การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยเด็กโรคไข้ปวดข้อยุงลายและไข้เดงกี ณ สถาบันบำราศนราดูร

ผู้แต่ง

  • ปุณยวีร์ ศรีคิรินทร์ สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วิศัลย์ มูลศาสตร์ สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ไข้ปวดข้อยุงลาย, ไข้เดงกี, ผู้ป่วยเด็ก, ความแตกต่าง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคไข้ปวดข้อยุงลายและไข้เดงกีเป็นติดต่อนำโดยยุงโดยในปี พ.ศ.2560-2564 ประเทศไทย พบอัตราป่วย 0.02-19.73 และ 16.04-131.59 รายต่อแสนประชากรตามลำดับ เนื่องจากผู้ป่วยเด็กโรคทั้งสองมีลักษณะอาการคล้ายกันทำให้แยกกันโดยใช้ลักษณะทางคลินิกได้ยาก เป็นผลให้การวินิจฉัยยืนยันโรคล่าช้าเป็นผลเสียต่อการรักษาและควบคุมโรคโดยปัจจุบันข้อมูลการศึกษาถึงข้อแตกต่างระหว่างโรคทั้งสองในผู้ป่วยเด็กยังมีจำกัด

วัตถุุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างของอาการอาการแสดงภาวะแทรกซ้อนและพยากรณ์โรคของผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี โรคไข้ปวดข้อยุงลายกับโรคไข้เดงกี

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบวิเคราะห์ย้อนหลังโดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไข้ปวดข้อยุงลายและโรคไข้เดงกี ณ สถาบันบำราศนราดูรในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561-31 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำานวน 250 ราย เป็นโรคไข้ปวดข้อยุงลายและไข้เดงกี 38 และ 212 รายตามลำาดับ อายุเฉลี่ย 8.3 + 4.0 ปีอัตราส่วนชายต่อหญิง คือ 1.2 : 1สิ่งที่พบในผู้ป่วยเด็กไข้ปวดข้อยุงลายมากกว่า ไข้เดงกี คือ อาการปวดข้อ (adjustedoddsratio[AOR] = 26.00, 95%CI:6.22-109.01) และผื่น (AOR=3.58, 95%CI: 1.53-8.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบความแตกต่างของภาวะแทรกซ้อนและพยากรณ์โรค

สรุปผลการศึกษา: ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยเด็กไข้ปวดข้อยุงลายที่แตกต่างจากไข้เดงกี คือ อาการปวดข้อและผื่น ซึ่งช่วยสนับสนุนการส่งตรวจยืนยันการวินิจฉัยโรค เพื่อประโยชน์ในการรักษาและควบคุมโรคต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Silva LA, Dermody TS. Chikungunya virus: epidemiology, replication, disease mechanisms, and prospective intervention strategies. J Clin Invest. 2017; 127: 737-749.

Sukharom R. Mother-to-child Chikungunya Virus Transmission in Mae Sot District, Tak Province, Thailand 2019. Journal of The Department of Medical Services. 2021; 46: 145-152.

Wijesinghe C, Gunatilake J, Kusumawathie PHD, et al.Circulating dengue virus serotypes and vertical transmission in Aedes larvae during outbreak and inter-outbreak seasons in a high dengue risk area of Sri Lanka. Parasit Vectors. 2021; 14: 614.

Thiberville SD, Moyen N, Dupuis-Maguiraga L, et al. Chikungunya fever: epidemiology, clinical syndrome, pathogenesis and therapy. Antiviral Res. 2013; 99: 345-70.

สมาคมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทย. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya virus disease) [อินเตอร์ เนต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2566]. เข้าถึง ได้จาก: http://pidst.or.th/A234.html

อนุตรศักดิ์ รัชตะทัต. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya fever) [อินเตอร์เนต] พิมครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2552 [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม2566].เข้าถึงได้จาก:http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/handbook/form/14

Tsetsarkin KA, Vanlandingham DL, McGee CE, et al. A single mutation in chikungunya virus affects vector specificity and epidemic potential. PLoS Pathog 3: e201.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การจัดการโรคติดต่อนำโดยแมลง พ.ศ.2566-2575. [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://online.fliphtml5.com/hvpvl/qyxx/

ChansaenrojJ,WanlapakornN,Ngamsaithong C, et al. Genome sequences of chikungunya virus isolates from an outbreak in southwest Bangkok in 2018. Arch Virol 165: 445-450.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อ ยุงลาย(Chikungunyafever) ประเทศไทย พ.ศ.2565 ช่วงระหว่งวันที่ 1 มกราคม-2 พฤศจิกายน 2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่15พฤษภาคม2566]. เข้าถึงได้จาก: https://datastudio.google.com/reporting/d65ea341-d007-4929-bbc1-6e797050b5cc/page/GKWfC

สิริการย์ ตั้งชีวินศิริกูล. ประเด็นปัญหาด้านข้อ กล้ามเนื้อ และกระดูกในผู้ป่วยเด็กโรคไข้ปวด ข้อยุงลาย (Pediatric Chikungunya Infection: Rheumatology Perspectives). [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/VMED/article/view/253538/174544.

