ระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 โรงพยาบาลสนามอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ระบบบริการ, ผู้ป่วยไวรัสโคโรนา 2019, โรงพยาบาลสนามบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 โรงพยาบาลสนามอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการพัฒนาระบบบริการร่วมกันโดยทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ตามแนวคิด 6 เสาหลักด้านสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ระยะเวลาวิจัย เดือน มิถุนายน 2564 – พฤษภาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม แบบประเมินการเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลสนาม แบบประเมินความพึงพอใจ โปรแกรมรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง ประเมินผลการพัฒนาระบบจากผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่รักษาใน รพ.สนาม จำนวน 660 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาระบบบริการที่พัฒนาขึ้นฯ ประกอบด้วย 1) การจัดระบบสนับสนุนการจัดบริการดูแลรักษาโดยขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการบูรณาการร่วมระหว่างรพ.และภาคีเครือข่ายชุมชน มีการบริหารจัดการสถานที่ตามมาตรฐานและหลักควบคุมป้องกันการติดเชื้อ จัดระบบสนับสนุนทรัพยากรและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ จัดทำคู่มือการปฺฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลสนาม 2) การจัดการระบบการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยมี Case Management และ Project Manager การจัดทำ CPG ตามระดับความรุนแรง จัดระบบการดูแลตั้งแต่รับผู้ป่วย,การรักษา ติดตามผู้ป่วย การส่งต่อผู้ป่วย พร้อมทั้งนำสื่อเทคโนโลยีมาสนับสนุนการประเมิน ติดตามอาการและการจัดการตนเองของผู้ป่วย 3) การบริหารอัตรากำลังร่วมกันระหว่างพยาบาลวิชาชีพและทีมสหวิชาชีพมีการกำหนดบทบาทที่ชัดเจน รวมถึงพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามสมรรถนะแต่ละวิชาชีพและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อมีการหมุนเวียนปฏิบัติงาน ประเมินผล พบว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาภายใน 24 ชม.ทุกราย ได้รับการจำหน่ายตามแผนการรักษาบรรลุตามเกณฑ์เป้าหมาย ร้อยละ 95.81 ผู้ป่วยที่มีอาการเปลี่ยนแปลงได้รับการดูแลที่เหมาะสม เช่น ส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่ายร้อยละ 100 ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตขณะรักษา ทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (กรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ในวงกว้าง. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อใน โรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับ ปรับปรุง 28 มกราคม 2564. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อใน โรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 18 วันที่ 17 เมษายน 2564.นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุขฉบับปรับปรุง ครั้งที่19 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 20 วันที่ 1 มีนาคม 2565.นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานผลการดำเนินศูนย์ประสาน ความร่วมมือของพยาบาลในภาวะการติดเชื้อ COVID-19. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). หลักการบริหารจัดการสถานพยาบาลทางระบาดวิทยา 4 ด้าน ในการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลรองรับ COVID-19. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
เกษม ตั้งเกษมสำราญ, (2565). การขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(5), 903-914.
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ชุลีกร ธนธิติกร. (2564). ระบบและประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ :กรณีศึกษาหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ กรมควบคุมโรค. วารสารควบคุมโรค, 47(2), 1138-1150.
ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2549) วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง.
บุญชม ศรีสะอาด . (2553). การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2563). แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการโรงพยาบาลเฉพาะกิจ COVID-19 ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2563. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. (2563). สถานการณ์โควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ในการแถลงข่าวของ ศบค. วันที่ 9 เมษายน 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=kTYsmceJhgY
World Health Organization. (2010). Monitoring the building blocks of health systems: a handbookof Indicators and their measurement strategies. Geneva: WHO Document Production Servicves.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.