ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการระบาดของโรคหิดในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดตรัง

Main Article Content

วรพล เวชชาภินันท์
ภคมน ดำรงคณภัทร์
ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์

บทคัดย่อ

สภาพแวดล้อมที่แออัดและสุขอนามัยของผู้ป่วย ส่งผลต่อการระบาดของโรคหิดซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญโดยเฉพาะบริบทเรือนจำ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการอยู่รวมกันของคนเป็นจำนวนมากและมีการใช้สิ่งของร่วมกัน การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการระบาดของโรคหิดในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดตรัง
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดตรังทุกคนที่ตรวจรักษาทางไกลด้านโรคผิวหนังระหว่างเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2566 โดยทบทวนเวชระเบียน สัมภาษณ์ และตรวจคัดกรองโรคหิดและปัจจัยเสี่ยง โดยพยาบาลวิชาชีพ และตรวจวินิจฉัยโรคหิดด้วยการส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการด้วยการขูดผิวหนังผู้ป่วยบริเวณที่มีรอยโรค เพื่อตรวจหาตัวหิดด้วยกล้องจุลทรรศน์ ตลอดจนสำรวจสภาพแวดล้อมในเรือนจำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้ Chi-square Test และ Fisher’s exact Test เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดโรคหิดที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา: ผู้ต้องขังที่ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 272 ราย เป็นเพศชาย 262 คน (96.7%) มีอายุเฉลี่ย 37.6 (±10.75) ปี กว่าครึ่งอาศัยในแดน 1 (52.2%) พบว่าเป็นโรคหิด 156 ราย (57.4%) อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ คันและผื่นตุ่มแดง (52.6%) รองลงมามีอาการคันเวลากลางคืนและผื่นตุ่มแดง (26.9%) รอยโรคที่พบมากที่สุดคือ บริเวณง่ามนิ้วมือ (47.4%) รองลงมาคือ บริเวณอวัยวะเพศ (39.7%) พฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญคือ การสัมผัสและใช้เสื้อผ้าร่วมกับบุคคลที่เป็นโรคหิด (63.5%) รองลงมาคือ นอนข้างผู้ป่วยโรคหิด (26.1%) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพื่อหาโอกาสการเกิดโรคหิดของผู้ต้องขังในเรือนจำ พบว่า การสัมผัสและใช้เสื้อผ้าร่วมกับผู้ป่วยโรคหิดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเกิดโรคหิด (COR = 1.58, 95% CI: 1.10 - 2.27) มีประวัตินอนข้างผู้ป่วยโรคหิดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเกิดโรคหิด (COR = 1.36, 95% CI: 1.14 - 1.62) ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในเรือนจำน้อยกว่า 12 เดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหิด (COR = 0.98 95%CI 0.94 - 1.02) ผลการสำรวจสภาพแวดล้อมในเรือนจำ พบว่า มีความแออัดในห้องนอนมีพื้นที่เฉลี่ยเพียง 1.2 ตารางเมตรต่อคน  และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงน้ำสะอาดเพื่อทำความสะอาดร่างกาย

Article Details

How to Cite
1.
เวชชาภินันท์ ว, ดำรงคณภัทร์ ภ, ดิษสุวรรณ์ ธ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการระบาดของโรคหิดในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดตรัง . J Raj Pracha Samasai Institute [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 29 เมษายน 2025];8(1):29-37. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/2232
บท
การสอบสวนโรค (Outbreak Investigation)

References

Discharoen P, Phumthong J, Boonman S. Investigation of scabies outbreak in Samanera Wat Nongkhunchat, Nong Suang Subdistrict, Nong Chang District, Uthai Thani Province [Internet]. Uthai Thani. 2008 [cited 2024 Aug 10];4:1-10. Available from: http://www.epiduthai.com (in Thai)

Ministry of Public Health (TH), Department of Disease Control. Department of Corrections, Ministry of Justice (TH). Guidelines for Surveillance, Screening and Investigations Important Diseases and Health Hazards in Prisons. 1st ed. Bangkok: Aksorn Graphic & Design; 2020. 1-88 p. (in Thai)

Singalavanija S, Nakhakes A, Khamphirphaph K, Wisutseriwong W, Asawanonda P, Bunyaratavej S. Clinical practice guideline for Scabies [Internet]. Bangkok. Dermatological Society of Thailand; 2011[cited 2024 Aug 10]; 107-111 p. Available from: https://www.dst.or.th/files_news/008-Guideline_Scabies_2011.pdf (in Thai)

Division of Infectious Disease Epidemiology; Bureau for Public Health West Virginia. Guidelines for Scabies Outbreaks in Congregate Settings (Hospitals, Long-Term Care Facility, Prisons, Dormitories, Shelters, Etc.). West Virginia. Office of Epidemiology&Prevention Services; 2024 [cited 2024 August 10]; 1-1 p. Available from: https://oeps.wv.gov/aboutus/Pages/about_dide.aspx

Micali G, Lacarrubba F, Verzi AE, Chosidow O, Schwartz RA. Scabies: advances in noninvasive diagnosis. PLoS Negl Trop Dis. 2016;10(6):e0004691.

Jangiam W, Puttaruk O, Langlarlertsakul M. Scabies outbreak in prisoners, Phuket provincial prison, 1 Jan - 2 June 2016. Journal of the office of DPC7 Khon Kaen. 26(2)14-23. (in Thai)

Suwandhi P, Dharmarajan TS. Scabies in the nursing home. Curr Infect Dis Rep. 2015;17(1):453-9