แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงโดยการมีส่วนร่วม ของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชน อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปิยวัฒน์ ผิวเรืองนนท์ โรงพยาบาลกุดรัง
  • สกุลรัตน์ ทองจันทร์ โรงพยาบาลกุดรัง

คำสำคัญ:

จิตเวชฉุกเฉิน, รุนแรง, ส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชน อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการพัฒนาแนวทางการดูแลร่วมกับทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชนที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทาง 6 เสาหลักของระบบสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ระยะเวลาวิจัย เดือน เดือน สิงหาคม 2565 - กันยายน 2566 เครื่องมือในการวิจัย แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก  สนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชน อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 1) การจัดระบบสนับสนุนการจัดบริการดูแลโดยขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ มีการสนับสนุนการดำเนินงานจากทุกภาคส่วน จัดระบบสนับสนุนยา อุปกรณ์ที่จำเป็น การสื่อสารผ่านช่องทาง line group   2) การจัดการระบบจัดบริการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพโดยมีการคัดกรองประเมินเพื่อจัดระดับความรุนแรงดูแลเร่งด่วน จัดทำ CPG การดูแลขณะเกิดเหตุในชุมชน  ขณะอยู่โรงพยาบาล ขณะส่งต่อผู้ป่วยและการเตรียมจำหน่ายสู่ชุมชน 3) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและภาคีเครือข่ายชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน 4) การกำหนดบทบาทหน้าที่ทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน ประเมินผลพบว่า บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีการปฏิบัติตามแนวทางดูแลภายหลังดำเนินการเพิ่มขึ้นทุกด้าน ทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชน มีความพึงพอใจต่อแนวทางการดูแลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินได้รับการประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวและจัดการดูแลตามความเร่งด่วน  ได้รับการรักษาครบถ้วนตามแผนการรักษา เพื่อการรักษาต่อเนื่อง/ส่งต่อ ร้อยละ 100 และไม่พบอุบัติการณ์ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2566). มาตรฐานการปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน (Acute Care) สำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข (ระดับ A, S, M1 และ M2) ฉบับทดลองใช้. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด.

กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2561). รูปแบบการวิจัยและพัฒนา(R&D)และรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564.จากเว็ป ไซต์:http://www.ubu.ac.th /web /files_up /08f2018072012262188.pdf

ชัยวุฒิ สุขสมานวงศ์. (2566). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา,8(4), 374-383.

นิตยา สินธุ์ภูมิ,วาสนา สุระภักดิ์ และสุจิตตา ฤทธิ์มนตรี. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตในโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยคริสเตียน,10(2), 35-50.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552).การวิจัยและพัฒนา.ใน ประมวลสาระชุดวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐ ประศาสนศาสตร์. หน่วยที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมถวิล แพรขาว และธิดารัตน์ ห้วยทราย. (2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินในอำเภอท่าปลาจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 25(1), 34-42.

สุพักตร์ พิบูลย์ และคณะ.(2556). การวิจัยและพัฒนางานวิชาการ(R&D). [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564./ จากเว็ปไซต์:https://nakhonsawanresearch . blogspot.com

World Health Organization. (2010). Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of Indicators and their measurement strategies. Geneva: WHO Document Production Services.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย