm infants in Thammasat university hospital. J Med Assoc Thai. 2017;100:46.
Kakkilaya V, Wagner S, Mangona KLM, Steven Brown L, Jubran I, He H, et al. Early predictors of continuous positive airway pressure failure in preterm neonates. J Perinatol. 2019;39:1081–8.
Neumar RW, Shuster M, Callaway CW, Gent LM, Atkins DL, Bhanji F, et al. Part 1: Executive summary: 2015 American Heart Association guidelines update for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care. Circulation. 2015;132:S315-67.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.