การพัฒนาสมรรถนะทีมบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง โรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
สมรรถนะทีมบุคลากร, การดูแล, ผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะทีมบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมาย คือ ทีมบุคลากรปฏิบัติงานหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลชัยภูมิ 15 คน ระยะเวลาในการศึกษา1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired simples t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย พบว่า เป็นเพศชายมากที่สุด คือร้อยละ 53.33 อายุเฉลี่ย 34.33 ปี (S.D.= 7.48) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 66.67 และปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาล ร้อยละ 53.33 มีประสบการณ์ในการทำงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเฉลี่ย 3.33 ปี (S.D.= 1.95) และทุกคนไม่เคยรับการอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาล ร้อยละ 100 2. ด้านความรู้ เรื่องพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทและการจัดการของบุคลากร พบว่า เมื่อเปรียบเทียบระดับคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนและหลังการอบรม พบว่า มีระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรม เท่ากับ 14.26 (S.D. = 0.85) และคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรม 18.73 (S.D.=1.18) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ด้านทักษะ พบว่า ทีมบุคลากรใช้กลวิธีการป้องกันและการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ดังนี้ 3.1) กลวิธีการจัดการช่วยเหลือในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ระดับ 1 โดยสอนทักษะให้ผู้ป่วยควบคุมพฤติกรรม ควบคุมอารมณ์ และดูแลให้การพยาบาลตามแผนการรักษา สามารถควบคุมป้องกันการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงได้ 3.2) กลวิธีการจัดการช่วยเหลือในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ระดับ 2 โดยใช้ทักษะการสื่อสาร การแยกผู้ป่วยโดยนำไปไว้ในห้องจำกัดพฤติกรรม และในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวระดับ 3 ทีมบุคลากรได้จำกัดพฤติกรรมโดยการผูกมัดกับเตียงผู้ป่วยและให้การรักษาฉีดยาเพื่อควบคุมอาการ 4. ด้านผู้ป่วย ลักษณะพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่เข้าร่วมการศึกษา 30 ราย ส่วนใหญ่เป็นการทำร้ายผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 46.67 เป็นผู้ชายร้อยละ 30 ผู้หญิงร้อยละ 16.67 รองลงมาเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงด้านคำพูด คิดเป็นร้อยละ 26.67 เป็นผู้ชายร้อยละ 10 ผู้หญิงร้อยละ 16.67 จากการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า การให้ความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยการกระบวนการกลุ่ม มีการทำงานเป็นทีม ส่งผลให้บุคลากรเกิดความเชื่อมั่นสามารถจัดการปัญหาผู้ป่วยได้ เกิดความปลอดภัย
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือโครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง หน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
จามจุรี คอนสาร. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชหญิง1โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].
จิรประภา อัครบวร. (2561). สร้างคน สร้างผลงาน. กรุงเทพฯ: เต๋า 2000.
ปรียานุช ชื่นตา. (2564). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินจากชุมชนสู่โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 5(10), 11-22.
ปัญญา ทองทัพ, กฤตยา แสวงเจริญ. (2556). พฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทและการจัดการพฤติกรรมรุนแรงของครอบครัว. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 121-127.
ละเอียด ปานนาค และสิรินภา จาติเสถียร.(2558). การพัฒนาโปรแกรมการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลด้านการจัดการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 26(2), 16-29.
วาสนา สุระภักดิ์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะทีมพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรง หอผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].
อัครเดช กลิ่นพิบูลย์ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเวชสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(3), 207-219.
Alspach G. (2017). Nurse as victims of violence. Crit Care Nurse, 13(13),4 –17.
Dodd, M, et al. (2001). Advance the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing, 33(5), 668-676.
Draganidis, F., & Mentzas, G. (2016). Competency based management: A review of system and approaches. International Management & Computer Society, 14(1), 51-64.
Marrelli, A. F., Tondara, J., & Hoge, M. A. (2018). Strategies for developing competency model.Administration and Policy in Mental Health, 32(6), 533-561.
Tardiff K, Marzuk PM. Leon AC, Portera L. Weiner C. (2017) . Violence by patients admitted to a private psychiatric hospital. Am J Psychiatry, 154, 88-93.
World Health Organization. (2006).The ICD-10 Classification of mental and Behavior disorder : Clinical description and diagnostic guideline. Geneva : WHO.
Yudofsky, S, Silver, J.M.& Jackson, w. (1998). The overt aggression scale for the objective rating of verbal and physical aggression. American Journal of Psychiatry, 143(3), 35-39.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.