การพัฒนารูปแบบการดูแลและการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 โดยการกักตัวที่บ้านของอำเภอแกดำ

ผู้แต่ง

  • สุมิตร ชินภักดี โรงพยาบาลแกดำ

คำสำคัญ:

การดูแล, การพยาบาลผู้ป่วย COVID-19, กักตัวที่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลและการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 โดยการกักตัวที่บ้านของอำเภอแกดำ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหา 2) วางแผนการพัฒนาแก้ไขปัญหา 3) นำกระบวนการแก้ไขปัญหาสู่การปฏิบัติ 4) ประเมินผลการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 1) กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ ผู้ป่วย COVID-19 ที่กักตัวที่บ้าน จำนวน 485 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 3) กลุ่มประชุมระดมความคิดเห็น จำนวน 15 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการทบทวนเวชระเบียน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามการปฏิบัติตัวผู้ป่วย COVID-19 แบบสัมภาษณ์เจาะลึก แบบสนทนากลุ่ม แบบบันทึกประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย พบว่า 1.สถานการณ์และสภาพปัญหาการดูแลและการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 โดยการกักตัวที่บ้านอำเภอแกดำ พบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย COVID-19 เช่น ขาดการดูแลสุขภาพตนเอง ขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัส และการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ การจัดสถานที่และสภาพแวดล้อมบ้านในการกักตัวไม่เหมาะสม มีภาวะความเครียด วิตกกังวล (2) ปัญหาของบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า มีภาวะความเครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ และขาดแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ชัดเจน ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานได้ (3) ปัญหาการบริหารจัดการ พบว่า ขาดการประสานงานในระดับหน่วยงาน รวมถึงขาดการวางแผนเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ บุคลากร และทรัพยากร ขาดความต่อเนื่องการเตรียมบ้านและสถานที่กักตัวของผู้ป่วย 2.การพัฒนารูปแบบการดูแลและการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 โดยการกักตัวที่บ้านของอำเภอแกดำ ประกอบด้วย การจัดระบบบริหารจัดการและการพยาบาล การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางสุขภาพ การจัดระบบบริการการดูแล การจัดทำแนวทางการปฏิบัติงาน และการจัดระบบติดตามประเมินผู้ป่วย 3. ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า ผู้ป่วย COVID-19 ที่กักตัวที่บ้าน ได้รับการดูแลและการพยาบาล มีความพึงพอใจระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.08, SD = 0.33) การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย COVID-19 ที่กักตัวที่บ้าน สามารถปฏิบัติตัวอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.80, SD = 0.30) และจากการสังเกตพฤติกรรมการให้บริการของบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า สามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้ถูกต้อง การจัดที่พักอาศัยของผู้ป่วยการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการประเมินอาการ ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด อีกทั้งมีการประสานงานและให้การดูแลแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว

References

กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤติยาพร พลาเศรษฐ, นิชนันท์ สุวรรณกูฎ, ภูษณิศา มาเขตร และสุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์. (2565). การจัดการของชุมชนเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(3): 908-923.

กายสิทธิ์ แก้วยาศรีและบุญมา สุนทราวิรัตน์. (2563). แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบจากโรคติด เชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(1): 16-34.

ธัญพร จรุงจิตร.(2565, 31 ตุลาคม ประสิทธิผลของการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบ Home Isolation โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก. http://www.tako.moph.go.th.

บัญชา เกิดมณี, สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญานพินิจ วชิรสุรงค์, บดินทร์ชาติ สุขบท, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2563). แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 20(1), 1-12.

ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์, นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศและอรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ (บรรณาธิการ) (2565). การ จัดการบริการ HOME ISOLATION กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (31 ตุลาคม 2565]. https://covid19.dms.go.th.

รวิพร โรจนอาชา กิตติพร เนาว์สุวรรณและนภชา สิงห์วีรธรรม. (2565). การดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 โดยใช้ Hospitel ในบริบทชายแดนไทย-มาเลเซีย ภายใต้การบริหารจัดการของแผนก ผู้ป่วยในโรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาชราชนครินทร์, 14(1), 134- 156.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. (2563). http://mkho.moph.go.th/mko/frontend/web/index.php/caregiver/5264

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. (2564). http://mkho.moph.go.th/mko/frontend/web/index.php/caregiver/5471

สุรชัย โชคครรชิตไชย. (2563). โควิด-19: การระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยปลายปี 2563. วารสาร สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(3), 1-2.

อมร ลีลารัสมี. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อCOVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2. (10 กรกฎาคม 2563). https://tmc.or.th/covid19/index.php.

อรรถกร สมเกียรติกุล. (2565). ผลกระทบของรูปแบบการมีส่วนร่วมของการกักตัวอยู่บ้านในการป้องกัน และควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต. 11, 36(1): 79-97.

Dong, E., Du, H., & Gardner, L. (2020). An interactive web-based dashboard to track COVID- 19 in real time. The Lancet Infectious Diseases, 20(5), 533–534. http://doi: 10.1016/S1473-3099(20)30120-1.

Kemmis S, & McTaggart R. (1988). The actionresearch planner. Deakini UniversityiPress.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย