การประเมินผลลัพธ์ของโปรแกรมเสริมพลังครอบครัวเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นในโรงพยาบาลหล่มสัก

ผู้แต่ง

  • ปริญญาพร ไหมแพง กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหล่มสัก

คำสำคัญ:

สมาธิสั้น , อบรมผู้ปกครอง, การเสริมพลังครอบครัว, การปรับพฤติกรรม

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคที่พบมากที่สุดทางจิตเวช เด็กและวัยรุ่น หากไม่ได้รับการรักษาช่วยเหลือที่ดีอาการความผิดปกติที่เป็นจะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วย ทั้งในด้านการเรียน อาชีพ ครอบครัว และสังคม การปรับพฤติกรรมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษา แต่ยังขาดรูปแบบที่มีประสิทธิภาพในการปรับพฤติกรรม

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมเสริมพลังครอบครัวเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา รูปแบบการวิจัยแบบวัดผลการทดลองก่อนและหลังโดยมีกลุ่มควบคุม มีเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 56 คน โดยใช้โปรแกรมเสริมพลังครอบครัวอบรมผู้ปกครองในกลุ่มทดลอง และประเมินปัญหาพฤติกรรมของเด็กด้วยแบบประเมิน SNAP – IV และคะแนนประเมินการเลี้ยงดูเด็ก (parenting practice test) ก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัย 3 เดือน เปรียบเทียบผลก่อนและหลังวิจัยด้วยสถิติ independent t test, Chi-square test และ Generalized Estimating Equation (GEE)

ผลการศึกษา: กลุ่มที่ผู้ปกครองเข้าร่วมโปรแกรมเสริมพลังครอบครัวเพื่อปรับพฤติกรรมครบ 3 เดือน พบว่าคะแนน SNAP – IV คะแนนอาการขาดสมาธิ คะแนนอาการอยู่ไม่นิ่ง คะแนนรวมอาการสมาธิสั้นมีคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคะแนนประเมินการเลี้ยงดูเด็ก (parenting practice test) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบคะแนน SNAP – IV และคะแนนประเมินการเลี้ยงดูเด็ก (parenting practice test) หลังการใช้โปรแกรมฯ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: โปรแกรมเสริมพลังครอบครัวเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการปรับพฤติกรรมเด็ก 

Downloads

Download data is not yet available.

References

Dretzke J, Frew E, Davenport C, Barlow J, Stewart-Brown S, Sandercock J, et al. The effectiveness and cost-effectiveness of parent training/education programms for the treatment of conduct disorder, including oppositional defiant disorder, in children. Health Technol Assess. 2005;9:1-233.

Polanczk G, de Lima MS, Horta BL, Biederman J, Rohde LA. The worldwide prevalence of ADHD: A systematic review and metaregression analysis. Am J Psychiatry. 2007;164:942-8.

Wacharasindhu A, Panyyayong B. Psychiatric disorders in Thai school-aged children: I prevalence. J Med Assoc Thai. 2002;85:25-36.

Visauyothin T, Pavasuthipaisit C, Wachiradilok P, Annunruang P, Buranasuksakul T. The prevalence of attention deficit/hyperactivity disorder in Thailand. J Ment Health Thai. 2013;21:66-75.

แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นระดับโรงพยาบาลจังหวัดสําหรับกุมารแพทย์.

[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20161208151415.pdf.

Barkley RA. Psychosocial treatments for attention-deficit/hyperactivity disorder in children. J Clin Psychiatry. 2002; 63:36-43.

Heath CL. Curtis DF, Fan W, McPherson R. The association between parenting stress, parenting self-efficacy, and the clinical significance of child ADHD symptom change following behavior therapy. Child Psychiatry Hum Dev. 2015;46:118-29.

Puttisri S, Punpanivh P, Pantungtong T, Sungprasit M. A depression in mothers of children with ADHD. J Psychiatr Assoc Thailand. 2006;51:213-23.

Agha SS, Zammit S, Thapar A, Langley K. Maternal psychopathology and offspring clinical outcome: A four-year follow-up of boys with ADHD. Eur Child Adolesc Psychiatry. 2017;26:253-62.

Whalen CK, Odgers CL, Reed PL, Henker B. Dissecting daily distress in mothers of children with ADHD: An electronic diary study. J Fam Psychol. 2011;25:402-11.

Finzi-Dottan R, Triwitz YS, Golubchik P. Predictors of stress-related growth in parents of children with ADHD. Res Dev Disabil. 2011; 32: 510-9.

Pityaratstian N, Booranasuksakul T, Juengsiragulwit D, Benyakorn S. ADHD screening properties of the Thai version of Swanson, Nolan, and Pelham IV Scale (SNAP-IV) and strengths and difficulties questionnaire (SDQ). J Psychiatr Assoc Thailand. 2014;59:97-110.

ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, ชาญณรงค์ ชัยอุดมสม, ปาณิสรา เรือง และชนัฐดา ภูวิชัย. การศึกษานำร่องเรื่อง

ประสิทธิภาพของโปรแกรมกลุ่มฝึกทักษะครูในการปรับพฤติกรรมเด็กวัยเรียนกลุ่มเสี่ยง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561;63:115-26.

ชาญวิทย์ พรนภดล. คู่มือวิทยากรการฝึกอบรมผู้ปกครองวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก. นครปฐม; คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27