การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้านแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุยันต์ ลวงพิมาย โรงพยาบาลดอนจาน

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้าน แบบประคับประคอง ในผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลดอนจาน ศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564 -กันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ ทีมสหวิชาชีพ จำนวน 37 คน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องบ้านแบบประคับประคอง 40 คน และญาติผู้ป่วยหรือผู้ดูผู้ป่วย 40 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพ และแบบประเมินความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต่อการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้าน แบบประคับประคอง วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา เชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา                                                                                                                                                                                  ผลการศึกษา 1) ผลการวิเคราะห์ศึกษาสถานการณ์และปัญหาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย พบว่า กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นเพศชาย ร้อยละ 60 มีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 65 ป่วยมะเร็งที่ตับและท่อน้ำดี ร้อยละ 62.50 มะเร็งหลอดลมและปอด ร้อยละ 12.50  ปัญหาในของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ ญาติขาดความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน 2) ผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้แก่ (1) มีคณะกรรมการดำเนินงาน (2) มีการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่ญาติผู้ป่วย (3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า 1) ทีมสหสาขาวิชาชีพ มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้าน แบบประคับประคอง ในระดับสูงมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.59, SD=0.49) 2) ญาติผู้ดูแลผู้ป่วย มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้าน แบบประคับประคอง ในระดับสูงมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.52, SD=0.50)

References

กิตติกร นิลมานัต. (2562). การดูแลแบบประคับประคองอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้านในบริบทภาคใต้. วารสารสภาการพยาบาล , 34 (2), 76-93.

กรมการแพทย์ (2563) คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์) .นนทบุรี : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

บังอร ไทรเกต. (2556) แนวคิดและหลักการของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง (Palliative Care) , กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

เพียงพิมพ์ ปัณระสี และภัทราบูลย์ นาคสู่สุข. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30 (1), 40-51.

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์ (2564) การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลอุดรธาน ,วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ,23 (1), 80-90.

รัชฎาพร แนบเนียด (2564). ผลของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองด้านจิตวิญญาณ.วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 8 (2), 65-77.

วริสรา ลุวีระ, เดือนเพ็ญ ศรีขา และศรีเวียง ไพโรจน์กุล (2556) การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชนโดยอาสาสมัคร: การรับรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น.ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(2), 199-204.

สุณัฏดา คเชนทร์ชัยและ มุจจรินทร์ อัศวพัฒน (2564) การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในผู้ป่วยนอก,วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 17(3), 27-36.

Kemmis S, & McTaggart R. (1988). The actionresearch planner. Deakini University.

Stephen R, Claire M, Ernesto J, Richard H, James C, Barbara H, et al. (2020) Global atlas of palliativecare. 2nd ed. London UK: World Health Organization and Worldwide Palliative Care Alliance.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย