การใช้กรอบการกำจัดโรคเรื้อนขององค์การอนามัยโลกจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยาโรคเรื้อนของประเทศไทย

Main Article Content

ธีระศักดิ์ หุ้นชัยภูมิ
ศิรามาศ รอดจันทร์
ชุติวัลย์ พลเดช

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่และการกระจายของโรค โดยจำแนกพื้นที่ระดับอำเภอของประเทศไทย จากการใช้ข้อมูลระหว่างปี 2543 - 2566 ตามกรอบการกำจัดโรคเรื้อนขององค์การอนามัยโลก ซึ่งให้ความสำคัญกับการแพร่เชื้อโรคเรื้อนที่เกิดขึ้น และความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ทั้งนี้เพื่ออธิบายการกระจายของโรคเรื้อน และผลการจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยาโรคเรื้อน แสดงด้วยแผนที่พร้อมทั้งเปรียบเทียบความสอดคล้องกับการใช้เกณฑ์ปัจจุบันสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าสถิติ Cohen’s Kappa (K) ประเมินความสอดคล้องการจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ฯ กับเกณฑ์ปัจจุบัน
ผลการวิเคราะห์ 928 อำเภอทั่วประเทศ เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำเร็จในการกำจัดโรคเรื้อนในสองทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงปี 2566 พบว่า ประเทศไทยมีอำเภอที่ยังดำเนินการอยู่ในระยะที่ 1 ระยะก่อนหยุดการแพร่กระจายเชื้อจำนวน 7 อำเภอ ระยะที่ 2 ระยะหยุดการแพร่กระจายเชื้อจนถึงระยะกำจัดโรคเรื้อนจำนวน 62 อำเภอ และสามารถบรรลุการกำจัดโรคเรื้อนสำเร็จ คือ อยู่ในระยะที่ 3 ระยะเฝ้าระวังหลังการกำจัดโรคเรื้อนจำนวน 241 อำเภอ และมีสถานะไม่ใช่โรคประจำถิ่นจำนวน 618 อำเภอ การเปรียบเทียบผลการจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ฯ ด้วยเกณฑ์ที่ต่างกัน 2 วิธีดังกล่าว โดยกำหนดให้อำเภอที่อยู่ในระยะที่ 1 และ 2 เป็นอำเภอข้อบ่งชี้ฯ ระหว่างปี 2566 - 2568 พบว่า การจำแนกเป็นอำเภอข้อบ่งชี้ฯ มากกว่าเกณฑ์ปัจจุบัน และพบว่า ให้ผลที่สอดคล้องตรงกันร้อยละ 91, 93 และ 94 ตามลำดับ โดยมีค่าความสอดคล้องระดับปานกลาง Cohen’s Kappa 0.481, 0.498 และ 0.527 ตามลำดับ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ชี้ให้เห็นถึงการกระจุกของโรคในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของอำเภอที่ยังไม่สามารถกำจัดโรคเรื้อนได้สำเร็จ โดยอำเภอเหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสในภาคใต้ การศึกษานี้จึงแนะนำให้สร้างเสริมความเข้มแข็งการเฝ้าระวังและมาตรการควบคุมโรคเรื้อน เพื่อจัดการกับพื้นที่ที่มีปัญหาแพร่เชื้อของโรคเรื้อนอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการทั้ง 2 กลยุทธ์ ได้แก่ การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เชิงรับผ่านการสร้างความรู้และความตระหนักโรคเรื้อนในชุมชน และการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เชิงรุกผ่านการตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรคเรื้อน ดังนั้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะเริ่มแรก
เป็นสิ่งสำคัญในการเร่งรัดการกำจัดโรคเรื้อนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง
การนำกรอบการกำจัดโรคเรื้อนขององค์การอนามัยโลกมาใช้ในการจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ฯ เน้นย้ำความสำคัญในการนำวิธีการมาตรฐานมาใช้ และทำให้ผู้จัดการโครงการควบคุมโรคเรื้อนระดับประเทศสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามความก้าวหน้า ระบุพื้นที่ที่มีภาระโรคสูงได้อย่างแม่นยำและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งนี้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญโรคเรื้อนและผู้เกี่ยวข้องร่วมกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานด้วย เพื่อให้การกำจัดโรคเรื้อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน แนวทางบูรณาการนี้จะส่งเสริมให้ประเทศไทยบรรลุการกำจัดโรคเรื้อนตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกในเวลาที่เหมาะสมและช่วยให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาในอำเภอที่มีการระบาดของโรคเรื้อนสามารถทำได้ทันท่วงทีและมีหลักฐานสนับสนุน

Article Details

How to Cite
1.
หุ้นชัยภูมิ ธ, รอดจันทร์ ศ, พลเดช ช. การใช้กรอบการกำจัดโรคเรื้อนขององค์การอนามัยโลกจำแนกอำเภอข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยาโรคเรื้อนของประเทศไทย. J Raj Pracha Samasai Institute [อินเทอร์เน็ต]. 25 เมษายน 2025 [อ้างถึง 28 เมษายน 2025];9(1):64-77. available at: https://he04.tci-thaijo.org/index.php/rpsi/article/view/2502
บท
บทความวิชาการ (Academic Articles)

References

Department of Disease Control (TH), Raj Pracha Samasai Institute. Guideline for the diagnosis and treatment of leprosy. Nakhon Pathom: The Printing House of the National Office of Buddhism; 2010. 1-154 p. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Raj Pracha Samasai Institute. Leprosy Situation [Internet]. Nonthaburi: Raj Pracha Samasai Institute; 2024 [cited 2024 Apr 1]. Available from: http://rajpracha.ddc.moph.go.th/site/satus_lep.html (in Thai)

Chua-intra B. Effectiveness of accelerating strategy for new case findings in districts with epidemiological indications and impact on leprosy-free Thailand [Internet]. Nonthaburi. Raj Pracha Samasai Institute; 2566 [cited 2024 Jan 1]. 26 p. Available from: http://rajpracha.ddc.moph.go.th/site/documents/research/Research67.pdf (in Thai)

World Health Organization. Interruption of transmission and elimination of leprosy disease -Technical guidance [Internet]. New Delhi. WHO South-East Asia; 2023 [cited 2024 Jan 1]. 81 p. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789290210467

World Health Organization. Leprosy elimination monitoring tool [Internet]. New Delhi. WHO South-East Asia; 2023 [cited 2024 Jan 1]. 16 p. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789290210474

Department of Disease Control (TH), Raj Pracha Samasai Institute. List of Target Areas for New Case Finding of Leprosy [Internet]. Bangkok. 2024 [cited 2024 Apr 1]. Available from: http://rajpracha.ddc.moph.go.th/site/area.html (in Thai)

Jirawatkul A. Measure of Agreement for Categorical Data by Kappa. Journal of Health Science of Thailand [Internet]. 2009 [cited 2024 Jan 1];18(5):641-2. Available from: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/1795 (in Thai)

Sermrittirong S, Thanyakittiku P. Evaluation of the effectiveness of leprosy elimination program under the 11th ed. National Health Development Plan 2012-2016. J Off DPC 7 Khon Kaen [Internet]. 2018 [cited 2024 Aug. 1];25(3):109-20. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/166771 (in Thai)

Taechatrisa C. Epidemiology of leprosy in Thailand after successful elimination of leprosy as a public health problem from 1994-2016. Dis Control J [Internet]. 2018 [cited 2024 Aug. 1];44(3): 325-36. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/148054 (in Thai)