การเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์ในโรงพยาบาลหาดใหญ่
คำสำคัญ:
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์ , อัตราการตาย , ระยะชักนำให้โรคสงบ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเด็กโดยมีอุบัติการณ์ร้อยละ 40 ของโรคมะเร็งในเด็กไทยทั้งหมด ปัจจุบันอัตราการรอดชีวิต 5 ปี เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัดที่แพร่หลายมากขึ้น พบอัตราการเสียชีวิตสูงสุดในช่วงให้ยาเคมีบำบัดระยะชักนำให้โรคสงบ (induction chemotherapy) เมื่อเทียบกับการให้ยาเคมีบำบัดระยะอื่น ๆ
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบอัตราการเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบ และศึกษาปัจจัยพยากรณ์การเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์ ในโรงพยาบาลหาดใหญ่
วิธีการศึกษา: ศึกษาโดยการสังเกตแบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 15 ปีที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหาดใหญ่ตั้งแต่ เดือน สิงหาคม พ.ศ.2554 - เมษายน พ.ศ.2564 เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา หาอัตราการเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบ สาเหตุของการเสียชีวิต วิเคราะห์เปรียบเทียบอาการและอาการแสดง ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแรกรับ และภาวะแทรกซ้อนระหว่างให้ยาเคมีบำบัด เพื่อหาปัจจัยพยากรณ์การเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบ
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 197 ราย เป็นเพศชาย 109 ราย (ร้อยละ 55) พบกลุ่มอายุ 4-10 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 43.7) อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย คือไข้ (ร้อยละ 79.2) ตับโต (ร้อยละ 74.6) ต่อมน้ำเหลืองโต (ร้อยละ 62.4) ม้ามโต (ร้อยละ 59.4) และซีด (ร้อยละ 25.9) อัตราการตายในระยะชักนำให้โรคสงบคิดเป็นร้อยละ 14.7 สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญคือการติดเชื้อคิดเป็นร้อยละ 79.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับเกล็ดเลือดที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 /ลบ.มม. โดยมีความเสี่ยงเพิ่ม 3.6 เท่าเมื่อเทียบกับระดับเกล็ดเลือดที่มากกว่า 20,000 /ลบ.มม. (95% CI 1.15-11.60; p value 0.028) การติดเชื้อราแอสเปอจิลัสแบบรุกรานโดยมีความเสี่ยงเพิ่ม 64.1 เท่าเทียบกับเมื่อไม่มีการติดเชื้อราแอสเปอจิลัสแบบรุกราน (95% CI 6.24-657.96; p value 0.001) การติดเชื้อในกระแสเลือดโดยมีความเสี่ยงเพิ่ม 32.043 เท่าเทียบกับเมื่อไม่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด (95% CI 7.77-132.17; p value 0.001)
สรุป: อัตราการตายในระยะชักนำให้โรคสงบคิดเป็นร้อยละ 14.7 การติดเชื้อคือสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญที่สุด ระดับเกล็ดเลือดที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 /ลบ.มม. การติดเชื้อราแอสเปอจิลัสแบบรุกราน และการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในระยะชักนำให้โรคสงบของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสต์ ในโรงพยาบาลหาดใหญ่
Downloads
References
วนิดา พงศ์สถาพร. มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ในเด็ก. วารสารโรคมะเร็ง. 2559;36:68-75.
Wiangnon S, Veerakul G, Nuchprayoon I, Seksarn P, Hongeng S, Krutvecho T, et al. Childhood cancer incidence and survival 2003-2005, Thailand: Study from the Thai Pediatric Oncology Group. Asian Pac J Cancer Prev. 2011;12: 2215-20.
Silverman L. Acute Lymphoblastic Leukemia. In: Orkin S, Fisher D, Look A, Lux S, Ginsburg D, Nathan D. Oncology of Infancy and Childhood. 1st edition. Philadelphia: Saunders Elsevier; 2009: 297-330.
Hao T, Hiep P, Hao N, Ha C. Causes of death in childhood acute lymphoblastic leukemia at Hue central hospital for 10 years (2008-2018). Glob Pediatr Health. 2020;7:1-8.
Seif A, Fisher B, Li Y, Torp K, Rheam D, Huang Y, et al. Patient and hospital factors associated with induction mortality in acute lymphoblastic leukemia, Pediatr Blood Cancer. 2014;61:846-52.
Nakagawa S, Kato M, Imamura T, Imai C, Koh K, Kawano Y, et al, In-hospital management might reduce induction deaths in pediatric patients with acute lymphoblastic leukemia: Results from a Japanese cohort. J Pediatr Hematol Oncol. 2021;43:39-46.
Khan MI, Naseem L, Manzoor R, Yasmeen N. Mortality analysis in children during induction therapy for acute lymphoblastic leukemia. JIMDC. 2017;6:69-72.
Raetz E, Teachey D. T-cell acute lymphoblastic leukemia. Hematology Am Soc Hematol Educ Program. 2016;2016:580–8.
ปิยะ รุจกิจยานนท์. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในเด็ก (Childhood Acute Leukemia), [อินเตอร์เน็ต]. สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://tsh.or.th/Knowledge/Details/46
Inaba H, Pei D, Wolf J, Howard SC, Hayden RT, Go M, et.al. Infection-related complications during treatment for childhood acute lymphoblastic leukemia. Ann Oncol. 2017;28:386-92.
Afzal S, Ethier MC, Dupuis LL, Tang L, Punnett AS, Richardson SE, et al. Risk factors for infection-related outcomes during induction therapy for childhood acute lymphoblastic leukemia. Pediatr Infect Dis J. 2009;28:1064-8.
O’Connor D, Bate J, Wade R, Clack R, Dhir S, Hough R, et al. Infection-related mortality in children with acute lymphoblastic leukemia: An analysis of infectious deaths on UKALL2003. Blood. 2014;124:1056-61.
Seif A, Rheingold A, Fisher B, Huang YS, Li Y, Kersun L, et al. Induction mortality in pediatric acute lymphoblastic leukemia (ALL): A retrospective cohort analysis from the pediatric health systems information (PHIS) database. Blood. 2010;116:3239.
Kong SG, Seo JH, Jun SE, Lee BK, Lim YT. Childhood acute lymphoblastic leukemia with hyperleukocytosis at presentation. Blood Res. 2014;49:29-35.
Hassan AM, Sadek A, Hassan ES, Abbas AA. Tumor lysis syndrome in children with acute leukemia: Incidence and outcome. JAppl Hematol. 2013;4:100-3.
Anugulruengkitt S, Trinavarat P, Chantranuwat P, Sritippayawan S, Pancharoen C, Thanyawee P. Clinical features and survival outcomes of invasive aspergillosis in pediatric patients at a medical school in Thailand. J Med Assoc Thai. 2016;99:150-158.
Abbasi S, Shenep J, Hughes W, Flynn P. Aspergillosis in children with cancer: A 34-year experience. Clin Infect Dis. 1999;29:1210–1219.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.