การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลกมลาไสยและเครือข่ายบริการ

ผู้แต่ง

  • ยุพาพิน นาชัยเลิศ โรงพยาบาลกมลาไสย

คำสำคัญ:

ระบบช่องทางด่วน, โรคหลอดเลือดสมอง, เครือข่ายบริการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลกมลาไสยและเครือข่ายบริการ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ดูแลผู้ป่วยและบุคลากรผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2565 ดำเนินการใน 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาระบบบริการ และ 3) ประเมินผล เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วย แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา                                                                                                                                                   ผลการวิจัย พบว่า ระยะวิเคราะห์สถานการณ์พบปัญหาการบริการทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ระยะพัฒนาระบบบริการได้มีกระบวนการพัฒนาเกี่ยวกับ 1) การเข้าถึงบริการช่องทางด่วนที่รวดเร็ว 2) การคัดกรองผู้ป่วย 3) กระบวนการดูแลผู้ป่วย 4) การพัฒนาแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วย 5) การติดตามผู้ป่วย การประเมินผล พบว่าบุคลากรผู้ให้บริการมีการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วย ร้อยละ 100 ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลภายใน 180 นาที พบว่า ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนมาถึงโรงพยาบาลเฉลี่ย 175 นาที การประเมินแรกรับเฉลี่ย 5.00 นาที การตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าเฉลี่ย 6.67 นาที การเตรียมเพื่อส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแม่ข่ายหลังได้รับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นเฉลี่ย 9.42 นาที รวมระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกรับจนถึงส่งต่อเฉลี่ย 29.50 นาที และจากการติดตามผลหลังส่งต่อไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าระบบบริการช่องทางด่วนที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วและได้มาตรฐาน

References

คณะทำงานพัฒนาระบบบริการทางด่วนพิเศษสำหรับผู้ บาดเจ็บและโรคหลอดเลือดหัวใจ-สมอง เขต 12. (2555). คู่มือการดูแลผู้ป่วยในระบบทางด่วนพิเศษสำหรับ บุคลากรสาธารณสุข เขต 12. ขอนแก่น :บริษัทเพ็ญ พรินติ้ง จำกัด.

นันทวรรณ ทิพยเนตร, วชิร ชนะบุตร. (2559). ความรู้เรื่องความเสี่ยงและอาการเตือนโรค หลอดเลือดสมอง :กรณีศึกษา โรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม. สาขาเวชกิจฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูล และคณะ.(2560). การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งและเครือข่ายบริการ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(2), 80-95.

โรงพยาบาลกมลาไสย.(2564). รายงานผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองประจำปีงบประมาณ 2561-2563. กาฬสินธุ์ : โรงพยาบาลกมลาไสย.

โรงพยาบาลกมลาไสย.(2564).รายงานสรุปการสนทนากลุ่ม เพื่อการพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง. กาฬสินธุ์ : โรงพยาบาลกมลาไสย.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2556). การพัฒนาเครือข่าย STROKR FAST TRACK. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28,315-319.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข.(2558). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557.นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

Fussman C, Rafferty AP, Lyon-Callo S, Morgenstern LB, Reeves MJ. (2010). Lack of association between stroke symptom knowledge and intent to call 911 : a population-based survey. Stroke, 41(7), 1501-7.

Kemmis S, & McTaggart R. (1988). The actionresearch planner. Deakini University.

World Stroke Organization.(2016). World stroke campaign. [cited July 3, 2016]. Available from: http://www.worldstroke.org/advocacy/world-stroke-campaign.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย