รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วิษณุ มากบุญ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพยุหะคีรี

คำสำคัญ:

ป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยผสมผสานวิธี  เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์และวิเคราะห์อิทธิพลระหว่างปัจจัย การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และการสนับสนุนจากสังคมกับผลการปฏิบัติงานตามบทบาท รวมทั้งสร้างแนวทางการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่าง เป็น อสม. 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างสิงหาคม ถึง กันยายน 2563 โดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ อสม. จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐานและสถิติเชิงอนุมาน ด้วยสถิติ ไค-สแคว์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่าส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง สภาพสมรสคู่ สำเร็จการศึกษาสูงสุดชั้นประถมศึกษา อาชีพหลักเกษตรกรรม มีเงินเพียงพอแต่ไม่เหลือเก็บ อายุเฉลี่ย 56.60 ปี  รายได้ครอบครัวเฉลี่ย  9,743.50 บาทต่อเดือน และระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง  อสม. 18.44 ปี มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้รับความร่วมมือของภาคเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและมีการปฏิบัติงานตามบทบาทอยูในระดับสูง  แต่มีความคาดหวังในผลลัพธ์ระดับปานกลาง  ปัจจัยอายุ ระยะเวลาการเป็น อสม. การรับรู้ความสามารถของตนเอง  ความคาดหวังในผลลัพธ์  การสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง  ความคาดหวังในผลลัพธ์  การสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกันพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานของ อสม. ได้ร้อยละ 26.00 โดยพบว่า การสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีน้ำหนักการพยากรณ์มากที่สุด เท่ากับ 0.56 รองลงมา คือ ความคาดหวังในผลลัพธ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง เท่ากับ 0.39 และ 0.23 ตามลำดับ โดยพบแนวทางการปฏิบัติงานของ อสม. คือ การพัฒนาศักยภาพ อสม. โดยให้ อสม.ที่เชี่ยวชาญโรคเบาหวานช่วยสอนงานและแนะนำให้ อสม.ให้มีความเชื่อมั่นในความสามารถอย่างเท่าเทียมกัน ควรฝึกปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมปฏิบัติงานของ อสม.และส่งเสริมภาคีเครือข่ายต่างๆเข้ามามีส่วนร่วม

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). พฤติกรรมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศุทธินี สาครวาสี. (20 มีนาคม 2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. https://www.nakhonphc.go.th/history_asm.php

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. (30 มิถุนายน 25633). Health Data Center : HDC. https://nsn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

สุดารัตน์ หล่อเพชร. (2554). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในงานสุขภาพภาคประชาชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 6(2). 40-149.

สุธิดา ห้าวเจริญ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์, วท.ม).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bandura, A. (1982). The assessment and predictive generality of self-percepts of efficacy. Journal of Behavior Therapy and Experimental Psychiatry, 13, 195-199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย