การพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ระบบ “เจอ แจ้ง จ่าย Drive - Thru” และการรักษาแบบ Home Isolation

ผู้แต่ง

  • ไพรินทร์ มูลรินทร์ โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การระบาดของโรคโควิด-19, ระบบ “เจอ แจ้ง จ่าย- Drive Thru”, Home Isolation

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 มีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และเพื่อประเมินผลของระบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development, R&D) กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มารับบริการจากโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 17 มีนาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบรายการบันทึกข้อมูลการรับบริการระบบ เจอ แจ้ง จ่าย Drive-Thru และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

ระบบ “เจอ แจ้ง จ่าย Drive - Thru” ดำเนินการโดยทีมสหวิชาชีพ ช่วยให้ผู้ติดเชื้อ COVID-19ได้รับการรักษา ภายใน 24 ชั่วโมง เริ่มจากการรับแจ้งผลการตรวจ ATK  ผ่านระบบ Line การคัดกรองและลงระบบ CMC-19  และการนัดหมายรับยา ต้านเชื้อไวรัสแบบ Drive-thru และการดูแลตัวเองที่บ้าน (Home Isolation) โดยมีการติดตามดูแลเฝ้าระวังอาการผ่านช่องทางออนไลน์

ผลการใช้ระบบ เจอ แจ้ง จ่าย Drive-Thru สามารถคัดกรองและลงทะเบียนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ (กลุ่มสีเขียว) ได้จำนวน 2,077 ราย โดยร้อยละ 100 ของผู้ได้รับยาแบบ Drive-Thru ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเข้าระบบ ระบบนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ 6,900 บาทต่อคน คิดเป็นยอดรวม 14,331,300 บาท นอกจากนี้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับดีมาก

สรุปได้ว่าระบบ เจอ แจ้ง จ่าย Drive-Thru เป็นนวัตกรรมการบริการที่ช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19 เข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดการระบาดของเชื้อโรค และช่วยลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564), แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อใน โรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 18 วันที่ 17 เมษายน 2564.นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2564, มิถุนายน 14). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

จังหวัดเชียงใหม่ (2565). สถานการณ์โควิดจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://www.chiangmai.go.th/covid19/index.html

เทศบาลนครเชียงใหม่ (2565). สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. ใน รายงานการประชุมสถานการณ์การระบาดของ COVID-19.

วราวุฒิ เกรียงบูรพา. (2020). การติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในเด็ก. บูรพาเวชสาร, 7(1), 96-102.

สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และสุมนมาลย์ อุทยมกุล. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 124-133

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 คู่มือ การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation).[เข้าถึงเมื่อ 23 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://www.thaihealth.or.th/Books.html.

Earp, J.A., & Ennett, S.,T. (1991).Conceptual models for health education research and practice.Health Education Research,6(2), 163–171.

Chua, K. P., Conti, R. M., & Becker, N. V. (2020). Assessing the cost savings of drive-through COVID-19 testing facilities. Health Affairs, 39(6), 1021-1027.

Golinelli, D., Boetto, E., Carullo, G., Nuzzolese, A. G., Landini, M. P., & Fantini, M. P. (2020). Adoption of digital technologies in health care during the COVID-19 pandemic: Systematic review of early scientific literature. Journal of Medical Internet Research, 22(11), e22280.

Kumprasit, U. (2021).Development of Nursing Modelduringthe COVID-19 Outbreaks: In-Patient Department,Nonthai Hospital. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 16(1), 30-44. (in Thai)

Matatratip, C., Pissawongprakan, P., Nonsrirach, T., (2021). Factors Affecting Access to the Health Promotion Service System through LINE Official Account of Regional Health Promotion Center 7 Khon Kaen: Good health is Rewardsed of the People in the Responsible Area. Regional Health Promotion Center 7 Journal Khon Kaen, 14(2), 14-33. (in Thai)

Mina, M. J., Parker, R., & Larremore, D. B. (2020). Rethinking Covid-19 test sensitivity: A strategy for containment. New England Journal of Medicine, 383(22), e120.

Nguyen, T. N., Nguyen, T. D., & Nguyen, T. H. (2020). Evaluation of drive-through COVID-19 testing strategies in Vietnam. Public Health Research & Practice, 30(3), e3032023.

Wirifai, S., & Luddangam, P. (2022).Home Isolation: Guidance for Patients with COVID-19 Infection. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 16(2), 597-611. (in Thai)

Zhang, Y., Li, J., & Zheng, M. (2021). Evaluation of COVID-19 screening and testing strategies: Drive-through vs walk-in clinics. International Journal of Health Policy and Management, 10(2), 79-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-22