การศึกษาอุบัติการณ์ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ ว่องวุฒิกำจร กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิด, ความดันเลือดในปอดสูงในทารก, อัตราการเสียชีวิต

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ส่งผลให้ทารกมีการพร่องออกซิเจนอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ลักษณะทางคลินิก ผลการรักษา และอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะความดันเลือดในปอดสูง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 และดำเนินการวิเคราะห์ระหว่างกลุ่มที่เสียชีวิตกับกลุ่มที่รอดชีวิต

ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด จำนวน 25 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 4.06 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 ราย โดยร้อยละ 76 เป็นเพศชาย และร้อยละ 76 เป็นสัญชาติไทย อายุครรภ์เฉลี่ย 37.3 ± 3.2 สัปดาห์ การคลอดมีสัดส่วนเท่ากันระหว่างการคลอดปกติและการผ่าตัดคลอด (ร้อยละ 48) สาเหตุที่พบมากที่สุดคือกลุ่มอาการปอดอักเสบในทารกแรกเกิด (ร้อยละ 52) อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 40 โดยกลุ่มที่เสียชีวิตมีค่าเฉลี่ยของความดันในหลอดลมขณะหายใจเข้า 22.2 ± 3.46 (p value 0.029), ความดันเฉลี่ยของทางเดินหายใจ  21.8 ± 3.32 (p value 0.07) และค่าดัชนีออกซิเจน  49.3 ± 13.1 (p value 0.001) สูงกว่ากลุ่มที่รอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ กลุ่มที่เสียชีวิตพบภาวะแทรกซ้อนลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด 5 ราย (ร้อยละ 83.3) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่รอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value 0.013)

สรุป: ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ยังคงมีอัตราการเสียชีวิตสูง เมื่อเทียบกับอุบัติการณ์ในประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ 1.88 - 3.7 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 ราย โดยสาเหตุหลักคือกลุ่มอาการปอดอักเสบในทารกแรกเกิด และภาวะแทรกซ้อนลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิต

Downloads

Download data is not yet available.

References

Cabral JE, Belik J. Persistent pulmonary hypertension of the newborn: Recent advances in pathophysiology and treatment. J Pediatr. 2013;89:226-42.

Walsh MC, Stork EK. Persistent pulmonary hypertension of newborn: Rational therapy based on pathophysiology. Clin Perinatol. 2001;28:609-27.

Lakshminrusimha S, Keszler M. Persistent pulmonary hypertension of the newborn. Neoreviews. 2015;16:680-90.

อาทิตย์ สอนไว. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3. 2565;19:196-211.

นพวรรณ พงศ์โสภา. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการเขต 11. 2560;31:49-59.

ปฐมาภรณ์ ชัยธีรกิจ. ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563;39:304-15.

วรนาฎ จันทร์ขจร, อำนวยพร อภิรักษากร.ผลการรักษาภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2563;59:131-8.

Khorana M, Yookaseam T, Layangool T, Kanjanapattanakul W, Paradeevisut H. Outcome of oral sildenafil therapy on persistent pulmonary hypertension of the newborn at QueenSirikit National Institute of Child Health. J Med Assoc Thai. 2011;94:S64-73.

พิมล วงศ์ศิริเดช, สันติ ปุณณะหิตานนท์, โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล. Highlights in neonatal problems. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์. 2561. หน้า 404-23.

อุไรวรรณ โชติเกียรติ, มิรา โครานา, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล, วราภรณ์ แสงทวีสิน, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. ผลการรักษาความดันเลือดในปอดสูงในเด็กทารก (PPHN) ด้วยเครื่องช่วยหายใจความถี่สูง (HFOV): ประสบการณ์ 5 ปี. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2546;42:1-8.

Chotigeat U, Jaratwashirakul S. Inhaled iloprost for severe persistent pulmonary hypertension of newborn. J Med Assoc Thai. 2007;90:167-70.

Finer NN, Barrington KJ. Nitric oxide for respiratory failure in infants born at or near term. Cochrane Database Syst Rev. 2006;CD000399.

Cabral JE, Belik J. Persistent pulmonary hypertension of the newborn: Recent advances in pathophysiology and treatment. J Pediatr. 2013;89:226-42.

Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V, Mcneil E. n4Studies: Sample size calculation for an epidemiological study on a smart device. Siriraj Med J. 68:160–70.

สุพรรณิการ์ ยานกาย. ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2567;44:13-24

มนัญญา อภิวัฒนพร. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564;29:31-37

Walsh-Sukys MC, Tyson JE, Wright LL, Bauer CR, Korones SB, Stevenson DK, et al. Persistent pulmonary hypertension of the newborn in the era before nitric oxide: Practice variation and outcomes. Pediatrics. 2000;105:14–20.

สุภาณี ชนินทร์วณิชย์. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลระยอง. วารสารโรงพยาบาลระยอง. 2563;36:1-14.

Agha H, Tantawy AE, Iskander I, Samad AA. Impact of management strategies on the outcome of persistent pulmonary hypertension of the newborn. Cardiol Cardiovasc med. 2017;1:74-84.

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

ว่องวุฒิกำจร พ. (2025). การศึกษาอุบัติการณ์ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 64(2), 49–61. สืบค้น จาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/TJP/article/view/2787