การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในชุมชน: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • รัชฏา ไสวารี โรงพยาบาลชนบท

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยคุกคามที่พบบ่อย ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต และยังก่อให้เกิดความพิการทุพลภาพ เกิดภาวะพึ่งพิง มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงขึ้น ดังนั้น พยาบาลควรพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน เน้นในการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยและญาติที่บ้าน ร่วมกับทีมสุขภาพและประสานงานการดูแลกับสถานบริการสุขภาพอื่น ๆ เพื่อส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ให้การส่งเสริมและติดตามภาวะสุขภาพทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน ลดความพิการ ลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการตาย ผู้ป่วยและผู้ดูแลยอมรับสภาพการเจ็บป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไป มีคุณภาพชีวิตที่ดี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 2 ราย วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ดูแลต่อเนื่องในชุมชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลชนบท จำนวน 2 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลเยี่ยมบ้านตามแนวทาง IN HOME SSS  รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ พยาธิสภาพ ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพที่มีผลต่อการเกิดโรค แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในชุมชน กรณีศึกษา : เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2 ราย รายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 54 ปี อาการสำคัญ ปากเบี้ยว  แขนขาอ่อนแรงซีกขวา วูบหมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว 20 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล  ได้รับการวินิจฉัย  Acute Ischemic  stroke รายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ  71 ปี  อาการสำคัญ แขนขาซ้ายอ่อนแรง ปวดศีรษะ อาหารหล่นจากปากเมื่อรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัย  Acute Ischemic  stroke

             การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า  การดูแลต่อเนื่องในชุมชนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น เป็นหัวใจสำคัญของพยาบาล การให้ความรู้ การประเมินอาการผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย และมีการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้

References

ปรมาภรณ์ คลังพระศรี. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(3), 119-130.

พรทิพย์รตา สุขรื่นบุลภรณ์. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารวิชาการและการพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจักรีรัช, 1(2), 113-129.)

มณฑา สอนดา. (2563). กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 327-333.

มาดี เหลืองทองเจริญ. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคร่วม: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 2(1), 74-85.

มินตรา ธรรมกุล. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบในชุมชน: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 1(2), 64-76.

วิมลพร ศรีโชติ, นัทธมน วุทธานนท์, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และชมพูนุช ศรีรัตน์. (2563). การสนับสนุนผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษา. พยาบาลสาร, 48(3), 274-289.

ศีตภา พลแก้ว. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะท้าย: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(2), 230-239.

Hu, L., & Liu, G. (2021). Effects of early rehabilitation nursing on neurological functions and quality of life of patients with ischemic stroke hemiplegia. American Journal of Translational Research, 13(4), 3811.)

Rohde D, Gaynor E, Large M, Conway O, Bennett K, Williams DJ, Callaly E, Dolan E, Hickey A. Stroke survivor cognitive decline and psychological wellbeing of family caregivers five years post-stroke: a cross-sectional analysis. Top Stroke Rehabil. 2019;26:180–186.)

Sedova, P., Brown, R. D., Zvolsky, M., Belaskova, S., Volna, M., Baluchova, J., ... & Mikulik, R. (2021). Incidence of stroke and ischemic stroke subtypes: a community-based study in Brno, Czech Republic. Cerebrovascular Diseases, 50(1), 54-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-09

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย