การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเพื่อยกระดับการรักษาหายขาดผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

Main Article Content

ธรรณิการ์ ทองอาด
รุ่งนิรันดร์ สุขอร่าม
ประยุทธ สุดาทิพย์

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบ Action Research มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินผลการเพิ่มระดับความรู้และความเข้าใจของบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษาหายขาดผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 2) พัฒนาและประเมินผลกระบวนการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหายขาดตามแนวทางการรักษาหายขาดผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และ 3) พัฒนาและประเมินผลการเพิ่มความรู้ในการตรวจ G6PD เชิงปริมาณใช้ในการสนับสนุนการรักษาตามแนวทางการรักษาหายขาดผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน กลุ่มตัวอย่างคือ แพทย์ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทางห้องปฏิบัติการ นักวิชาการสาธารณสุข และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานมาลาเรีย ทำการศึกษาในพื้นที่ 6 จังหวัดไข้สูง ได้แก่ ตาก แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และจากโรงพยาบาลทั้งหมด 29 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง 111 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2566 ถึง พฤษภาคม 2567 จากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม 2) คู่มือสำหรับวิทยากรสำหรับการอบรมบุคลากรทางการแพทย์ 3) เครื่องมือตรวจวัดเอนไซม์ G6PD Biosensor วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างคะแนนก่อนและหลังอบรม
ผลการศึกษาสถานการณ์ปัญหา พบว่า ต้องดำเนินมาตราการลดการแพร่เชื้อโดยการรักษาโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์แบบหายขาดโดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย ชนิดไวแวกซ์แบบหายขาดในด้านความรู้ การติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และการตรวจเอนไซม์ G6PD เชิงปริมาณ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาและประเมินผลการเพิ่มความรู้ พัฒนาระบบการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ในกลุ่มตัวอย่าง ผลประเมินการพัฒนาการเพิ่มระดับความรู้และความเข้าใจของบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์พบว่า ก่อนเข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยพื้นฐานความรู้ที่ 10.26 คะแนน (SD±3.62) หลังการอบรมคะแนนเฉลี่ยพื้นฐานความรู้เพิ่มขึ้นเป็น 16.18 คะแนน (SD±2.67) โดยผลการทดสอบความแตกต่างคะแนนก่อนและหลังการอบรมมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) ผลประเมินการพัฒนาระบบการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหายขาด จากฐานข้อมูล Thai Vigibase ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2567 พบว่า ไม่มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาทาฟีโนควิน และยาไพรมาควิน 7 วัน และสำหรับผลประเมินการพัฒนาการเพิ่มความรู้ในการตรวจ G6PD เชิงปริมาณหลังการอบรมพบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถผ่านการทดสอบปฏิบัติการตรวจ G6PD เชิงปริมาณพร้อมการทดสอบการแปลผลโดยมีคะแนนเฉลี่ย 8.87 คะแนนจาก 10 คะแนน (SD±0.8) การประเมินวัตถุประสงค์ความรู้ในการตรวจ G6PD เชิงปริมาณ ได้ตรวจทั้งหมด 1,610 ราย พบผู้ป่วยมีภาวะเอนไซม์ปกติ ร้อยละ 69.07 มีภาวะเอนไซม์พร่องบางส่วน ร้อยละ 20.50 และมีภาวะพร่องเอนไซม์ ร้อยละ 10.43
การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การอบรมสามารถพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ตามแนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง ส่งผลดีต่อคุณภาพการรักษาและลดอัตราการเสียชีวิตจากอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารักษาโรคไข้มาลาเรีย ซึ่งในปี 2567 พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้มาลาเรียจำนวน 2 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2567) ลดลงจากปี 2566 (4 ราย)(4) นำไปสู่การพัฒนาระบบการรักษามาลาเรียชนิดไวแวกซ์ขั้นหายขาดที่มีประสิทธิภาพและเพื่อบรรลุเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขในการกำจัดโรคไข้มาลาเรียภายในปี 2569 โดยจะมีการติดตามผลของการพัฒนาศักยภาพต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
ทองอาด ธ, สุขอร่าม ร, สุดาทิพย์ ป. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเพื่อยกระดับการรักษาหายขาดผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียชนิดไวแวกซ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน. J Raj Pracha Samasai Institute [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 29 เมษายน 2025];8(1):51-66. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/1831
บท
บทความวิชาการ (Academic Articles)

References

Division of Vector-Borne Diseases (TH). Operational Guidelines for the Artemisinin-Resistance Malaria Elimination Project in the Greater Mekong Subregion, 2024–2026 (Regional Artemisinin-resistance Initiative 4 Elimination (RAI4E) and the regional Integrated Health Response and RSSH Package (IHRRP)). Bangkok: Division of Vector-Borne Diseases; 2024. 13-14 p. (in Thai)

Division of Vector-Borne Diseases (TH). Operational Guidelines for the Artemisinin-Resistance Malaria Elimination Project in the Greater Mekong Subregion, Bangkok: Aksorn Graphic & Design; 2019. 13-14 p. (in Thai)

Division of Vector-Borne Diseases (TH). Clinical guidelines for the treatment of malaria patients in Thailand, 2021. Bangkok: Aksorn Graphic & Design; 2021. 26,49 p. (in Thai)

Department of Disease Control (TH). Thailand Malaria Elimination Programme. [Internet]. Nonthaburi. Department of Disease Control; 2012 [cited 2024 August 22]. Available from: http://malaria.ddc.moph.go.th/malariaR10/index_newversion.php.

