รูปแบบการนอนหลับ การประเมินการนอนหลับ และการจัดการปัญหาการนอนหลับเบื้องต้นในเด็กและวัยรุ่น
คำสำคัญ:
การนอนหลับ , ปัญหาการนอน , คำถามคัดกรองด้านการนอนหลับ , สุขอนามัยการนอนหลับบทคัดย่อ
รูปแบบการนอนหลับ โรคการนอนหลับ และการดูแลเรื่องการนอนหลับในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นนั้นมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างชัดเจน มีความแตกต่างกันระหว่างช่วงวัยของเด็ก กุมารแพทย์ควรมีความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการนอนหลับในแต่ละช่วงวัยของเด็ก และสามารถให้คำแนะนำในการจัดการปัญหาการนอนหลับเบื้องต้นแก่ผู้ปกครองได้ การคัดกรองด้วยหลักของ BEARS ซึ่งพยัญชนะแต่ละตัวจะบ่งถึงพฤติกรรมการนอนหรือปัญหาการนอนหลับที่ควรสอบถาม เริ่มจาก B = ปัญหาการเข้านอน E = ภาวะง่วงนอนในตอนกลางวันอย่างมาก A = การตื่นตอนกลางคืน R = ความสม่ำเสมอในการเข้านอนและตื่นนอน รวมถึงระยะเวลาในการนอนหลับ และ S = ความผิดปกติของการหายใจในขณะหลับ โดยเน้นที่อาการนอนกรน และอาการหยุดหายใจในขณะหลับ สำหรับการจัดการปัญหาการนอนหลับเบื้องต้นจะอาศัยหลักของสุขอนามัยการนอนหลับในเด็กและวัยรุ่นเป็นสำคัญ อันประกอบไปด้วยการจัดกิจกรรมช่วงกลางวันให้ใกล้เคียงกันในแต่ละวัน เข้านอนและตื่นนอนในเวลาที่ใกล้เคียงกันในแต่ละวัน จัดกิจกรรมก่อนเข้านอนให้เหมาะสมและชัดเจน ใช้ห้องนอนและเตียงนอนสำหรับการนอนเท่านั้น และจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมกับการนอน
Downloads
References
Léger D, Debellemaniere E, Rabat A, Bayon V, Benchenane K, Chennaoui M. Slow-wave sleep: From the cell to the clinic. Sleep Med Rev. 2018;41:113-32.
Yokoba M, Hawes HG, Kieser TM, Katagiri M, Easton PA. Parasternal intercostal and diaphragm function during sleep. J Appl Physiol. 1985;121:59-65.
Carter KA, Hathaway NE, Lettieri CF. Common sleep disorders in children. Am Fam Physician. 2014;89:368-77.
McLaughlin Crabtree V, Williams NA. Normal sleep in children and adolescents. Child Adolesc Psychiatr Clin N Am. 2009;18:799-811.
Ohayon MM, Carskadon MA, Guilleminault C, Vitiello MV. Meta-analysis of quantitative sleep parameters from childhood to old age in healthy individuals: developing normative sleep values across the human lifespan. Sleep. 2004;27:1255-73.
Kiddoo DA. Nocturnal enuresis. CMAJ. 2012;184:908-11.
Paruthi S, Brooks LJ, D'Ambrosio C, Hall WA, Kotagal S, Lloyd RM, et al. Consensus statement of the American academy of sleep medicine on the recommended amount of sleep for healthy children: Methodology and discussion. J Clin Sleep Med. 2016;12:1549-61.
Owens JA, Dalzell V. Use of the ‘BEARS’ sleep screening tool in a pediatric residents’ continuity clinic: A pilot study. Sleep Med. 2005;6:63-9.
Jawed A, Ehrhardt C, Rye M. Handle with care: A narrative review of infant safe sleep practices across clinical guidelines and social media to reduce SIDS. Children (Basel). 2023;10:1365.
Bathory E, Tomopoulos S. Sleep regulation, physiology and development, sleep duration and patterns, and sleep hygiene in infants, toddlers, and preschool-age children. Curr Probl Pediatr Adolesc Health Care. 2017;47:29-42.
ชัยรัชต์ จันทร์ตรี, พรรณี ทับธานี, ธวัชชัย แคใหญ่. คู่มือการนอนหลับเพื่อสุขภาพที่ดี. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2563:1-38.
Mindell JA, Williamson AA. Benefits of a bedtime routine in young children: Sleep, development, and beyond. Sleep Med Rev. 2018;40:93-108.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.