ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะสมองขาดออกซิเจน (Hypoxic-ischemic encephalopathy) ในทารกแรกเกิด

ผู้แต่ง

  • ปณิตา จันทรา สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์
  • สมรัก ครองยุทธ สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์
  • เรืองฤทธิ์ โทรพันธ์ สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์
  • สายสินธ์ กอมณี หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • กัญจน์รัตน์ สุวรรณโกฏ หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ภิชญาภา ชาวชายชม หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ดรุยาลักษม์ สายแวว หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ชนัญชิดา ทองเกลี้ยง หอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด2 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ภาวะสมองขาดออกซิเจน , ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ , คำสำคัญ : ทารกแรกเกิด ความดันเลือดในปอดสูงในทารก อัตราการเสียชีวิต, ห้องผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด , ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ภาวะสมองขาดออกซิเจนจากการขาดเลือด ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บทางสมองและความพิการในทารกแรกเกิด โดยปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ภาวะทารกขาดออกซิเจนในครรภ์และปัจจัยระหว่างคลอด การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของภาวะสมองขาดออกซิเจนจะช่วยพัฒนาวิธีการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะสมองขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด

วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบย้อนหลัง (retrospective study) โดยทำการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองขาดออกซิเจน และเข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Fisher’s exact test

ผลการศึกษา:ทารกแรกเกิดที่เข้ารับบริการในห้องผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด จำนวน 28 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 42.9 และเพศหญิง ร้อยละ 57.1 น้ำหนักแรกเกิดระหว่าง 2,501 - 4,000 กรัม ร้อยละ 71.4 พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างเพศของทารก วิธีการคลอด โรคของมารดา น้ำหนักแรกเกิด คะแนน APGAR score นาทีที่ 5 อัตราการเต้นของหัวใจนาทีที่ 5 หรือประเภทของการช่วยหายใจ แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ (p value 0.003) ซึ่งทารกที่มีการติดเชื้อร่วม และช็อกมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะสมองขาดออกซิเจนจากการขาดเลือดขั้นรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น

สรุป: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเป็นปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะสมองขาดออกซิเจนจากการขาดเลือดในทารกแรกเกิด

Downloads

Download data is not yet available.

References

Shankaran S. Hypoxic-ischemic encephalopathy and novel strategies for neuroprotection. Clin Perinatol. 2012;39:919-29.

Acun C, Karnati S, Padiyar S, Puthuraya S, Aly H, Mohamed M. Trends of neonatal hypoxic-ischemic encephalopathy prevalence and associated risk factors in the United States, 2010 to 2018. Obstet Gynecol Surv. 2023;78: 257-9.

Douglas-Escobar M, Weiss MD. Hypoxic-ischemic encephalopathy: A review for the clinician. JAMA Pediatr. 2015;169:397-403.

Namusoke H, Musoke NM, Ssebunya R, Kirabira NV, Mworozi E. Incidence and short term outcomes of neonates with hypoxic ischemic encephalopathy in a Peri Urban teaching hospital, Uganda: A prospective cohort study. Maternal Health, Neonatol Perinatol. 2018;4:6.

World Health Organization. Newborns: Improving survival and well-being [Internet]. Geneva: WHO;2023 [cited 2024 Sep 22]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/newborns-reducing-mortality.

Wang Y, Luo S, Wang K, Hou Y, Yan H, Zhang Y. Maternal and neonatal exposure to risk factors for neonates with moderate or severe hypoxic ischemic encephalopathy: A cross-sectional study. Ital J Pediatr. 2022;48(1):188.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษาภาวะสมองขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.

วัลภา อุดชาชน. ผลการรักษาทารกที่มีภาวะสมองขาดออกซิเจนระยะปริกำเนิดโดยวิธีลดอุณหภูมิที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2566;62(4):340-9.

สมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลทารกแรกเกิดในห้องผู้ป่วยหนัก. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2562.

McIntyre S, Nelson KB, Mulkey SB, Lechpammer M, Molloy E, Badawi N. Neonatal encephalopathy: Focus on epidemiology and underexplored aspects of etiology. Semin Fetal Neonatal Med. 2021;26:101265.

Vega-Del-Val C, Arnaez J, Caserío S, Gutiérrez EP, Benito M, Castañón L, García-Alix A. Temporal trends in the severity and mortality of neonatal hypoxic-ischemic encephalopathy in the era of hypothermia. Neonatology, 2021;118:685-92.

Cho KH. Evaluation and management of main bacterial infections in premature infants. J Korean Soc Matern Child Health. 2022;1:1-9.

Lv H, Liu F, Wang Q, Dong Z, Zhang H, Ren P, et al. Correlation analysis between the amniotic fluid contamination and clinical grading of neonatal hypoxic–ischemic encephalopathy and biomarkers of brain damage. BMC Pediatr. 2024;24:178.

Chong WH, Ong HY, Ooi JS, YY EK, Lim LM, Tew MM, et al. The effect of hypoxic ischemic encephalopathy towards multi-organ complications and its early outcome at a Malaysian district hospital. Med J Malaysia. 2024;79:184-90.

Dileep A, AlAbdin ZS, Aburuz S. Investigating the association between severity of COVID-19 infection during pregnancy and neonatal outcomes. Sci Rep. 2022;12:3024.

Atreya MR, Bennett TD, Geva A, Faustino EVS, Rogerson CM, Lutfi R, et al. Biomarker assessment of a high-risk, data-driven pediatric sepsis phenotype characterized by persistent hypoxemia, encephalopathy, and shock. Pediatr.Crit.Care.Med..2024;25:512-7.

Sanchez-Pinto LN, Stroup EK, Luo Y, Atreya MR, Wardenburg JB, Chong G, et al. Derivation, validation and clinical relevance of a pediatric sepsis phenotype with persistent hypoxemia, encephalopathy and shock. Pediatr Crit Care Med. 2023;24:795–806.

Wang Y, Zhang Y, Luo S, Wang K. Gender-specific association of multiple risk factors with neonatal moderate or severe hypoxic ischemic encephalopathy: A cross-sectional study. Ital J Pediatr. 2024;50:169.

Chen X, Chen H, Jiang D. Maternal and fetal risk factors for neonatal hypoxic-ischemic encephalopathy: A retrospective study. Int J Gen Med. 2023;31:537-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

จันทรา ป. ., ครองยุทธ ส., โทรพันธ์ เ. ., กอมณี ส. ., สุวรรณโกฏ ก. ., ชาวชายชม ภ. ., สายแวว ด. ., & ทองเกลี้ยง ช. . (2025). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะสมองขาดออกซิเจน (Hypoxic-ischemic encephalopathy) ในทารกแรกเกิด. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 64(1), 69–82. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2000