Department of Disease Control (TH), Division of Vector-Borne Diseases, Malaria elimination strategy for Thailand, 2017-2026. Bangkok: Aksorn Graphic & Design; 2016. 11-17 p. (in Thai)

Drug Safety Monitoring Center, Strategy and Planning Division, Food and Drug Administration (TH). (2024). Guidelines for the monitoring of tafenoquine antimalarial drug safety in Thailand for medical personnel. Bangkok: Aksorn Graphic & Design; 2024. 19-33 p. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Division of Vector-Borne Diseases. Annual Report (2005-2017). Nonthaburi.Department of Disease Control; 2024 [cited 2024 December 19]. Available from: https://drive.google.com/file/d/1aKlmtt2rY5---U-versyFZtHqMKlAgsb/view.

Department of Disease Control (TH), Division of Vector-Borne Diseases. Guidelines for G6PD deficiency screening in malaria patients and quality control. Bangkok. Scan-Media Corporation; 2021. (in Thai)

Jarupreedephadand K, Wannagatesiri T. Changing of Pre-service Teachers’ Belief about the Importanceof Teaching Science: Transformative Learning Theory. Journal of MCU Buddhapanya Review. 2024;9(4):278-291. Available from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/270249/185224

Adhikari B, Tripura R, Dysoley L, Callery JJ, Peto TJ, Heng C, et al. Glucose 6 Phosphate Dehydrogenase (G6PD) quantitation using biosensors at the point of first contact: a mixed method study in Cambodia. Malaria Journal. 2022;21(1):282.

Chu CS, Hwang J. tafenoquine: a toxicity overview. Expert opinion on drug safety. 2021;20(3):349-362.

Rajvanshi H, Nisar S, Bharti PK, Jayswar H, Mishra AK, Sharma RK, et al. Significance of training, monitoring and assessment of malaria workers in achieving malaria elimination goal of Malaria Elimination Demonstration Project. Malaria journal. 2021;20:27 doi. 10.1186/s12936-020-03534-9

Soar J, Böttiger BW, Carli P, Couper K, Deakin CD, Djärv T, et al. European resuscitation council guidelines 2021: adult advanced life support. Resuscitation. 2021;161:115-151. doi: 10.1016/j.resuscitation.2021.02.010.

World Health Organization. World malaria report 2023. Geneva. World Health Organization; 2023. 26-29 p. Available from https://iris.who.int/handle/10665/374472.

Sudathip P, Khantikul N, Saejang A, Duparc S, Daumerie PG, Lynch C, et al. Prospective observational study to assess the feasibility of appropriate Plasmodium vivax radical cure with tafenoquine or primaquine after quantitative G6PD testing in Thailand. ASTMH 2024 Annual Meeting; 2024 November 13-17; New Orleans Ernest N. Morial Convention Center New Orleans. Louisiana, United States of America; 2024.

Fukuda MM, Krudsood S, Mohamed K, Green JA, Warrasak S, Noedl H, et al. A Randomized, Double-Blind, Active-Control Trial to Evaluate the Efficacy and Safety of a Three-Day Course of tafenoquine Monotherapy for the Treatment of P.vivax Malaria. PLoS One 2017;12(11):e0187376. doi: 10.1371/journal.pone.0187376.

Sudathip P, Saejeng A, Khantikul N, Thongrad T, Kitchakarn S, Sugaram R, et al. Progress and challenges of integrated drug efficacy surveillance for uncomplicated malaria in Thailand. Malaria Journal. 2021;20:261 doi. 10.1186/s12936-021-03791-2

Baird JK, Rieckmann KH. Can primaquine therapy for vivax malaria be improved?. Trends in Parasitology. 2003;19(3)115-120. doi: 10.1016/s1471-4922(03)00005-9.

Bloom B. Bloom’s Taxonomy of Learning [Internet]. New York. 1956 [cited 2024 August 22]; 15 p. Available from: http://www.nwlink.com/~donclark/hrd/bloom.html

Galindo-Domínguez H, Bezanilla, MJ. (2021). Promoting time management and self-efficacy through digital competence in university students: A mediational model. Contemporary Educational Technology, 2021;13(2):294 Available from: https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED612157.pdf

Gagne RM. Learning Theory, Educational Media, and Individualized Instruction. New York; Holt, Rinehart and Winston. 1970. Available from: https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/016146817607700503