ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจที่เข้ารับการรักษาแบบนอนโรงพยาบาล ณ โรงพยาบาลปัตตานี
คำสำคัญ:
โรคหัวใจในเด็ก, น้ำหนักแรกเกิด , ภาวะโลหิตจาง, ภาวะแทรกซ้อนในเด็กโรคหัวใจบทคัดย่อ
ความสำคัญ: โรคหัวใจที่พบในเด็กโดยเฉพาะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดพบได้บ่อยที่สุดในเด็ก มักพบภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยกว่าเด็กปกติทั่วไป การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจในเด็กมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต การค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นหนึ่งในวิธีการนำไปสู่การออกแบบแนวทางป้องกันหรือลดความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ ที่เข้ารับการรักษาแบบนอนโรงพยาบาล ณ โรงพยาบาลปัตตานี
วิธีการศึกษา: ค้นหาข้อมูลผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการดูแลรักษา ที่คลินิกโรคหัวใจในเด็ก จากโปรแกรม HOSxP ของโรงพยาบาลปัตตานี จำนวน 117 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.) ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ศึกษา ได้แก่ ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ ภาวะหัวใจวาย และติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ จนเป็นสาเหตุให้ต้องเข้ารับการรักษาแบบนอนโรงพยาบาล จำนวน 33 ราย (ร้อยละ 28.2) และ 2.) ผู้ป่วยเด็กกลุ่มเดียวกันที่ไม่พบภาวะแทรกซ้อน จำนวน 84 ราย (ร้อยละ 71.8) เปรียบเทียบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจะถูกวิเคราะห์ด้วย t-test, exact probability test และ odds ratio (OR) จาก logistic regression analysis
ผลการศึกษา: ลักษณะที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ศึกษาจนเป็นสาเหตุให้ต้องเข้ารับการรักษาแบบนอนโรงพยาบาล ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง (OR 70.47, 95% CI 8.31, 597.28) ภาวะน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ (OR 21.96, 95% CI 3.04, 158.46) ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม (OR 8.30, 95% CI 1.48, 46.52) ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ (OR 6.47, 95% CI 1.83, 22.93) ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจโต (OR 8.16, 95% CI 1.20, 55.68) และการไม่ร่วมมือในการรักษา (OR 13.17, 95%CI 3.31, 52.35)
สรุป: ปัจจัยเสี่ยงที่พบในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ ณ คลินิกเด็กโรคหัวใจ โรงพยาบาลปัตตานีสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแบบนอนโรงพยาบาล ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม ผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจโต และผู้ป่วยที่ไม่ร่วมมือในการรักษา ควรใช้ความเสี่ยงดังกล่าว
Downloads
References
Delaney A, Baker AL, Bastardi H, O Brien P. The cardiovascular dysfunction. In: Hockenberry MJ, Wilson D, Rodgers CC. Essentials of pediatric nursing. Missouri;2017:P.738-85.
อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์. มารู้จักโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กกันเถอะ [อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2566]. สืบค้นจากhttp://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/ns_academic/56/04/Heart_disease.html.
American Heart Association. Congenital cardiovascular defect [Internet]. Dallas (TX): 2016 [cited 2023 Dec 15]. Available from: https://www.heart.org/idc/groups/heart-public/@wcm/@sop/@smd/documents/ downloadable/ucm_483967.
ธนะรัตน์ ลยางกูร, สมพัน กลั่นดีมา และ แพรวดาว พันธรัตน์. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงในทางรกแรกเกิด. ว.กรมการแพทย์. 2559;41:16-21.
Eisenberg MJ. Rheumatic heart disease in the developing world: prevatence, prevention, and controt. European Heart Journal. 1993;14:122-8.
Crowe S, Ridout DA, Knowles R. Death and emergency readmission of infants discharged after interventions for congenital heart disease: A national study of 7643 infants to inform service improvement. J Am Heart Assoc. 2016;20(5):e003369.
Hoffman JI. The global burden of congenital heart disease. Cardiovasc J Afr. 2013;24:141-5.
Roy K, Shahed H, Roy K, Sarah QS, Chowdhury NS. Clinical presentation and complications of different congenital heart disease in children. Am J Pediatr. 2020;6:481-7.
Healy F, Hanna B D, Zinman R. Pulmonary complications of congenital heart disease. Paediatr Resp Reviews. 2012;13:10-5.
Pajan P, Witchayanon P. Recurrent respiratory infection. In: Likkasitwattanakul S, Bunyasit W, Wisutseriwong W, Nitiyarom R, Sumbunnanon A. Pediatrics Siriraj text book. Bangkok: PL living; 2016:712-24. (in Thai).
Andres S, Bauer G, Rodríguez S, Novali L, Micheli D, Fariña D. Hospitalization due to respiratory syncytial virus infection in patients under 2 years of age with hemodynamically significant congenital heart disease. J Pediatr (Rio J). 2012;88:246-52.
ณัฏฐ์ชฌา สร้อยเพ็ชร, นัยนา อินธิโชติ, วาสนา ครุฑเมือง และคณะ. การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ. ว.วิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2562;35:26-37.
Jat NK, Bhagwani DK, Bhutani N, Sharma U, Sharma R, Gupta R. Assessment of the prevalence of congenital heart disease in children with pneumonia in tertiary care hospital: A cross-sectional study. Ann Med Surg. 2022;73:1-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.