ระดับกรดอะมิโนในพลาสม่าด้วยการตรวจโดยวิธีโครมาโตกราฟีแบบแลกเปลี่ยนไอออนในเด็กทารกแรกเกิดไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
กรดอะมิโน, ทารกแรกเกิด, โรคพันธุกรรมเมแทบอลิก, โครมาโตกราฟีแบบแลกเปลี่ยนไอออนบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ค่าปกติของกรดอะมิโนในพลาสม่าของทารกมีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคพันธุกรรมเมแทบอลิก อย่างไรก็ตามข้อมูลค่าปกติของกรดอะมิโนในพลาสม่าในทารกแรกเกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังจำกัด
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้ต้องการหาค่าปกติสำหรับกรดอะมิโนในพลาสม่าของทารกแรกเกิดครบกำหนดชาวไทยที่มีสุขภาพปกติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิธีการศึกษา:ทารกแรกเกิดครบกำหนดสุขภาพปกติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมในการศึกษา จะได้รับการเจาะเลือด 2 มล.ในหลอดที่มีเฮพารินพร้อมกับการเจาะตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดด้วยกระดาษซับเลือดที่อายุ 48-72 ชั่วโมง ระดับกรดอะมิโนในพลาสม่าจะตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีโครมาโตกราฟีแบบแลกเปลี่ยนไอออนพร้อมอนุพันธ์นินไฮดรินหลังคอลัมน์ ข้อมูลที่ได้มีการแจกแจงไม่ปกติจึงใช้เปอร์เซ็นไทล์ที่ 2.5 และ 97.5 ในการกำหนดช่วงค่าปกติของระดับกรดอะมิโนในพลาสม่าของทารกแรกเกิด
ผลการศึกษา: ทารกแรกเกิดครบกำหนดสุขภาพปกติ 42 ราย (มัธยฐานอายุครรภ์ 38 สัปดาห์) เป็นชาย 22 ราย (ร้อยละ 52.4) เข้าร่วมการศึกษานี้ ระดับกรดอะมิโนในพลาสม่าเปรียบเทียบกับการศึกษาในอดีตของประเทศไทยและค่าปกติของรายงานอื่นพบว่าบางชนิดมีความแตกต่างกันซึ่งอาจจะเป็นผลจากวิธีการวิเคราะห์ และกลุ่มอายุที่แตกต่างกันของแต่ละการศึกษา ค่ากรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นที่วัดได้ในการศึกษานี้มีความแปรปรวนมากกว่าชนิดอื่น การเปรียบเทียบกับช่วงค่ามาตรฐานจากรายงานอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่ากรดอะมิโนในพลาสมาในการศึกษานี้มีความจำเพาะกับกลุ่มประชากร
สรุป: ค่าปกติสำหรับกรดอะมิโนที่ได้จากการศึกษานี้มีความสำคัญสำหรับใช้วินิจฉัยและดูแลรักษาโรคพันธุกรรมเมแทบอลิกในทารกแรกเกิดชาวไทย ความแตกต่างของระดับกรดอะมิโนในการศึกษานี้เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในอดีตสะท้อนให้เห็นผลของความแตกต่างจากวิธีการวิเคราะห์ และกลุ่มอายุ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่จะต้องมีข้อมูลระดับกรดอะมิโนในพลาสม่าที่เป็นค่าปกติที่จำเพาะกับกลุ่มพื้นที่ที่มีลักษณะประชากรและปัจจัยแวดล้อมที่จำเพาะ
Downloads
References
Woontner M, Goodman SI. Chromatographic analysis of amino and organic acids in physiological fluids to detect inborn errors of metabolism. Curr Protoc Hum Genet. 2006;17:17.2.
Saudubray JM, Garcia-Cazorla À. Inborn Errors of Metabolism Overview: Pathophysiology, Manifestations, Evaluation, and Management. Pediatr Clin North Am. 2018;65:179–208.
24 Rare diseases added to UCS but challenges remain [Internet]. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.).[cited2024Nov9].Availablefrom:http://eng.nhso.go.th/view/1/DescriptionNews/24-Rare-Diseases-Added-to-UCS-But-Challenges-Remain/292/EN-US
Shih VE. Amino acid analysis. In: Physician’s Guide to the Laboratory Diagnosis of Metabolic Diseases. 2nd ed. Heidelberg: Springer; 2003. p. 12.
Shapira E, Blitzer MG, Miller JB, Africk DK. Biochemical Genetics. A Laboratory Manual. New York: Oxford University Press; 1989. p. 94-7.
Lab Information Sheets [Internet]. SickKids. [cited 2024 Aug 30]. Available from: https://www.sickkids.ca/en/care-services/for-health-care-providers/lab-information-sheets/
Wu PY, Edwards N, Storm MC. Plasma amino acid pattern in normal term breast-fed infants. J Pediatr. 1986;109:347–9.
Sirichakwal P, Feungpean B, Tontisirin K. Plasma free amino acid contents in healthy Thai subjects. J Med Assoc Thai. 1999;82:S129-36.
Svasti J, Wasant P, Tiensuwan M, Sawangareetrakul P, Srisomsap C, Pangkanon S, et al. Normal plasma free amino acid levels in Thai children. J Med Assoc Thai. 2001;84:1558-68.
Uaariyapanichkul J, Chomtho S, Suphapeetiporn K, Shotelersuk V, Punnahitananda S, Chinjarernpan P, et al. Age-related reference intervals for blood amino acids in Thai pediatric population measured by liquid chromatography tandem mass spectrometry. J Nutr Metab. 2018;2018:5124035.
Ozarda Y, Higgins V, Adeli K. Verification of reference intervals in routine clinical laboratories: Practical challenges and recommendations. Clin Chem Lab Med CCLM. 2019;57:30-7.
Smon A, Cuk V, Brecelj J, Murko S, Groselj U, Zerjav Tansek M, et al. Comparison of liquid chromatography with tandem mass spectrometry and ion-exchange chromatography by post-column ninhydrin derivatization for amino acid monitoring. Clin Chim Acta. 2019;495:446-50.
Kalhan SC, Bier DM. Protein and amino acid metabolism in the human newborn. Annu Rev Nutr. 2008;28:389-410.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.