การศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตในผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด

ผู้แต่ง

  • ธารธรรม โชคแสน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • คริน วนธารกุล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ศรัญญา สุวรรณสิงห์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด , ภาวะเหล็กเกิน , การให้เลือดอย่างสม่ำเสมอ , การเจริญเติบโตผิดปกติ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดแม้จะได้รับการรักษาด้วยการให้เลือดอย่างสม่ำเสมอและได้รับยาขับธาตุเหล็กในผู้ป่วยที่มีภาวะเหล็กเกินแล้วแต่ผู้ป่วยบางรายก็ยังพบว่ามีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตในผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด

วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาของผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เกณฑ์การคัดเลือกอาสาสมัครเข้าคือ ผู้ป่วยอายุ 6 ปี ถึง 18 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด เกณฑ์การคัดเลือกอาสาสมัครออกคือ ผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยที่อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระยะยาวโดยไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง/ไตวาย, เป็นโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกแบบปฐมภูมิหรือรับประทานยาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในระยะยาว

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยที่อายุมากกว่าเท่ากับ 2 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีการเจริญเติบโตผิดปกติคือส่วนสูงน้อยกว่าเกณฑ์ที่ควรเพิ่มต่อปีมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยที่อายุน้อยกว่า 2 ปี โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p value 0.81) เช่นเดียวกันกับกลุ่มที่มีฮีมาโตคริตหรือค่าความเข้มข้นเลือดน้อยกว่าร้อยละ 27 ก่อนให้เลือด (p value 0.38) และกลุ่มที่มีภาวะเหล็กเกิน (p value 0.42) ในทางกลับกัน กลุ่มที่ระยะห่างของการเติมเลือดมากกว่าเท่ากับ 5 สัปดาห์จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีการเจริญเติบโตผิดปกติน้อยกว่ากลุ่มที่ระยะห่างของการให้เลือดน้อยกว่า 5 สัปดาห์โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p value 0.34)

สรุป: ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดที่ได้รับการวินิจฉัยที่อายุมากกว่าเท่ากับ 2 ปี ค่าความเข้มข้นเลือดน้อยกว่าร้อยละ 27 ก่อนให้เลือด และกลุ่มที่มีภาวะเหล็กเกินมีโอกาสเจริญเติบโตผิดปกติมากกว่า แต่กลุ่มที่ระยะห่างของการให้เลือดมากกว่าเท่ากับ 5 สัปดาห์จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีการเจริญเติบโตผิดปกติน้อยกว่าโดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

Download data is not yet available.

References

พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ, กิตติ ต่อจรัส. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย: สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย.

Alias, H. Lattiff ZA, Zakaria SZS. Growth velocity in transfusion dependent prepubertal thalassemia patients: Results from a thalassemia center in Malaysia [Internet]. 2008 [cited 22 May 2022]; Available from: https://www.thaiscience.info/journals/Article/TMPH/10472680.pdf

Soegiharto NA and Meiyanti M. Factors associated to growth disorder in children with thalassemia major’, Global Medical and Health Communication (GMHC) [Internet]. 2021 [cited 22 May 2022]; Available from: 10.29313/gmhc.v9i2.7674

De Sanctis V, Soliman AT, Elsedfy H, Skordis N, Kattamis C, Angastiniotis M, et al. Growth and endocrine disorders in thalassemia: The international network on endocrine complications in thalassemia (I-CET) position statement and guidelines. Indian J Endocrinol Metab. 2013;17:8-18.

Growth Charts - Homepage (2019) Centers for Disease Control and Prevention. Available from: https://www.cdc.gov/growthcharts/

The WHO Child Growth Standards. [cited 23 Feb 2023]. Available from: https://www.who.int/tools/child-growth-standards

Pourhoseingholi M, Vahedi M and Rahimzadeh M. Sample size calculation in medical studies. Gastroenterol Hepatol Bed Bench. 2013;6:14–7.

Najafipour F, Aliasgarzadeh A, Aghamohamedzadeh N, Bahrami A, Mobasri M, Niafar M, et al. A cross-sectional study of metabolic and endocrine complications in beta thalassemia major. Ann Saudi Med. 2008;28:361–6.

Li CK, Luk CW, Ling SC, Yuen HL, Li CK, Shing MMK, et al. Morbidity and mortality patterns of thalassemia major patients in Hong Kong: retrospective study. Hong Kong Med J. 2002;8:255–60.

Pemde H, Jagdish Chandra J, Gupta D, Singh V, Sharma R, Dutta AK. Physical growth in children with transfusion-dependent thalassemia. Pediatric Health, Medicine and Therapeutics [Internet]. 2011 [cited 16 Jun 2022]; Available from: 10.2147/phmt.s15305

De Sanctis V, Katz M, Vullo C, Bagni B, Ughi M, Wonke B. Effect of different treatment regimens of linear growth and final height in beta thalassemia major. Clin Endocrinol. 1994;40:791–8.

Arcasoy A, Cavdar A, Cin S, Erten J, Babacan E, Gözdasoglu S, et al. Effects of zinc supplementation in linear growth in b-thalassemia (a new approach). Am J Hematol. 1987;24:127– 136. 13. George A, Bhaduri A, Sen S, Choudhry VP. Physical growth parameters in thalassemic children. Indian J Pediatr. 1997;64:861–71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29