ลักษณะทางคลินิกและปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของอาการถอนยาในทารกจากมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนระหว่างการตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • ฐาปนี เกตุเกลี้ยง กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลโพนทอง

คำสำคัญ:

ทารก, เมทแอมเฟตามีน, อาการถอนยาเมทแอมเฟตามีน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การใช้สารเสพติดในหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในทารกและทารกมักมีอาการถอนยา ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออาการถอนยาที่เกิดขึ้นกับทารกโดยแบบประเมินภาวะถอนยาในทารกแรกเกิด Neonatal Abstinence Scoring System(NAS score)จะช่วยให้ผู้รักษาทราบถึงแนวทางการจัดการดูแลและอาจลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับทารก

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกและปัจจัยที่มีผลต่ออาการถอนยามาก NAS score ≥ 4 ในทารกที่คลอดจากมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลทำการคัดเลือกทารกที่ผลตรวจสารเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะของทารกให้ผลบวกในระหว่างปี พ.ศ. 2562-2566ใช้แบบบันทึกข้อมูลในการเก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก (logistic regression analysis)

ผลการศึกษา: มีทารกที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาครั้งนี้ทั้งสิ้น 49 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 83.7 มีทารกคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 59.2 และน้ำหนักเเรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 65.3 พบทารกกลุ่มที่มีอาการถอนยาน้อย NAS score น้อยกว่า 4 ร้อยละ 61.2 และทารกกลุ่มที่มีอาการถอนยามาก NAS score มากกว่าเท่ากับ 4 ร้อยละ 38.8 ระยะเวลานอนโรงพยาบาลกลุ่มถอนยามาก 4.1±1.1 วัน ปัจจัยที่มีผลต่ออาการถอนยามากได้แก่ อายุครรภ์ครบกำหนด ≥ 37 สัปดาห์ (OR 4.29, 95%CI 1.15-15.97; p value 0.030) และทารกที่ได้รับช่วยกู้ชีพหลังเกิด (OR 6.46, 95%CI 1.15-36.46; p value 0.035) และทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 2,500 กรัม (OR 14.08 , 95%CI 3.37-58.83; p value<0.001) เมื่อวิเคราะห์แบบ multivariate analysisพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการถอนยามากในทารกจากมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ น้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 2,500 กรัม (adjusted OR 8.96 , 95%CI 1.76-45.49; p value 0.008)

สรุป: ทารกที่เกิดจากมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนระหว่างตั้งครรภ์มีอาการถอนยาทุกราย พบหนึ่งในสามส่วนของทารกมีอาการถอนยามาก ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อวางแนวทางการดูแลทารกจากมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Thaithumyanon P, Limpongsanurak S, Praisuwanna P, Punnahitanon S. Impact of prenatal illicit drug exposure on the mother and infant. Chulalongkorn Medical Journal. 2004;48:235-45.

Techatraisak K, Udnan C, Chabbang K, Boriboonhirunsarn D, Piya-Anant M. Pregnancy outcomes in methamphetamine abuse mothers. Siriraj Medical Journal. 2007;59:290-3.

Torshizi M, Saadatjoo S, Farabi M. Prevalence of narcotic substance abuse and the maternal and fetal outcomes in pregnant women. Journal of Jahrom University of Medical Sciences. 2011;9:14–9.

Premchit S, Orungrote N, Prommas S, Smanchat B, Bhamarapravatana K, Suwannarurk K. Maternal and neonatal complications of methamphetamine use during pregnancy. Obstet Gynecol Int. 2021;2021:1-6.

Chaiverapundech J, Kanchanabat S. Prenatal methamphetamine exposure and neonatal outcomes. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine. 2016;60:53-64.

ชาวปรางค์ น. ผลกระทบต่อทารกจากมารดาที่ใช้สารแอมเฟตามีนระหว่างการตั้งครรภ์และปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของอาการถอนยาในทารก. วารสารเชียงรายเวชสาร. 2022;14(2):118-30.

Kocherlakota P. Neonatal abstinence syndrome. Pediatrics. 2014;134(2):e547-61.

Schep LJ, Slaughter RJ, Beasley DMG. The clinical toxicology of metamfetamine. Clin Toxicol (phila). 2010;48:675-94.

Thaithumyanon P, Limpongsanurak S, Praisuwanna P, Punnahitanon S. Perinatal effects of amphetamine and heroin use during pregnancy on the mother and infant. J med Assoc Thai. 2005;88:1506-13.

Lipsitz PJ. A proposed narcotic withdrawal score for use with newborn infants: a pragmatic evaluation of its efficacy. Clin Pediatrics. 1975;14:592-4.

Ladhani NN, Shah PS, Murphy KE, Knowledge synthesis group on determinants of preterm/LBW Births. Prenatal amphetamine exposure and birth outcomes: a systematic review and metaanalysis. Am J Obstet Gynecol. 2011;205:219. e1-7

Bayih WA, Belay DM, Ayalew MY, Tassew MA, Chanie ES, Feleke DG, et al. The effect of substance use during pregnancy on neonatal outcomes in Ethiopia: A systematic review and meta-analysis. Heliyon. 2021;7:e06740.

Robert R, Michael FG, Charles JL, Joshua AC,Thomas RM, Robert MS. Substance abuse in pregnancy. In Creasy and Resnik’s maternal-fetal medicine. 8th ed, Elsevier. Philadelphia. 2019; 1254-5.

ทิพย์อุษา จันทร์ทองศรี. ผลกระทบจากการเสพสารเมทแอมเฟตามีนของมารดาขณะตั้งครรภ์ต่อทารกในระยะแรกเกิด โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2567]. เข้าถึงจาก

https://skko.moph.go.th/dward/document_file/oa/research_file_name/20230717133205_976338236.pdf พัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพจังหวัดสกลนคร.2023;63

Campo J. Maternal and newborn inpatient stays with a substance use or use-related diagnosis [Internet]. Olympia, WA: Health Care Research Center, Washington State Office of Financial Management;2016.[cited4Apr2022].Availablefrom:https://ofm.wa.gov/sites/default/files/public/legacy/researchbriefs/2016/brief075.pdf

Wu M, Lagasse LL, Wouldes TA, Arria AM, Wilcox T, Derauf C, et al. Predictors of inadequate prenatal care in methamphetamine-using mothers in New Zealand and the United States. Matern Child Health J. 2013;17:566-75.

Thamkhantho M. Obstetric outcomes of amphetamine misapplication during pregnancy. J Med Assoc Thai. 2018;101:1680-5.

Wongkhankaew N, Puriakarathawong T, Kantasate P, Hongsriti P. อายุ มารดากับผลลัพธ์การ ตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลแพร่. Journal of the Phrae Hospital-วารสารโรงพยาบาลแพร่.2021;29:1-15.

O’Connor A, Harris E, Hamilton D, Fisher C, Sachmann M. Neonatal Abstinence Syndrome (NAS) and meth-amphetamine use: A review of Finnegan’s as an assessment tool in the women and newborn drug and alcohol service. Int J Nurs Health Care Res. 2019;6:2901-10.

Ostrea Jr EM, Chavez CJ, Strauss ME. A study of factors that influence the severity of neonatal narcotic withdrawal. Addict Dis. 1975;2:187-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28