ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในภาวะชักจากไข้ และปัจจัยเสี่ยงของการชักซ้ำใน 24 ชั่วโมง ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ภานุรัตน์ เชื้อเย็น กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ภาวะชักจากไข้ , ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ , ปัจจัยชักซ้ำใน 24 ชั่วโมง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ภาวะชักจากไข้ คือ ภาวะที่มีอาการชักร่วมกับมีไข้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส (°C ) ขึ้นไป พบได้ร้อยละ 2 ถึง 5 ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี ต้องไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อทางระบบประสาท หรือสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการชัก  การศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยชักจากไข้จะช่วยลดการส่งตรวจที่ไม่จำเป็นลง และการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดชักจากไข้ซ้ำใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชักจากไข้แบบซับซ้อน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยชักจากไข้ และศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดชักซ้ำใน 24 ชั่วโมง

วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ผู้ป่วยอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะชักจากไข้ และรักษาในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2564 เก็บข้อมูลทางคลินิกและข้อมูลทางห้องปฏิบัติการและวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยชักจากไข้ 272 ราย อายุเฉลี่ย 21.5 เดือน เพศชาย ร้อยละ 60 อุณภูมิกายเฉลี่ย 39 °C จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 26.5 เลือดเป็นกรด ร้อยละ 83 โซเดียมต่ำ ร้อยละ 43.5 แมกนีเซียมสูง ร้อยละ 2.8 โพแทสเซียมต่ำ ร้อยละ 0.8 ขณะที่ภาวะโซเดียมสูง แคลเซียมต่ำ แคลเซียมสูง และฟอสฟอรัสสูง พบชนิดละ 1 ราย นอกจากภาวะโพแทสเซียมต่ำแล้ว ภาวะอื่น ๆ ไม่ได้รับการรักษาหรือหาสาเหตุ พบน้ำตาลสูงชั่วคราว ร้อยละ 18 ระดับน้ำตาลสามารถลดลงได้เอง ไม่พบน้ำตาลในเลือดต่ำและครีเอทินีนสูง ตรวจปัสสาวะพบ เม็ดเลือดขาวสูง ร้อยละ 5 ตรวจพบเชื้อในปัสสาวะ ร้อยละ 18  มีชักซ้ำใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 17.6 ระหว่าง 2 ถึง 4 ครั้ง พบกลุ่มไข้สูงกว่า 39 °C และระดับโซเดียมมากกว่า 135 mEq/L มีโอกาสเกิดชักซ้ำใน 24 ชั่วโมง เป็น 2 เท่า และ 2.6 เท่า ตามลำดับ (OR 2.044, p value 0.045 และ OR 2.624, p value=0.011 ตามลำดับ)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต

สรุป: ไม่แนะนำให้ตรวจค่าเกลือแร่ แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ระดับน้ำตาล การทำงานของไต การทำงานของตับในผู้ป่วยทุกรายที่มาด้วยชักจากไข้เพื่อหาสาเหตุของการชัก แต่สามารถพิจารณาส่งตรวจได้หากสงสัยภาวะเกลือแร่ผิดปกติที่ต้องได้รับการแก้ไข แนะนำให้เจาะค่าความสมบูรณ์ของเลือด ตรวจปัสสาวะ น้ำไขสันหลังหากมีข้อบ่งชี้ หรือการตรวจอื่น เพื่อหาสาเหตุไข้ตามความเหมาะสม  ปัจจัยเสี่ยงของการชักซ้ำใน 24 ชั่วโมง คือ ไข้สูงกว่า 39 °C และระดับโซเดียมในเลือดมากกว่า 135 mEq/L

Downloads

Download data is not yet available.

References

Syndi S, Shlomo S. Febrile seizures. In: Swaiman KF, Ashwal S, Ferriero DM, Schor NF, Finkel RS, Gropman AL, et al, editors. Swaiman’s pediatric neurology principle and practice. 6th ed. St. Louis: Elsevier; 2018. p.519-23.

Subcommittee on febrile seizures. Clinical practice guideline—Febrile seizures: Guideline for the neurodiagnostic evaluation of the child with a simple febrile seizure. American Academy of Pediatrics. 2011;127:389-94.

Mikati MA, Tchapyjnikov D. Febrile seizures. In: Kliegman RM, St.Geme III JW, Blum NJ, Shah SS, Tasker RC, Wilson KM, et al, editors. Nelson textbook of pediatrics. Vol. 2. 21st ed. Philadelphia: Elsevier; 2020. p. 12071-8.

อัจฉรีย์ อินทุโสมา. ภาวะชักจากไข้. ใน: อัจฉรีย์ อินทุโสมา, กมรวรรณ กตัญญูวงศ์, อาภาศรี สุสวัสดิ์, สุรางค์ เจียมจรรยา, บรรณาธิการ. เวชปฏิบัติกุมารประสาทวิทยา (Clinical practice in pediatric neurology). กรุงเทพฯ: สมาคมกุมารประสาทวิทยา (ประเทศไทย); 2565. หน้า 291-2.

แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลเด็กที่มีไข้และอาการชัก. ใน: ทินนกร ยาดี, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาโรคลมชัก สำหรับแพทย์ (ฉบับสมบูรณ์2564). กรมการแพทย์, สถาบันประสาทวิทยา; 2565. หน้า103-7.

ณรงค์ เอื้อวิชญาแพทย์. โรคติดเชื้อระบบประสาทส่วนกลาง. ใน: ภัณฑิลา สิทธิการค้า, ดารา ไม้เรียง, ลีลาวดี เตชาเสภียร, รสวันต์ อารีมิตร, สุชาอร แสงนิพันธ์กูล, กุณฑล วิชาจารย์ และคณะ, บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ : Essentials in Pediatrics. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะแพทยศาสตร์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2565. หน้า 848-55.

สาธารณสุขมอบทิศทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและระบบสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, RLU Thailand [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ย.2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/185928/

รสสุคนธ์ เจริญสัตย์สิริ. พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่ชักจากไข้สูง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2561;35:40-6.

Lerner NB. Chapter 447 The Anemias. In: Kliegman RM, Stanton BF, St.Geme III JW, Schor NF, Behrman, editors. Nelson textbook of pediatrics. Vol. 2. 20th ed. Philadelphia: Elsevier; 2016. p. 2309-12.

Lo SF. Reference Intervals for Laboratory Tests and Procedures. In: Kliegman RM, Stanton BF, St.Geme III JW, Schor NF, Behrman, editors. Nelson textbook of pediatrics. Vol. 2. 20th ed. Philadelphia: Elsevier; 2016. p. 3464-72.

Soghier L, Pham K, Rooney S, editors. Reference range values for pediatric care. American Academy of Pediatrics. [date unknown]. p. 65,72-81.

Nardone R, Brigo F, Trinka E. Acute symptomatic seizures caused by electrolyte disturbances. J Clin Neurol.. 2016;12:21-33.

American Academy of Pediatrics. Coagulase-Negative Staphylococcal Infection. In: Kimberlin DW, Barnett ED, Lynfield R, Sawyer MH, editors. Red Book: 2021-2024 Report of the committee on infectious diseases. 32nd edition. Itasca, IL: American Academy of Pediatrics; 2021. p. 692-4.

Sreedharan R, Avner ED. Acute Kidney Injury. In: Kliegman RM, Stanton BF, St.Geme III JW, Schor NF, Behrman, editors. Nelson textbook of pediatrics. 20th ed. Philadelphia: Elsevier; 2016. p. 2539-43.

Duangpetsang J. Serum sodium levels predict the recurrence of febrile seizure within 24 hours. J Health Sci and Med Res. 2019;37:277-80.

ภัทรนิษฐ์ อริยพสิษฐ์. การตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ที่ป่วยด้วยภาวะชักร่วมกับการมีไข้ ในโรงพยาบาลสมเด็กพระสังฆราชองค์ที่ 17. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2556;32:213-23.

สุมิศรา อารีย์วัฒนานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดไข้ชักซ้ำในผู้ป่วยเด็กโรคไข้ชักซ้ำครั้งแรกของโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559;13:119-28.

สุภาพ ซื่อพัฒนะ. การตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยเด็กที่มีอาการชักร่วมกับภาวะไข้ในโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2555;51:35-41.

Rutter N, Smales OR. Calcium, magnesium, and glucose in blood and CSF of children with febrile convulsions. Arch Dis Child. 1975;51:141-3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29