Ward CE, Chapman JI. Chikungunya in Children: A Clinical Review. Pediatr Emerg Care. 2018; 34: 510-515.

Barr KL, Vaidhyanathan V. Chikungunya in Infants and Children: Is Pathogenesis Increasing? Viruses. 2019; 11.

Ritz N, Hufnagel M, Gerardin P. Chikungunya in Children. Pediatr Infect Dis J. 2015; 34: 789-91.

MurugesanA, Manoharan M. Dengue Virus: Emerging and Reemerging Viral Pathogens. 2020:281-359. doi: 10.1016/B978-0-12- 819400-3.00016-8. Epub 2019 Sep 20.

กองโรคติดต่อนำาโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไข้เลือด ออก พ.ศ.2565 ประจำาสัปดาห์ที่ 43 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-26 ตุลาคม 2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://datastudio.google.com/reporting/84a91f26-9f99-4d85-aa9c-9f2f42205a77/page/p_ortuohurpc

Roy SK, Bhattacharjee S. Dengue virus: epidemiology, biology, and disease aetiology. Can J Microbiol. 2021; 67: 687-702.

กรมควบคุมโรค โดยกองโรคติดต่อนำโดยแมลง ร่วมกับ สถาบันบำราศนราดูร กองระบาดวิทยา คณะอาจารย์จากกรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. แนวทางการวินิจฉัย ดูแลรักษา ผู้ป่วยไข้ปวดข้อยุงลาย พ.ศ. 2563 (GUIDELINES ON CLINICAL MANAGEMENT OF CHIKUNGUNYA FEVER) [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://online.fliphtml5.com/hvpvl/nvon/#p=4

Nyamwaya DK, Otiende M, Mwango L, et al. Incidence of chikungunya virus infections among Kenyan children with neurological disease, 2014-2018: A cohort study. PLoS Med. 2022; 19: e1003994.

Traverse EM, Hopkins HK, Vaidhyanathan V, Barr KL. Cardiomyopathy and Death Following Chikungunya Infection: An Increasingly Common Outcome. Trop Med Infect Dis. 2021; 6.

Lue AM, Richards-Dawson MEH, GordonStrachan GM, et al. Severity and Outcomes of Dengue in Hospitalized Jamaican Children in 2018-2019 During an Epidemic Surge in the Americas. Front Med (Lausanne). 2022; 9: 889998.

Rosner B. Fundamentals of Biostatistics. 7th ed. Boston, MA: Brooks/Cole, 2011.

Tangsathapornpong A, Bunjoungmanee P, Pengpris P, Khawcharoenporn T. Comparison of the 1997 and 2009 WHO classifications for determining dengue severity in Thai patients. The Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health. 2017; 48: 75-82.

Cozzarolo CS, Sironi N, Glaizot O, Pigeault R, Christe P. Sex-biased parasitism in vectorborne disease: Vector preference? PLoS One. 2019; 14: e0216360.

Castellanos JE, Jaimes N, Coronel-Ruiza C, et al. Dengue-chikungunya coinfection outbreak in children from Cali, Colombia in 2018-2019. Int J Infect Dis. 2021; 102: 97-102.

Anwar S, Taslem Mourosi J, Khan MF, Ullah MO, Vanakker OM, Hosen MJ. Chikungunya outbreak in Bangladesh (2017): Clinical and hematological findings. PLoS Negl Trop Dis. 2020; 14: e0007466.

Gomes PD, Carvalho R, Massini MM, et al. High prevalence of arthralgia among infants with Chikungunya disease during the 2019 outbreak in northern region of the state of Rio de Janeiro. Front Pediatr 10: 944818.

Imad HA, Phadungsombat J, Nakayama EE, et al. Clinical Features ofAcute Chikungunya Virus Infection in Children andAdults during an Outbreak in the Maldives.Am J Trop Med Hyg 105: 946-954.

Veeresh J, Murthy SC, Vishwanath B. Mucocutaneous Manifestations in Dengue: A Study among Children at a Tertiary Care Center in South India. 2021;. 22: 231-235.

deLimaCavalcantiTYV,PereiraMR,dePaula SO, Franca RFO.AReview on Chikungunya Virus Epidemiology, Pathogenesis and Current Vaccine Development. Viruses. 2022; 14.

Pinzon-Redondo H, Paternina-Caicedo A, Barrios-Redondo K, et al. Risk Factors for Severity of Chikungunya in Children: A Prospective Assessment. Pediatr Infect Dis J 35: 702-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13