การใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อให้ความรู้เรื่องภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก

ผู้แต่ง

  • สุธาสินี เหล่าศักดิ์ชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • ปวีณา วิจักษณ์ประเสริฐ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก, สื่อวีดิทัศน์, การให้ความรู้ผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

บทนำ: การสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต การให้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันภาวะนี้ได้

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการได้รับความรู้หลังรับชมสื่อวีดิทัศน์เรื่องภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก

วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง โดยผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปีที่เข้ารับบริการที่คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ทำแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กจำนวน 36 ข้อ ก่อนและหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์ เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลัง รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคะแนนก่อนรับชมสื่อวีดิทัศน์

ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 50 ราย พบว่า ร้อยละ 90 มีความรู้เรื่องภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กเพิ่มขึ้น คะแนนหลังรับชมสื่อวีดิทัศน์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับคะแนนก่อนรับชมสื่อวีดิทัศน์ (32.14 ± 2.19 และ 25.86 ± 3.88 คะแนน p <0.001) และไม่พบปัจจัยใดที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนก่อนรับชมสื่อวีดิทัศน์

สรุป: การรับชมสื่อวีดิทัศน์ที่จัดทำขึ้นช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็กมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการดําเนินงานโครงการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาภาวะสําลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษาภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก พ.ศ. 2547. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 2547:1-51.

Rizk H, Rassi S. Foreign body inhalation in the pediatric population: Lessons learned from 106 cases. Eur Ann Otorhinolaryngol Head Neck Dis, 2011;128:169-74.

Passàli D, Lauriello M, Bellussi L, Passali GC, Passali FM, Gregori D. Foreign body inhalation in children: an update. Acta Otorhinolaryngol Ital. 2010;30:27-32.

Chand R, Shaikh M, Khan Y, Qureshi MA, Maheshwari H, Yasir M. Frequency of various foreign bodies retrieved from the airway during bronchoscopy in children: A Pediatric Tertiary Care Center Experience. Cureus 2020 Jul 22 [cited 2022 Feb 9]. Available from: https://www.cureus.com/articles/28725-frequency-of-various-foreign-bodies-retrieved-from-the-airway-during-bronchoscopy-in-children-a-pediatric-tertiary-care-center-experience

Centers of Disease Control and Prevention [Internet]. Leading causes of death and injury, United states.[cited 2021 Dec14].Availableformhttps://www.cdc.gov/injury/wisqars/LeadingCauses.html.

Almutairi AT, Alharbi FS. Parental knowledge and practices toward foreign body aspiration in children in the Al Qassim region of Saudi Arabia. J Family Med Prim Care. 2021;10:199-204.

อลิศา เวชรักษ์, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, นัยนา ณีศะนันท์, พัชราภา ทวีกุล, นฤมล เด่นทรัพย์สุนทร, และคณะ. การประเมินการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคอ้วนในเด็กแก่ผู้ปกครองในคลินิกเด็กสุขภาพดี. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2564;3:245-55.

Celik N, Arikan D. The effect of the training given to the child development students about foreign body aspiration upon their knowledge levels. Int J Pediatr Otorhinolaryngol. 2013;77:1811-7.

De Lepeleere S, De Bourdeaudhuij I, Cardon G, Verloigne M. The effect of an online video intervention ‘Movie Models’ on specific parenting practices and parental self-efficacy related to children’s physical activity, screen-time and healthy diet: a quasi experimental study. BMC Public Health. 2017;17:366.

Kuroiwa E, Ragar RL, Langlais CS, Baker A, Linnaus ME, Notrica DM. Car seat education: A randomized controlled trial of teaching methods. Injury. 2018;49:1272–7.

Begović I, Štefanović IM, Vrsalović R, Geber G, Kereković E, Lučev T, et al. Parental awareness of the dangers of foreign body inhalation in children. Acta Clin Croat. 2022;61:26-33.

Laswad BMB, Alsulaimani HM, Alomairi MM, Alsulami RR, Alobaidi SF, Aljabri H, et al. Parental knowledge and practices related to foreign body aspiration in children in Makkah, Saudi Arabia. Cureus 2023 Feb 09 [cited 2023 Oct 15]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC10008119/pdf/cureus-0015-00000034816.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

เหล่าศักดิ์ชัย ส. ., & วิจักษณ์ประเสริฐ ป. . (2025). การใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อให้ความรู้เรื่องภาวะสำลักวัตถุแปลกปลอมในทางเดินหายใจเด็ก. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 64(1), 142–154. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2492