การเข้าถึงการศึกษาของผู้ป่วยเด็กกล้ามเนื้ออ่อนแรงในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นัฐพร โรจน์ชนะทอง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • อรณี แสนมณีชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คำสำคัญ:

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, พิการ, ระบบการศึกษา, โรงเรียน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: กลุ่มโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (neuromuscular disease) คือกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของการทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบการสั่งงานของสารสื่อประสาท  เส้นประสาทส่วนปลาย  ปัญหาหลักของผู้ป่วยในกลุ่มโรคเหล่านี้คือปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว อ่อนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นไม่สามารถเดินได้ โดยที่ระบบการทำงานของสมอง ความคิด และการรับรู้ยังคงเป็นปกติ จากการทบทวนวรรณกรรมในต่างประเทศ  ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติในสังคม ได้รับการศึกษาและเข้าเรียนเหมือนเด็กปกติทั่วไป แต่สำหรับประเทศไทย กลับพบว่าเมื่อผู้ป่วยกลุ่มนี้เริ่มมีปัญหาทางการเคลื่อนไหว สุดท้ายผู้ป่วยต้องหยุดเรียนและออกจากระบบการศึกษาไปในที่สุด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการได้รับการศึกษาของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในประเทศไทย ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ศึกษาความต้องการสนับสนุนเพิ่มเติมในการจัดการศึกษา

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวางได้ดำเนินการกับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง อายุระหว่าง 3 ถึง 25 ปี ที่ศูนย์โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรงพยาบาลศิริราช ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 แบบสอบถามถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง 105 คน   พบว่า มีผู้ที่ได้รับการศึกษาจำนวน 73 คน เคยเรียนหนังสือแต่ต้องหยุดเรียนไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ 27 คน และไม่เคยเข้าโรงเรียน 5 คน ผู้ป่วยส่วนมากเป็นโรค DMD/BMD (ร้อยละ 36.3) รองมาคือ SMA (ร้อยละ 26.7) เมื่อควบคุมปัจจัยรบกวน พบว่า สภาพแวดล้อมที่โรงเรียนที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยง 26.6 เท่าที่จะไม่ไปโรงเรียนเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่สภาพแวดล้อมโรงเรียนเหมาะสม ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้ (นั่งรถเข็นผู้พิการและผู้ป่วยนอนติดเตียง) มีความเสี่ยง 23.5 เท่าที่จะไม่ไปโรงเรียนเมื่อเทียบผู้ป่วยที่สามารถเดินได้ ขณะที่ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังคด มีความเสี่ยง 13.8 เท่าที่จะออกจากโรงเรียน บ้านที่มีความลำบากในการดูแลผู้ป่วยมีความเสี่ยง 22.3 เท่าในการออกจากโรงเรียน และ รายได้ครอบครัวที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30,000 บาทต่อเดือน มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 10.9 เท่าที่จะไม่ได้เรียนหนังสือ

สรุป: ผู้ป่วยกลุ่มโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวนมากถึงหนึ่งในสามไม่ได้เรียนหนังสือ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ การไม่สามารถเดินได้ รายได้ครัวเรือนที่ต่ำ การต้องเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังคด ปัญหาความลำบากของผู้ดูแล และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ไม่เหมาะสม หากสามารถแก้ไขปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถเพิ่มโอกาสในการได้รับการศึกษาของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้มากยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Prevalence of Duchenne/Becker muscular dystrophy among males aged 5-24 years - four states, 2007. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 2009;58:1119-22.

Strehle EM, Straub V. Recent advances in the management of Duchenne muscular dystrophy. Arch Dis Child. 2015;100:1173-7.

Donaldson A, Guntrum D, Ciafaloni E, Statland J. Achieving life milestones in Duchenne/Becker muscular dystrophy: A retrospective analysis. Neurol Clin Pract. 2021;11:311-7.

Mercuri E, Finkel RS, Muntoni F, Wirth B, Montes J, Main M, et al. Diagnosis and management of spinal muscular atrophy: Part 1: Recommendations for diagnosis, rehabilitation, orthopedic and nutritional care. Neuromuscul Disord. 2018;28:103-15.

Aksaralikitsunti M, Sanmaneechai O. Health-related quality of life in Thai children with spinal muscular atrophy. Pediatr Neonatol. 2022;63:291-7.

Bos I, Wynia K, Almansa J, Drost G, Kremer B, Kuks J. The prevalence and severity of disease-related disabilities and their impact on quality of life in neuromuscular diseases. Disabil Rehabil. 2019;41:1676-81.

A Teacher's guide to neuromuscular disease: Muscular dystrophy association; 2017. Available from: https://www.mda.org/sites/default/files/Teachers_Guide_booklet.pdf.

Thongsing A, Suksangkarn Y, Sanmaneechai O. Reliability and validity of the Thai pediatric quality of life inventory™ 3.0 neuromuscular module. Health and Quality of Life Outcomes. 2020;18:243.

Stroobach A, Wilson AC, Lam J, Hall GL, Withers A, Downs J. Factors influencing participation in home, school, and community settings by children and adolescents with neuromuscular disorders: A qualitative descriptive study. Dev Med Child Neurol. 2023;65:664-73.

Cruz KLT, Santos ICS, de Jesus Alves de Baptista CR, Mattiello-Sverzut AC. Quality of life assessment instruments in children and adolescents with neuromuscular diseases: A systematic scoping review. Health Qual Life Outcomes. 2024;22:18.

Wei Y, Speechley K, Campbell C. Health-related quality of life in children with Duchenne muscular dystrophy: A review. J Neuromuscul Dis. 2015;2:313-24.

Schepelmann K, Winter Y, Spottke AE, Claus D, Grothe C, Schröder R, et al. Socioeconomic burden of amyotrophic lateral sclerosis, myasthenia gravis and facioscapulohumeral muscular dystrophy. J Neurol. 2010;257:15-23.

Mah JK, Thannhauser JE, Kolski H, Dewey D. Parental stress and quality of life in children with neuromuscular disease. Pediatr Neurol. 2008;39:102-7.

Travlos V, Patman S, Wilson A, Simcock G, Downs J. Quality of life and psychosocial well-being in youth with neuromuscular disorders who are wheelchair users: A systematic review. Arch Phys Med Rehabil. 2017;98:1004-17.

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

โรจน์ชนะทอง น., & แสนมณีชัย อ. . . (2025). การเข้าถึงการศึกษาของผู้ป่วยเด็กกล้ามเนื้ออ่อนแรงในประเทศไทย. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 64(2), 95–113. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2690