ผลการศึกษาเปรียบเทียบค่าก๊าซในเลือดของการนำส่งหลอดเก็บเลือดคาปิลลารีจากผู้ป่วยเด็กในหลอดพลาสติกควบคุมอุณหภูมิผ่านระบบขนส่งท่อลมกับการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ ในโรงพยาบาลลำปาง

ผู้แต่ง

  • อนวัช บุปผาเจริญสุข กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำปาง
  • คัทลียา อินทะยศ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำปาง
  • คีตา อุทธโยธา ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง
  • ศุภมงคล หมั่นขีด ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง
  • นทีกานต์ วงค์ชัย ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง
  • วิริทธิ์พล ราศรี ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง

คำสำคัญ:

หลอดพลาสติกควบคุมอุณหภูมิ, ค่าก๊าซในเลือด, ระบบขนส่งท่อลม, การนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ , การศึกษาเชิงทดลอง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ปัจจุบันระบบขนส่งท่อลมถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาลเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งเอกสาร ยา และสิ่งส่งตรวจ แต่การตรวจวิเคราะห์ค่าก๊าซในเลือดในผู้ป่วยเด็กวิกฤตยังคงใช้การนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งใช้ระยะเวลานานและอาจไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังขาดข้อมูลการศึกษาเปรียบเทียบค่าก๊าซในเลือดของผู้ป่วยเด็กที่นำส่งผ่านระบบขนส่งท่อลม เปรียบเทียบกับการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบความแตกต่างของระยะเวลาการขนส่ง ผลการตรวจวิเคราะห์ค่าก๊าซในเลือด และค่าใช้จ่าย ระหว่างนวัตกรรมการนำส่งหลอดเก็บเลือดคาปิลลารีในหลอดพลาสติกควบคุมอุณหภูมิผ่านระบบขนส่งท่อลมเทียบกับการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลอง (experimental study) ในการเปรียบเทียบผลการตรวจวิเคราะห์ค่าก๊าซในเลือด ระยะเวลาการขนส่ง และการคำนวณต้นทุนต่อครั้งของการนำส่ง ระหว่างการส่งตรวจด้วยนวัตกรรมผ่านระบบขนส่งท่อลมเปรียบเทียบกับการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ โดยใช้ตัวอย่างเลือดจากประชากรเด็กที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป และมีความจำเป็นในการส่งตรวจวิเคราะห์ค่าก๊าซในเลือด โดยแต่ละตัวอย่างจะถูกนำส่งทั้งสองวิธีมีตัวอย่างเลือดเก็บจากหลอดเลือดแดง จำนวน 25 คู่ และ ตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำ จำนวน 36 คู่ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 ถึง วันที่ 5 ธันวาคม 2566   

ผลการศึกษา: ผลลัพธ์จากการส่งตรวจวิเคราะห์ค่าก๊าซในเลือดทั้งหมด 61 คู่ พบว่าระยะเวลาการนำส่งหลอดเก็บเลือดคาปิลลารีในหลอดพลาสติกควบคุมอุณหภูมิผ่านระบบขนส่งท่อลมใช้เวลา 61.6 ± 4.9 วินาที ในขณะที่ระยะเวลาการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ ใช้เวลา 148.2 ± 46.5 วินาที โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <0.001) การศึกษาผลการตรวจวิเคราะห์ค่าก๊าซในเลือดพบว่า ค่าก๊าซในเลือดจากหลอดเลือดแดง และค่าก๊าซในเลือดจากหลอดเลือดดำ ผ่านระบบขนส่งท่อลม เทียบกับการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ มีค่า pH, PO2, PCO2 และ HCOไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <0.001) ไม่พบการเกิด hemolysis, clotting และ air contamination ในระหว่างการขนส่ง และการขนส่งผ่านระบบขนส่งท่อลมเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ประมาณครึ่งหนึ่ง (ประมาณ 27.5 บาทต่อรอบ และประมาณ 50 บาทต่อรอบ ตามลำดับ)

สรุป: ค่าก๊าซในเลือดของการนำส่งหลอดเก็บเลือดคาปิลลารีจากผู้ป่วยเด็กในหลอดพลาสติกควบคุมอุณหภูมิผ่านระบบขนส่งท่อลมไม่แตกต่างจากวิธีนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ และค่าใช้จ่ายในการนำส่งผ่านระบบขนส่งท่อลมต่ำกว่าการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่

Downloads

Download data is not yet available.

References

Poznanski W, Smith F, Bodley F. Implementation of a pneumatic-tube system for transport of blood specimens. Am J Clin Pathol. 1978;70:291-5.

Carabini LM, Nouriel JE, Milian RD, Glogovsky ER, McCarthy RJ, Handler TG, et al. The clinical significance of patient specimen transport modality: Pneumatic tube system impact on blood gas analytes. Respir Care. 2016;61:1311-5.

Fernandes CM, Worster A, Eva K, Hill S, McCallum C. Pneumatic tube delivery system for blood samples reduces turnaround times without affecting sample quality. J Emerg Nurs. 2006;32:139-43.

Kapoula GV, Kontou PI, Bagos PG. The impact of pneumatic tube system on routine laboratory parameters: A systematic review and meta-analysis. Clin Chem Lab Med. 2017;55:1834-44.

รัตนบุญกาญจน์. ป. การประดิษฐ์อุปกรณ์ใส่ตัวอย่างเลือด blood gas สำหรับนำส่งทางท่อลม.2563:18-20.

Biswas CK, Ramos JM, Agroyannis B, Kerr DN. Blood gas analysis: Effect of air bubbles in syringe and delay in estimation. Br Med J (Clin Res Ed). 1982;284:923-7.

Johnson KJ, Cress GA, Connolly NW, Burmeister LF, Widness JA. Neonatal laboratory blood sampling: Comparison of results from arterial catheters with those from an automated capillary device. Neonatal Netw. 2000;19:27-34.

Cousineau J, Anctil S, Carceller A, Gonthier M, Delvin EE. Neonate capillary blood gas reference values. Clin Biochem. 2005;38:905-7.

Garcia LO, Speransa DMR, Rodrigues CB, Benites RM, García MTC, Sekine L, et al. Validation of blood components transport through a pneumatic tube system. Hematol Transfus Cell Ther. 2021;44:519-25.

Ellis G. An episode of increased hemolysis due to a defective pneumatic air tube delivery system. Clin Biochem. 2009;42:1265-9.

Evliyaoğlu O, Toprak G, Tekin A, Başarali MK, Kilinç C, Colpan L. Effect of pneumatic tube delivery system rate and distance on hemolysis of blood specimens. J Clin Lab Anal. 2012;26:66-9.

Kara H, Bayir A, Ak A, Degirmenci S, Akinci M, Agacayak A, et al. Hemolysis associated with pneumatic tube system transport for blood samples. Pak J Med Sci. 2014;30:50-8.

Slavík L, Úlehlová J, Bradáčová P, Chasáková K, Hluší A, Palová M, et al. The modern pneumatic tube system transports with reduced speed does not affect special coagulation tests. J Med Syst. 2020;44:142.

Subbarayan D, Choccalingam C, Lakshmi CKA. The effects of sample transport by pneumatic tube system on routine hematology and coagulation tests. Adv Hematol. 2018;2018:6940152.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28