การพัฒนารูปแบบการปรับตัวของญาติที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ชลลดา ทิพยจันทร์ โรงพยาบาลเสลภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการปรับตัวของญาติที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลเสลภูมิ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 3 ระยะ 1)วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา 2)พัฒนารูปแบบการดูแลและนำไปใช้ 3)ประเมินผล กลุ่มเป้าหมายหลักในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 30 คน ทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 26 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของญาติผู้ดูแล 2) แบบประเมินการปรับตัวของญาติที่ดูแลผู้ป่วย 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 4) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 5) แบบบันทึกการตรวจสอบเวชระเบียน 6) แผนการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent Samples t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา                                                                                                                                                                                                           

ผลการวิจัย 1) ระยะวิเคราะห์ปัญหาของญาติที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พบว่า มีความเครียดในการดูแลผู้ป่วย ขาดความรู้ ทักษะในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีปัญหาในการปรับตัว และจากการประเมินการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วย โดยภาพรวมการปรับตัว อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 2.80, SD=0.19) และเมื่อแบ่งเป็นรายด้าน ด้านที่การปรับตัวได้น้อยที่สุดคือ ด้านอัตมโนทัศน์ ( gif.latex?\bar{x}= 2.63, SD=0.24) 2) ผลการพัฒนารูปแบบการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายฯ ต้องประกอบไปด้วย คณะกรรมการพัฒนารูปแบบที่เป็นสหวิชาชีพ โดยรูปแบบการปรับตัวของญาติ ดำเนินการทั้งหมด 4 ครั้ง (1) การประเมินการปรับตัวของญาติ (2) การให้คำปรึกษาและเสริมสร้างพลังอำนาจ (3) การให้ความรู้และฝึกทักษะการแก้ปัญหา (4) การติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ 3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า ญาติที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หลังได้รับการส่งเสริมการปรับตัว มีคะแนนการปรับตัวที่ดีขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (gif.latex?\bar{x} = 3.55, SD=0.13) เพราะเป็นการให้ความรู้ ฝึกทักษะการแก้ปัญหา การให้คำปรึกษาและเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ญาติผู้ดูแล เพื่อให้สามารถตัดสินใจด้วยตนเองและควบคุมตนเอง และมีการสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ

References

กัลยา แซ่ชิต.(2547). ความคาดหวังและการดูแลแบบประคับประคองที่ได้รับตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วย เอดส์ระยะสุดท้าย. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์].

ทัศนีย์ ทองประทีป. (2553). พยาบาล: เพื่อนร่วมทุกข์ผู้ป่วยระยะสุดท้าย . กรุงเทพฯ: วี.พริ้น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เพ็ญศิริ มรกต, กิตติกร นิลมานัต และเยาวรัตน์ มัชฌิม.(2558). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารสภาการพยาบาล, 30(2), 33-45.

โรงพยาบาลเสลภูมิ.(2563). รายงานการดำเนินงานประจำปี ของโรงพยาบาลเสลภูมิ. ร้อยเอ็ด:โรงพยาบาลเสลภูมิ.

อวยพร จงสกุล และคณะ.(2563).รูปแบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง เพื่อฟื้นฟูความสามารถ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา : OIMCCE Model. วารสารแพทย์เขต4-5, 39(3), 454 - 471.

Farber, S. J., Egnew, T. R., Herman-Bertsch, J. L., Taylor, T. R., & Guldin, G.E. (2003). Issue in end-of-life care: Patient, caregiver, and clinician perceptions. Journal of Palliative Medicine, 6, 19-31.

Mangan PA, Taylor KL, Yabroff KR, Fleming DA, & Ingham JM.(2003). Caregiving near the end of life: Unmet needs and potential solutions. Palliative and Supportive Care, 1, 247-59.

Roy C, Andrews HA. (1999). The Roy adaptation model. 2nd ed. London: Appleton & Lange.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-09

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย