ปัจจัยพยากรณ์การเกิดไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกในผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกีที่โรงพยาบาลมุกดาหาร
คำสำคัญ:
ไข้เลือดออกเดงกี, ไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อก, ปัจจัยพยากรณ์บทคัดย่อ
ความเป็นมา:โรคไข้เลือดออกเดงกี (dengue hemorrhagic fever, DHF) เป็นโรคที่สำคัญ ทั้งด้านการวินิจฉัยและการดูแลรักษา การทราบปัจจัยพยากรณ์การเกิดไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกในผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกี จะช่วยในการเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการ อาการแสดงและปัจจัยพยากรณ์การเกิดไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกในผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกีที่โรงพยาบาลมุกดาหาร
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิง prognostic factor research แบบ retrospective observational design ในผู้ป่วยเด็กอายุมากกว่า 1 เดือน ถึง 15 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกเดงกี (dengue hemorrhagic fever, DHF) ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลมุกดาหาร ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ศึกษาผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกีที่ไม่มีภาวะช็อกและมีภาวะช็อกด้วยสถิติ Chi-square test และวิเคราะห์ลักษณะพยากรณ์การเกิดไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกด้วย risk ratio จาก multivariate logistic regression analysis
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกี ทั้งหมด 120 ราย มีผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อก 34 ราย(ร้อยละ 28.3) กลุ่มอายุ 10-13 ปี มากที่สุด ร้อยละ 46.7 มีอาการไข้ ร้อยละ 100.0 รองลงมาคืออาการคลื่นไส้และอาเจียน ร้อยละ 35.0 และ 34.2 ตามลำดับ ปัจจัยพยากรณ์การเกิดไข้เลือดออกเดงกีที่มีภาวะช็อกในผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกี ได้แก่ ภาวะโภชนาการ (risk ratio [RR] 11.8, 95% CI 1.4-103.6, p value 0.03) เลือดออกไรฟัน (RR 16.7, 95% CI 1.2-233.8 , p value 0.04) และ pleural effusion (RR 14.9, 95% CI 2.2 -101.1, p value 0.01)
สรุป: ผู้ป่วยเด็กไข้เลือดออกเดงกีควรเฝ้าระวังและรักษาอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการผิดปกติ เลือดออกไรฟันและ pleural effusion
Downloads
References
World health organization. Dengue guidelines for diagnosis, treatment, prevention and control [Internet].2009.[cited2024April1]..Available.from:.https://www.who.int/publications/i/item/9789241547871
วรวิทย์ กันทะมาลี, นพพร อภิวัฒนากุล, สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. ความรู้สำหรับประชาชน โรคไข้เลือดออก (Dengue) [Internet]. 2024 [cited 2024 June 16]. Available from: https://www.pidst.or.th/A713.html
ยุวดี คงนก. เปรียบเทียบลักษณะทางคลินิกของไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกีในผู้ป่วยเด็กที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลพัทลุง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2559;30:139-47.
Hussain w, Shaikh M, Hanif M, Ashfaq M, Ahmed H, Nisa BU. Pattern and outcome of dengue fever in a pediatric tertiary hospital: A retrospective report. Cureus. 2021;13:1-6.
Pichainarong N, Mongkalangoon N, Kalayanarooj S, Chaveepojnkamjorn W. Relationship between body size and severity dengue hemorrhagic fever among children aged 0-14 years. Southeast Asian J Trop MedPublic Health. 2006;37:283-8.
World health organization. Dengue and severe dengue [Internet]. 2023 [cited 2024 March 23]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. คำแนะนำแนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและการรักษาโรคไข้เลือดออกเด็กกี่ในเด็กและวัยรุ่น 15 มกราคม 2567 ฉบับก่อนประชาพิจารณ์ [Internet]. 2024 [cited2024.June.16]..Available.from:.https://drive.google.com/file/d/1TyT4B7Oj3kSlqPVSL1TfpKUA2ZhSA_kx/view
สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานเหตุการณ์ที่สำคัญทางระบาดวิทยา [Internet]. 2023 [cited 2024 March 24]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1517920240108030356.pdf
Maneerattanasak S, Suwanbamrung C. Impact of nutritional status on the severity of dengue infection among pediatric patients in southern Thailand. Pediatr Infect Dis J 2020;39: 410-6.
Baiduri S, Husada D, Puspitasari D, Kartina L, Basuki PS, Ismoedijanto. Prognostic factors of severe dengue infections in children. IJTID. 2020;8:43-53.
Sangkaew S, Ming D, Boonyasiri A, Honeyford K, Kalayanarooj S, Yacoub S, et al. Risk predictors of progression to severe disease during the febrile phase of dengue: A systematic review and meta-analysis. Lancet Infect Dis 2021;21:1014-26.
Ningrum EFS. Prognosis factors for dengue shock syndrome in children. J Clin Intensive Care Med2021;6:033-7.
ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงค์, วารุณี วัชรเสวี. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
ทรงพล พงศ์พัฒนโชติ. การศึกษาและทบทวนโรคไข้เดงกี่และไข้เลือดออกเดงกี่ 5 ปี ย้อนหลัง
หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร. สรรพสิทธิเวชสาร 2565;43:61-71.
Sudjaritruk T, Oberdorfer P, Clinical characteristics and outcomes of dengue-infected children admitted to the Chiang Mai University Hospital during an outbreak in 2008. Chiang Mai Med J 2011;50:95-104.
Idrus NL, Jamal SM, Bakar AA, Embong H, Ahmad NS. Comparison of clinical and laboratory characteristics between severe and non-severe dengue in paediatrics. PLOS Negl Trop Dis 2023;17:1-10.
กันตภณ ตรงกมลชัย, สุภโชค ตรงกมลชัย. การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของผู้ป่วยเดงกีในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี.วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2561;57:183-7.
Sirivichayakul C, Limkittikul K, Chanthavanich P, Jiwariyavej V, Chokejindachai W, Pengsaa K, et al. Dengue infection in children in Ratchaburi, Thailand: A cohort study. II. Clinical Manifestations. PLOS Negl Trop Dis. 2012;6:1-10.
Sreenivasan P, Geetha S, Sasikala K. Development of a prognostic prediction model to determine severe dengue in children. Indian J Pediatr. 2018;85:433-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.