ปัจจัยเสี่ยงต่อการต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของโรคไอกรนในเด็กจังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
ไอกรน, เด็ก, รักษาตัวในโรงพยาบาล, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคไอกรนเป็นโรคที่พบได้ทุกกลุ่มอายุและพบความรุนแรงมากในกลุ่มเด็กเล็ก จากเดิมที่อัตราการได้รับวัคซีนไอกรนในเด็กอย่างน้อย 1 เข็มของจังหวัดปัตตานีอยู่ที่ร้อยละ 73 ขณะค่าเฉลี่ยทั้งประเทศเป็นร้อยละ 88 และยังลดลงอีก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นมา อุบัติการณ์การติดเชื้อไอกรนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่สิงหาคม 2566 เป็นต้นมา และมีการระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว การศึกษาปัจจัยที่ช่วยทำนายความเสี่ยงต่อการเป็นไอกรนที่มีภาวะแทรกซ้อนต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล จะช่วยให้การวางแผนป้องกันและการดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะที่ทำนายความเสี่ยงต่อการต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลของเด็กที่เป็นโรคไอกรน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา explorative prognostic factor research แบบ retrospective เก็บข้อมูลผู้ป่วยเด็ก (อายุ <15 ปี) ที่ได้รับการยืนยันวินิจฉัยติดเชื้อไอกรน ในจังหวัดปัตตานี ระหว่างสิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2567 ข้อมูลประชากร ประวัติการได้รับวัคซีนไอกรน อาการแสดง และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ถูกเก็บรวบรวมและวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่อาการไม่รุนแรง และกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไป ประวัติการได้รับวัคซีนไอกรน อาการแสดงและการเกิดปอดอักเสบ (n, % และ mean±SD) ด้วย exact probability test และ t-test วิเคราะห์ลักษณะปัจจัยทำนายร่วมหลายตัวแปรด้วย multivariable logistic regression และนำเสนอด้วย multivariable odds ratio (mOR)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กได้รับการยืนยันวินิจฉัยไอกรน 333 ราย เพศชายร้อยละ 56.7 อายุเฉลี่ย 3.3 ปี มีภาวะปอดอักเสบร้อยละ 17.7 และต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในร้อยละ 42 ลักษณะการทำนายปัจจัยที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ได้แก่ อายุน้อย ไข้ ร้องกลั้น ไอเป็ชุด อาเจียนหลังไอ ปอดอักเสบ ภาวะเม็ดเลือดขาวสูง (>25,000 cells/cu.mm.) เม็ดเลือดชนิดลิมโฟไซด์สูง (>60%) และภาวะเกร็ดเลือดสูง (>450,000 /cu.m.) วิเคราะห์ลักษณะปัจจัยทำนายร่วมหลายตัวแปร พบปัจจัยเสี่ยงต่อการต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ได้แก่ มีไข้ ไอเป็นชุด ปอดอักเสบ การมีเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซด์สูง และภาวะเกร็ดเลือดสุง
สรุป: เด็กที่มีไข้ ปอดอักเสบ เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์สูง และมีภาวะเกร็ดเลือดสูง มีแนวโน้มเสี่ยงต่ออาการรุนแรงที่ต้องรับรักษาตัวในโรงพยาบาล
Downloads
References
Cherry JD, Paddock CD. Pathogenesis and histopathology of pertussis: Implications for immunization. Expert Rev Vaccines. 2014;13:1115-23.
Kilgore PE, Salim AM, Zervos MJ, Schmitt HJ. Pertussis: Microbiology, disease, treatment, and prevention. Clin Microbiol Rev. 2016;29:449-86.
Chow MYK, Khandaker G, McIntyre P. Global childhood deaths from pertussis: A historical review. Clin Infect Dis. 2016;63:S134-41.
Dorji D, Mooi F, Yantorno O, Deora R, Graham RM, Mukkur TK. Bordetella pertussis virulence factors in the continuing evolution of whooping cough vaccines for improved performance. Med Microbiol Immunol. 2018;207:3-26.
Chinthanate S, Wanlapakorn N, Puenpa J, Wongthong D, Poovorawa Y. Pertussis in Thai adult and pediatric patients presenting with prolonged acute cough. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2018;49:447-55.
Gentile A, Romanin VS, Juárez Mdel V, Lución MF, Marques Mde L, Mistchenko AS. Epidemiology of Bordetella pertussis in a children's hospital. Arch Argent Pediatr. 2014;112:26-32.
Moore A, Ashdown HF, Shinkins B, Roberts NW, Grant CC, Lasserson DS, et al. Clinical characteristics of pertussis-associated cough in adults and children: A diagnostic systematic review and meta-analysis. Chest. 2017;152:353-67.
Regan AK, Moore HC, Binks MJ, Mchugh L, Blyth CC, Pereira G, et al. Maternal pertussis vaccination, infant immunization, and risk of pertussis. Pediatrics. 2023;152:e2023062664.
Poeta M, Moracas C, Albano C, Petrarca L, Maglione M, Pierri L, et al. Pertussis outbreak in neonates and young infants across Italy, January to May 2024: Implications for vaccination strategies. Euro Surveill. 2024;29:2400301.
Del Valle-Mendoza J, Casabona-Oré V, Petrozzi-Helasvuo V, Cornejo-Tapia A, Weilg P, Pons MJ, et al. Bordetella pertussis diagnosis in children under five years of age in the Regional Hospital of Cajamarca, Northern Peru. J Infect Dev Ctries. 2015;9:1180-5.
Del Valle-Mendoza J, Silva-Caso W, Aguilar-Luis MA, Del Valle-Vargas C, Cieza-Mora E, Martins-Luna J, et al. Bordetella pertussis in children hospitalized with a respiratory infection: clinical characteristics and pathogen detection in household contacts. BMC Res Notes. 2018;11:318.
Moore A, Ashdown HF, Shinkins B, Roberts NW, Grant CC, Lasserson DS, et al. Clinical characteristics of pertussis-associated cough in adults and children: A diagnostic systematic review and meta-analysis. Chest. 2017 ;152:353-67.
Liu C, Yang L, Cheng Y, Xu H, Xu F. Risk factors associated with death in infants <120 days old with severe pertussis: A case-control study. BMC Infect Dis. 2020;20:852.
Mi YM, Deng JK, Zhang T, Cao Q, Wang CQ, Ye S, et al. Expert consensus for pertussis in children: new concepts in diagnosis and treatment. World J Pediatr. 2024;20:1209-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.