ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 80 คนเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วย พฤติกรรมในการเรียนออนไลน์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.83 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สหพันธ์ Pearson Correlation
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการเรียนออนไลน์ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.83, SD= 0.92) ปัจจัยภายใน ด้านทัศนคติต่อการเรียนออนไลน์มีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.64, SD=1.08) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการเรียนออนไลน์มีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.88, SD=0.98) ปัจจัยภายนอกด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพมีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.03, SD=1.03) และด้านอุปกรณ์และเครือข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ตในการเรียนออนไลน์มีความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.29, SD=0.89) ส่วนปัจจัยภายในด้านทัศนคติต่อการเรียนออนไลน์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยภายนอกด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และอุปกรณ์และเครือข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และสิ่งสนับสนุน ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19
References
เกตุม สระบุรินทร์, ศราวุฒิ แย้มดี และ ณัฏฐวัฒน์ ไชยโพธิ์. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักเรียนต่อการใช้บทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Moodle กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จิรัชฌา วิเชียรปัญญา. (2556). ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์แอปพลิเคชันไลน์ ในช่วงวิกฤต COVID 19. ครุศาสตร์สาร, 15 (1), 161-173.
ณิชกานต์ แก้วจัทร์ และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ถิญโญ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน และความคาดหวังประสิทธิผลการศึกษาในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ในทรรศนะของนักศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2011). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. Veridian E-Journal SU, 4 (1), 652-666.
ผ่องใส เพ็ชรรักษ์, อาทร จิตสุนทรชัยกุล และศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล. (2555). การศึกษาถึงการ ศึกษาถึงพฤติกรรมการเรียนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (รายงานผลการวิจัย).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (2564, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 82 ง. หน้า 25-27.
พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์, อัมพร ศรีประเสริฐสุข, พรเพ็ญ ไตรพงษ์ และ ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล. (2559). การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต,วารสาร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 34(3), 35-54.
ภทรพร ยุทธาภรณ์พินิจ. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตามแนวคิดของ ป.อ. ปยุตโต. วารสารสังคมศาสตร์, 5(2). 55-69.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ, จุรีย์ นฤมิตเลิศ และกิติยา สมุทรประดิษฐ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จากสถานการณ์โควิด-19. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 14(1), 33-47.
รัชดากร พลภักดี. (2563). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID 19. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(1), 1-5.
วิเชียร มันแหล่ บุญยิ่ง ประทุม สุรศักดิ์ แก้วอ่อน และกรกฎ จำเนียร. (2564). ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11), 327-340
วิทัศน์ ฝักเจริญผล และคณะ.(2563).ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัสCovid-19.วารสารการศึกษาและพัฒนามนุษย์,4(1),44-61.
สุพจน์ อิงอาจ และอภิญญา อิงอาจ. (2564). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตั้งใจอย่างต่อเนื่อง ต่อการเรียนในแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธรุกิจเทคโนโลยีมหานคร, 18 (1), 28-45.
สุรกิจ ปรางสร. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาจริยธรรมของเยาวชนไทย
(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงครัตนโกสินทร์.
อัญชลี สุขในสิทธิ์. (2559). การศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10 (2), 138-154.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
McClelland, D. C., Atkinson, J. W., Clark, R. A. and Lowell, E. L., (1953). The achievement Motive. New York: Appleton-Century-Crofts.
Weinstein, C. E., Palmer, D. R., & Schultz, A. C. (2002). LASSI. User’s Manual for those administering Learning and Study Strategies Inventory. https://www.hhpublishing.com/ LASSImanual.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.