การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูงและมีภาวะแทรกซ้อนทางไต: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิพย์ อรรถสุข โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร

คำสำคัญ:

เบาหวานชนิดที่ 2, ความดันโลหิตสูง, ภาวะโรคไตจากเบาหวาน, ภาวะไขมันในเลือดสูง

บทคัดย่อ

การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2  ร่วมกับความดันโลหิตสูง ภาวะโรคไตจากเบาหวาน และภาวะไขมันในเลือดสูง  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมญาติในครอบครัวของผู้ป่วยเบาหวาน ในการสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานในการปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม การคัดเลือกกรณีศึกษาผู้ศึกษาได้คัดเลือกผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง  ซึ่งเลือกในกลุ่มสีแดง (ระดับความดันโลหิต180/110 มิลลิเมตรปรอท,HbA1C≥8) และมีภาวะโรคไตจากเบาหวาน และภาวะไขมันในเลือดสูง จำนวน 1 ราย ทำการศึกษาวางแผนการพยาบาลโดยยึดกระบวนการ พยาบาล 5 ขั้นตอน คือ 1.การประเมินภาวะสุขภาพ  2.การวินิจฉัยทางการพยาบาล 3.วางแผนการพยาบาล 4. ปฏิบัติการพยาบาล 5.ติดตามและประเมินผล

ผลการศึกษา ผู้ศึกษาขอเสนอรายกรณี เป็นผู้ป่วยหญิงไทยวัย 48 ปี ได้รับการวินิจฉัย Diabetes Mellitus Type II with Hypertension with Dyslipidemia with Diabetic nephropathy จากการซักประวัติ มาพบแพทย์และเจาะเลือดตามนัดมีอาการปวดศีรษะ มึนงงศีรษะ เป็นมา 1 วัน รับไว้ในความดูแล : ระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 – 26ตุลาคม 2566 ณ คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร รวมระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล104 วัน จากการประเมินข้อมูลของผู้ป่วยตามแบบประเมินสุขภาพแบบของกอร์ดอน ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลดังนี้  1) เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากภาวะความดันโลหิตสูง เนื่องจากขาดความรู้ในการจัดการกับ โรคความดันโลหิตสูง 2) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากการ ควบคุมระดับน้ำตาลไม่มีประสิทธิภาพ 3) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะของเสียคั่งในร่างกายเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง 4) เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด(กล้ามเนื้อหัวใจตาย) จากไขมันในเลือดสูง 5) เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า เนื่องจากมีความเสื่อมของระบบประสาทส่วนปลาย จากพยาธิสภาพของโรคเบาหวาน 6) ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวการณ์เจ็บป่วย

References

กรมควบคุมโรค. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี. กรุงเทพฯ :บริษัท อิโมชั้น อาร์ต จำกัด.

สมาคมโรคไตแห่งประทศไทย.(2556). กลเม็ดเคล็ดลับทำอย่างไรไตไม่วาย. กรุงเทพฯ : บริษัทศรีเมืองการพิมพ์จำกัด.

โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร . (2557). คู่มือแนวทางการปฏิบัติงานการควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง.ชัยนาท : โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร.

ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์. (2565). แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward).กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.

นงณภัทร รุ่งเนย.(2560).การประเมินสุขภาพแบบองค์รวม. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

นวพร วุฒิธรรม. (2562). บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (2564). กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs)โรคที่เกิดจากพฤติกรรม.สืบค้นเมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2566.สืบค้นจาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may- 2016/ncds-non-communicable-diseases-symptoms-prevention

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ : บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่ : ทริค ธิงค์.

Glasgow, R. E., Funnell, M. M., Bonomi A. E., Davis, C., Beckham V., Wanger, E.., (2002).5 A’s Behavior Change Model Adapted for Self-Management Support Improvement.Retrieved from file:///C:/Users/acer/Downloads/5%20As%20(4).pdf

Numsang, P., Oumtanee, A, Kurat, S., Sananok, R., Kraichan, S., & Sarapoke P. (2023). “Failure to control blood sugar” experiences of persons with type 2 diabetes mellitus. International Journal of Nursing Sciences 2023, 10 (4), 527-532.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย