ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่สงสัยว่ามีภาวะเส้นประสาทผิดปกติหลายเส้น: การศึกษาแบบย้อนหลัง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ภัทราภา แย้มดี Department of PM&R, Queen Sirikit National Institute of Child Health hospital

คำสำคัญ:

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย, เด็ก, ภาวะเส้นประสาทผิดปกติหลายเส้น

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อในผู้ป่วยเด็กมาเป็นเวลายาวนาน แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่สงสัยว่ามีภาวะเส้นประสาทผิดปกติหลายเส้น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่สงสัยว่ามีภาวะเส้นประสาทผิดปกติหลายเส้น

วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โดยประกอบไปด้วยข้อมูลทั่วไป และข้อมูลที่ได้จากผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย นำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ

ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 48 คน มี 29 คน พบภาวะเส้นประสาทผิดปกติหลายเส้น จากการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย ความชุกร้อยละ 60.4 (95%CI: 45.3, 74.2) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะเวลาที่มีอาการ และประวัติคลอด และการตรวจพบความผิดปกติทางไฟฟ้า ระหว่าง 2 กลุ่ม โดยเส้นประสาทสั่งการที่ตรวจพบความผิดปกติมากที่สุด คือเส้นประสาท peroneal (38 เส้นจาก 47 เส้น คิดเป็นร้อยละ 80.9) และเส้นประสาทรับความรู้สึกที่ตรวจพบความผิดปกติมากที่สุด คือเส้นประสาท sural (29 เส้นจาก 32 เส้น คิดเป็นร้อยละ 90.6)

สรุป:  ความชุกของการตรวจพบความผิดปกติทางไฟฟ้าเท่ากับร้อยละ 60.4  ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของปัจจัยที่ศึกษาและการตรวจพบความผิดปกติทางไฟฟ้าระหว่าง 2 กลุ่ม โดยเส้นประสาทสั่งการและเส้นประสาทรับความรู้สึกที่ตรวจพบความผิดปกติมากที่สุด คือเส้นประสาท peroneal และ เส้นประสาท sural ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Karakis I, Liew W, Darras BT, Jones HR, Kang PB. Referral and diagnostic trends in pediatric electromyography in the molecular era. Muscle Nerve. 2014;50:244-9.

Kang PB, McMillan HJ, Kuntz NL, Lehky TJ, Alter KE, Fitzpatrick KF, et al. Utility and practice of electrodiagnostic testing in the pediatric population: An AANEM consensus statement. Muscle Nerve. 2020;61:143-55.

Kroczka S, Steczkowska M, Kacinski M. [Usefulness of electromyography in diagnostics of the neuro-muscular diseases]. Przegl Lek. 2009;66:913-9.

Sladky JT. Guillain-Barré syndrome in children. J Child Neurol. 2004;19:191-200.

Karakis I, Gregas M, Darras BT, Kang PB, Jones HR. Clinical correlates of Charcot-Marie-Tooth disease in patients with pes cavus deformities. Muscle Nerve. 2013;47:488-92.

Saporta AS, Sottile SL, Miller LJ, Feely SM, Siskind CE, Shy ME. Charcot-Marie-Tooth disease subtypes and genetic testing strategies. Ann Neurol. 2011;69:22-33.

McMillan HJ, Santagata S, Shapiro F, Batish SD, Couchon L, Donnelly S, et al. Novel MPZ mutations and congenital hypomyelinating neuropathy. Neuromuscul Disord. 2010;20:725-9.

McMillan HJ, Kang PB, Jones HR, Darras BT. Childhood chronic inflammatory demyelinating polyradiculoneuropathy: Combined analysis of a large cohort and eleven published series. Neuromuscul Disord. 2013;23:103-11.

Pitt MC. Nerve conduction studies and needle EMG in very small children. Eur J Paediatr Neurol. 2012;16:285-91.

Joyal KM, MacGregor JV, Hayawi LM, Webster RJ, McMillan HJ. Not so shocking: electromyography in pediatrics remains feasible and diagnostically useful. Canadian Journal of Neurological Sciences / Journal Canadien des Sciences Neurologiques. 2021;49:696-702.

Kang PB. Pediatric nerve conduction studies and EMG. In: Blum AS, Rutkove SB, editors. The Clinical Neurophysiology Primer. Totowa, NJ: Humana Press; 2007. p. 369-89.

Abuelwafaa N, Ahmed H, Omer I, Abdullah M, Ahmed A, Musa A. Electrophysiological characterization of neuropathy complicating Type 1 diabetes mellitus. J Diabetes Res. 2019;2019:2435261.

Ryan CS, Conlee EM, Sharma R, Sorenson EJ, Boon AJ, Laughlin RS. Nerve conduction normal values for electrodiagnosis in pediatric patients. Muscle Nerve. 2019;60:155-60.

Turkyilmaz H, Guzel O, Edizer S, Unalp A. Evaluation of polyneuropathy and associated risk factors in children with type 1 diabetes mellitus. Turk J Med Sci. 2017;47:942-6.

Oaklander AL, Mills AJ, Kelley M, Toran LS, Smith B, Dalakas MC, et al. Peripheral neuropathy evaluations of patients with prolonged long COVID. Neurology - Neuroimmunology Neuroinflammation. 2022;9:e1146.

Charles M, Soedamah-Muthu SS, Tesfaye S, Fuller JH, Arezzo JC, Chaturvedi N, et al. Low peripheral nerve conduction velocities and amplitudes are strongly related to diabetic microvascular complications in type 1 diabetes: the EURODIAB Prospective Complications Study. Diabetes Care. 2010;33:2648-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27