การพยาบาลผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะแทรกซ้อนเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพอง บริเวณหลอดอาหาร : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ประทุม สัทธิง

คำสำคัญ:

โรคตับแข็ง, หลอดเลือดดำโป่งพองบริเวณหลอดอาหาร

บทคัดย่อ

โรคตับแข็งเป็นโรคตับระยะสุดท้ายของโรคตับหลายชนิดโดยการดำเนินโรคเกิดจากการอักเสบเรื้อรังที่เรียกว่า โรคตับเรื้อรัง (Chronic live disease) เข้าสู่โรคตับแข็งในระยะเริ่มต้นจนถึงโรคตับแข็งระยะสุดท้าย  (End–stage liver disease) โดยสาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบแบบเรื้อรัง โรคตับคั่งไขมัน หรือกลุ่มโรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตัวเอง ทั้งนี้ลักษณะทางกายวิภาคที่จำเพาะในโรคตับแข็งได้แก่ การสร้างพังผืดในตับที่มากขึ้นจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของแรงดันเลือดในระบบหลอดเลือดดำพอร์ทัลจากการที่เลือดไหลเวียนเข้าตับลดลงหรือเกิดการทำงานที่ถดถอยลงของตับจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ได้แก่ ภาวะเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพองบริเวณหลอดอาหาร (Esophageal varices) โรคสมองที่มีเหตุจากโรคตับ ท้องมาน มะเร็งตับ เป็นต้น

 จากกรณีศึกษาพบว่าผู้ป่วยรายนี้มาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญคือ อาเจียนเป็นเลือดสดและถ่ายอุจจาระสีแดงปนดำ ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ไม่มีประวัติดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่เคยมีประวัติเป็นตับแข็งมาก่อน ระยะแรกแพทย์รักษาแบบภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน และให้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อดูอาการ ผู้ป่วยมีการสูญเสียเลือดปริมาณมาก ตรวจค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงทำให้รู้ว่าผู้ป่วยมีภาวะซีด Hemoglobin = 7.7 g/dl  Hematocrit = 23.9 %    แพทย์จึงให้การรักษาโดยการให้เลือด สารน้ำทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูความผิดปกติของหัวใจ บันทึกปริมาณปัสสาวะหรือสารน้ำเข้าและออก เจาะค่าความเข้มข้นเลือดทุก 6 ชั่วโมง และปรึกษาแผนกศัลยกรรมเพื่อทำการส่องกล้องทางเดินอาหาร (EGD : Esophagogastroduodenoscopy) หลังทำการส่องกล้องพบว่าบริเวณหลอดอาหารมีจุดเลือดออกจำนวนมาก (Multiple esophageal varices with probable cherry red   spot) จึงให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยรายนี้มีภาวะแทรกซ้อนเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพองบริเวณหลอดอาหาร และให้การรักษาโดยการผูกหลอดเลือดขอดบริเวณหลอดอาหาร (EVL : Esophageal variceal band ligation)

 จากการรักษาพยาบาลที่ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมทำให้ผู้ป่วยรายนี้กลับบ้านได้อย่างปลอดภัย และนัดมาตรวจติดตามอาการที่แผนกผู้ป่วยนอกเป็นระยะ พบว่าผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี และได้นัดมารับยารักษาโรคไวรัสตับซี และต้องเฝ้าระวังการกลับเป็นซ้ำของภาวะเลือดออกจากหลอดเลือดดำโป่งพองที่หลอดอาหาร

 

References

ญานิศา ดวงเดือน.(2562). บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะแทรกซ้อน.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 12(2), 51-61.

นภชนก รักษาเคน.(2562).การดูแลผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น : บทบาทของพยาบาลในการป้องกันเลือดออกและเลือดออกซ้ำ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(3),13-19.

นิษา เรืองกิจอุดม และวาทินี เธียรสุคนธ์. (2557). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคเส้นเลือดโป่งพองบริเวณหลอดอาหารที่มารับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นโดยวิธีรัดยาง. งานการพยาบาลผ่าตัด ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2556). โรคของตับ ถุงน้ำดี ท่อน้ำดีและตับอ่อน. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์สุขภาพ.

วิภารัตน์ นาวารัตน์ , วิไลวรรณ เพิ่มศิลป์ , อัจฉรา บุญกาญจน์ และสายสัมพันธ์ บุญทรัพย์. ( 2559 ). NursingDiagnosis and Caring in Medicine. พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพมหานคร: นำอักษรการพิมพ์.

สมาคมแพทย์ส่องกล้องทางเดินอาหารไทย.( 2557 ) .แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในประเทศไทย. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566 จาก https:// thaitage.org/source/content-file/content-file-id-6.pdf

เสริมทรง จันทร์เพ็ญ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะแทรกซ้อน, สืบค้นเมื่อ2พฤศจิกายน 2566.จาก https://www. srtu.moph.go.th/region11 journal/document/Y29N1/20.PDF

Orem-eslf-care-theory. Retrieved 18 june 2020 from http.// nurse lab.com/dorathea-orem self-care-theory

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย