ประสิทธิผลของโปรแกรม Dungmun Stroke Model ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงมัน

ผู้แต่ง

  • วันดี สาทถาพร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงมัน

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ป้องกัน, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรม Dungmun Stroke Model ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงมัน กลุ่มตัวอย่างคือ  กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 54  คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง  จำนวน 23  คน รวม 77 คน และร่วมกับมีภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่าง คือ รอบเอวเกิน สูบบุหรี่ Cholesterol  ในเลือดมากกว่า 240 mg/dl ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เลือกแบบเจาะจง  (Purposive)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง  แบบประเมินเกี่ยวกับการดูแลตนเอง ดำเนินการวิจัยระหว่าง1 ต.ค.65-10 มิ.ย.2566 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test

 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองค่าเฉลี่ย 89.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.10 หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองค่าเฉลี่ย 94.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.30 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองหลังเข้าร่วมโปรแกรม Dungmun Stroke Model มีค่าเพิ่มขึ้นโดยมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองที่ลดลง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. (2560). สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ.2560. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข.

นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2544). โรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

ณฐกร นิลเนตร. (2562). ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 51-57.

โรงพยาบาลบรบือ. (2564). รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. มหาสารคาม : โรงพยาบาลบรบือ.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดงมัน. (2564). รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564. มหาสารคาม : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดงมัน.

วรกร วิชัยโย,เพ็ญศิริ จงสมัคร,สิริพร ชัยทอง,ศิริษา โคตรบุดดา. (2564). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์, 14(2), 25-35.

สถาบันประสาทวิทยา. (2556). คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) สำหรับประชาชน. นนทบุรี :กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สมาคมโรคหลอดเลือดสมองแห่งประเทศไทย. (2550). วันโรคหลอด- เลือดสมองโลก (Stroke Awareness Day). กรุงเทพมหานคร: สถาบันประสาทวิทยา.

สุวรรณา หล่อโลหการ,ประพรศรี นรินทร์รักษ์,รัชนีกร ถิรตันตยาภรณ์. (2564). ประสิทธิผลโปรแกรมการรับรู้และป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 5 ฐานเพื่อชีวิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(6), 1091-1100.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2552). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ : 3 self ด้วยหลัก promise model. สถาบันพฤติกรรมสุขภาพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย