ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดและพร่องวิตามินดีในผู้ป่วยเด็กพิการทางสมอง

ผู้แต่ง

  • ธัญญารัตน์ จงประเสิรฐ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ปิติ เพลินชัยวาณิช กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • นภัสสร สารรัตนะ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

ภาวะขาดวิตามินดี, ภาวะสมองพิการ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา:  ภาวะสมองพิการ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในประเทศไทย เป็นภาวะที่มีผลต่อการทำงานของร่างกายหลายระบบ โดยส่งผลให้เกิดความชุกที่เพิ่มขึ้นของภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยเด็กทั่วไป ซึ่งรวมไปถึงการขาดสารอาหารรองและวิตามิน เช่น วิตามินดี ที่มีส่วนสำคัญในสุขภาวะของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภาวะการขาดวิตามินดี ทำให้อัตราการติดเชื้อและอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาความชุกของภาวะการขาดวิตามินดี ในผู้ป่วยภาวะสมองพิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลในผู้ป่วยภาวะสมองพิการ อายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยและติดตามการรักษาที่คลินิกระบบประสาท ในช่วงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2566 เพื่อหาระดับวิตามินดีและปัจจัยที่มีส่วนในการทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินดี

ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 24 รายที่เข้าร่วมงานวิจัย โดยเป็นผู้ชาย 16 ราย ร้อยละ 66.7 และอีก 6 รายเป็นผู้หญิง ร้อยละ 33.3 พบว่ามีผู้ป่วย 18 รายที่มีภาวะขาดวิตามินดี ร้อยละ 75 โดยกลุ่มที่พร่องหรือขาดวิตามินดี พบในเพศชายและเด็กที่มีภาวะ stunting มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยที่มีความสำคัญทางนัยสถิติที่ทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินดี ได้แก่ โรคลมชัก (odds ratio 16.9, 95% CI 1.3-223.1, p value 0.03) และยากันชักกลุ่ม CYP 450 inducers (odds ratio 13.0, 95% CI 1.2-140.7, p value 0.04).

สรุป:จากการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะสมองพิการเป็นร้อยละ 75 และปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริม ได้แก่ โรคลมชัก และยากันชักกลุ่ม CYP 450 inducers

Downloads

Download data is not yet available.

References

Chueluecha C, Deeprasertdamrong W, Neekong R, Bamroongya N. Surveying a decade of cerebral palsy prevalence and characteristics at Thammasat University Hospital, Thailand. J Med Assoc Thai. 2020;103:379-86.

Early Detection of Cerebral Palsy | AACPDM [Internet]. American Academy for Cerebral Palsy and Developmental Medicine. [Cited 7 Feb 2024]. Available from: https://www.aacpdm.org/publications/care-pathways/early-detection-of-cerebral-palsy

Hariprasad P, Elizabeth K, Valamparampil M, Kalpana D, Anish T. Multiple nutritional deficiencies in cerebral palsy compounding physical and functional impairments. Indian Journal of Palliative Care. 2017;23:387.

Gunville C, Mourani P, Ginde A. The role of vitamin D in prevention and treatment of infection. Inflammation & Allergy-Drug Targets. 2013;12:239–45.

Manohar S, Gangadaran RP. Vitamin D status in children with cerebral palsy. International Journal of Contemporary Pediatrics 2017;4:615.

เอกฤทธิ์ พาณิชศิลปกิจ. (2564). ปริมาณสารอาหารหลักในอาหารจานเดียว.ใน ชนนิกานต์ วิสูตรานุกูล และ จรัสพงศ์ เอื้ออริยะพานิชกุล (บ.ก.), 3rd edition. Chula Pediatric Nutritional Handbook (พิมพ์ครั้งที่ 1). ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. หน้า 51-53

WHO Anthro Survey Analyser and other tools [Internet]. [Cited 7 Feb 2024]. Available from: https://www.who.int/tools/child-growth-standards/software

NutStatCal [Internet]. nutstatcal.kiddiary.in.th. [Cited 19 Jun 2024 ]. Available from: https://nutstatcal.kiddiary.in.th/

World Health Organization. The WHO Child Growth Standards [Internet]. [Cited 19 Jun 2024 ]. Available from: https://www.who.int/tools/child-growth-standards/standards

Chambers HF, Chambers RC. Introduction to the cerebral palsies. Springer eBooks. 2020:1:1–11.

Holick MF, Binkley NC, Bischoff-Ferrari HA, Gordon CM, Hanley DA, Heaney RP, et al. Evaluation, treatment, and prevention of vitamin D deficiency: an Endocrine Society clinical practice guideline. The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism. 2011;96:191130.

World Health Organization. Guideline on haemoglobin cutoffs to define anaemia in individuals and populations. World Health Organization; 2024.

Alsoda M, Ali O, Kamel M. Evaluation of vitamin D status in children with cerebral palsy. Journal of Medicine in Scientific Research. 2021;4:191–5.

Le Roy C, Barja S, Sepúlveda C, Guzmán ML, Olivarez M, Figueroa MJ, et al. Deficiencia de vitamina D y de hierro en niños y adolescentes con parálisis cerebral. Neurología. 2021;36:112–8.

Toopchizadeh V, Barzegar M, Masoumi S, Jahanjoo F. Prevalence of vitamin D deficiency and associated risk factors in cerebral palsy. A study in North-West of Iran. Iran J Child Neurol. 2018;12:25-32.

Akpınar P. Vitamin D status of children with cerebral palsy (Should vitamin D levels be checked in children with cerebral palsy?). Northern Clinics of Istanbul. 2018;5:341-7.

Jones G, Prosser DE, Kaufmann M. Cytochrome P450-mediated metabolism of vitamin D. Journal of Lipid Research. 2014;55:13–31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28